‘เรื่องสั้น-บทกวี’ 50 ปี ‘ไทย-สาธารณรัฐเช็ก’ ส่งได้ถึง 31 พ.ค. 67

‘เรื่องสั้น-บทกวี’ 50 ปี ‘ไทย-สาธารณรัฐเช็ก’ ส่งได้ถึง 31 พ.ค. 67

สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ร่วมกับ สถานเอกอัครราชทูตเช็กประจำประเทศไทย และสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ชวนส่งผลงาน ‘เรื่องสั้น-บทกวี’ ชิงรางวัลกว่าแสนบาท

เนื่องในโอกาสฉลองครบรอบ 50 ปี  การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างราชอาณาจักรไทยและ สาธารณรัฐเช็ก สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย, สถานเอกอัครราชทูตเช็กประจำประเทศไทย, สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย จึงได้จัดการประกวด เรื่องสั้น-บทกวี ชิงรางวัลรวมมูลค่ากว่าแสนบาท

มีการจัดเสวนา วรรณกรรมไทย-วรรณกรรมเช็ก โดย เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเช็ก H.E. Mr. Pavel Pitel, นรีภพ จิระโพธิรัตน์ นายกสมาคมนักเขียนฯ, รศ.ดร. วริตตา ศรีรัตนา, เจน สงสมพันธุ์ กรรมการซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ด้านหนังสือ ไปเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2567 

เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเช็ก H.E. Mr. Pavel Pitel กล่าวว่า ประวัติศาสตร์วรรณกรรมของเช็กมีทั้งขึ้นและลง

"ก่อนมาเป็นสาธารณรัฐเช็ก เราเป็นเช็กโกสโลวาเกีย มีวรรณกรรมที่พูดถึงการปกครอง ลัทธิคอมมิวนิสต์ มีนักเขียนหลายเชื้อชาติ ประเด็นการต่อสู้เรื่องเสรีภาพ นับเป็นเรื่องเด่นของวรรณกรรมประเทศนี้

‘เรื่องสั้น-บทกวี’ 50 ปี ‘ไทย-สาธารณรัฐเช็ก’ ส่งได้ถึง 31 พ.ค. 67

กาเรล ชาเปก เป็นนักเขียนที่ยิ่งใหญ่ ไม่ได้เป็นแค่นักเขียนด้านวิทยาศาสตร์ไซไฟล้ำสมัยอย่างเดียว แต่ยังเขียนเรื่องความเป็นมนุษย์ จิตวิญญาณ และมีความเข้าใจธรรมชาติด้วย

โบฮุมิล ฮราบัล, วาเคลฟ ฮาเวล เขียนในช่วงที่มีความไม่สงบ มีทั้งสงครามโลก และรัสเซียเข้ามาบุก ทำให้สูญเสียเอกราช เสียอิสรภาพ มิลาน คุนเดอร่า ลี้ภัยไปอยู่ฝรั่งเศส ก็เขียนงานเป็นภาษาฝรั่งเศส

วรรณกรรมของเช็กไม่ใช่ระดับประเทศหรือท้องถิ่น แต่ว่ามีความโกลบอล มีความเป็นยูโรเปียน มีการผสมผสานชนชาติทางยุโรปตามพื้นที่ที่นักเขียนไปมีประสบการณ์และได้สัมผัสวัฒนธรรมเหล่านั้น ทำให้วรรณกรรมเช็กมีความโดดเด่นและได้รับความสนใจ"

‘เรื่องสั้น-บทกวี’ 50 ปี ‘ไทย-สาธารณรัฐเช็ก’ ส่งได้ถึง 31 พ.ค. 67

  • วรรณกรรมเช็ก ผู้มาก่อนกาล

รศ.ดร. วริตตา ศรีรัตนา อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า สาธารณรัฐเช็กได้ผ่านระบอบการปกครองมาแล้วมากมาย ทั้งเผด็จการ ประชาธิปไตย

"ปี 1918 มีการก่อตั้งสาธารณรัฐเช็ก หลังสงครามโลกครั้งที่ 1, ปี 1938 เกิดการบุกรุกยึดครองประเทศโดยพวกนาซี, ปี 1948 เกิดปฏิวัติคอมมิวนิสต์, ปี 1968 เกิดการบุกรุกโดยกองกำลังสัญญาวอร์ซอร์

‘เรื่องสั้น-บทกวี’ 50 ปี ‘ไทย-สาธารณรัฐเช็ก’ ส่งได้ถึง 31 พ.ค. 67

วรรณคดีของเช็กที่น่าสนใจ คนแรก ฟรันซ์ คัฟคา Franz Kafka นักเขียนชาวยิวที่เขียนภาษาเยอรมัน ชนชั้นกลางในกรุงปราก เขียนเรื่อง The Great Wall of China พูดถึงกำแพงเมืองจีนแล้วนำมาเทียบกับกำแพงในปราก ที่ประชาชนถูกสั่งให้สร้างขึ้นเพื่อไม่ให้คิดว่าได้รับแจกอาหารฟรี ต้องทำงานตอบแทน จนกลายเป็นสำนวนภาษาเช็กว่า จริง ๆ ไม่จำเป็นต้องสร้างกำแพงนั้นก็ได้

คนที่สอง กาเรล ชาเปก Karel Capek เขียนบทละคร R.U.R. (Rossum's Universal Robots) ขึ้นในปี 1920 มีคำว่าโรบอท ที่มาก่อนกาลมาก ๆ มีการสร้างหุ่นยนต์เพื่อใช้แรงงาน ถ้าวันหนึ่งหุ่นยนต์ปฏิวัติอย่างที่บอลเชวิกทำ จะทำอย่างไร (ปราบดา หยุ่น แปลแล้วชื่อว่า ห.ส.ร. หุ่นยนต์สากลราวี)

‘เรื่องสั้น-บทกวี’ 50 ปี ‘ไทย-สาธารณรัฐเช็ก’ ส่งได้ถึง 31 พ.ค. 67

เรื่องที่สอง โรคระบาดสีขาว เขียนปี 1937 ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง โรคระบาดที่คร่าชีวิตคนอายุ 45 ปีขึ้นไป ถือว่าชาเปกเป็นบิดานิยายไซไฟยุคแรกของวรรณกรรมเช็ก เป็นวรรณกรรมดิสโทเปียยุคแรก ที่โยงความเจ็บป่วย สงครามวัคซีน โรคระบาดเข้ากับการเมือง เป็นละครเวทีที่ได้รับการแปลถึง 16 ภาษา

เรื่องที่สาม ใช้สัตว์ประหลาด ใช้หุ่นยนต์มาแทนที่แรงงาน แล้ววิพากษ์วิจารณ์ระบอบคอมมิวนิสต์ว่า สามารถทำลายระบบชนชั้นได้จริงหรือ

‘เรื่องสั้น-บทกวี’ 50 ปี ‘ไทย-สาธารณรัฐเช็ก’ ส่งได้ถึง 31 พ.ค. 67

นักเขียนคนที่สาม โบฮุมิล ฮราบัล Bohumil Hrabal เป็นผู้ได้รับอิทธิพลจากชาเปก เขียนเรื่อง ความเปลี่ยวดายอันกึกก้องเกินต้าน เรื่องของชายคนหนึ่งที่ทำหน้าที่บดอัดกระดาษทำลายหนังสือในช่วงระบอบคอมมิวนิสต์เซ็นเซอร์หนังสืออย่างรุนแรง

ตีพิมพ์เป็นหนังสือใต้ดินในปี 1970 กว่าจะได้ตีพิมพ์บนดินก็ปี 1989 เป็นหนังสือที่ไม่มีการแบ่งย่อหน้าเพื่อหลอกกองเซ็นเซอร์ เพราะเป็นหนังสือที่วิพากษ์วิจารณ์ระบอบคอมมิวนิสต์อย่างชัดเจน

‘เรื่องสั้น-บทกวี’ 50 ปี ‘ไทย-สาธารณรัฐเช็ก’ ส่งได้ถึง 31 พ.ค. 67

นักเขียนคนที่สี่ มิลาน คุนเดอรา Milan Kundera ต้องลี้ภัยเพราะสถานการณ์ทางการเมือง ใช้วิธีการเสียดสี เพิ่งเสียชีวิตไป

นักเขียนคนที่ห้า วาเคลฟ ฮาเวล Václav Havel เคยมารับปริญญาดุษฎีบัณฑิตที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อ 30 ปีที่แล้ว เป็นผู้นำประเทศแต่ได้รับปริญญาด้านอักษรศาสตร์ ไม่ใช่ด้านรัฐศาสตร์

‘เรื่องสั้น-บทกวี’ 50 ปี ‘ไทย-สาธารณรัฐเช็ก’ ส่งได้ถึง 31 พ.ค. 67

เป็นนักต่อสู้ด้านประชาธิปไตยที่เขียนบทละครและข้อเขียนต่าง ๆ บอกว่า ให้เราใช้ชีวิตอยู่ในความจริง ไม่ใช่ความลวงที่ทำให้เราเป็นคนเชื่อฟัง ไม่ต้องซื่อตรง แต่ต้องพูดความจริง และออกความเห็น แม้ว่าความเห็นนั้นจะขัดกับคุณค่ากระแสหลักก็ตาม"

‘เรื่องสั้น-บทกวี’ 50 ปี ‘ไทย-สาธารณรัฐเช็ก’ ส่งได้ถึง 31 พ.ค. 67

  • ประเทศที่มีแต่เรื่องเล่า

เจน สงสมพันธุ์ กรรมการซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ด้านหนังสือ กล่าวว่า ไม่มีประเทศไหนสนุกและมีเรื่องเล่าเท่ากับประเทศเช็กอีกแล้ว

"ไม่มีประธานาธิบดีประเทศไหนที่เป็นนักเขียน แล้วก็ดังระดับโลก วาเคลฟ ฮาเวล เป็นนักเขียนบทละคร เวลาขึ้นไฮด์ปาร์คที่จตุรัสคนฮือฮากันมาก จนมีคนตะโกนว่าให้เขาเข้าไปในทำเนียบหรือในปราสาทแทนกษัตริย์

จนเมื่อปฏิวัติสำเร็จ ก็ถูกเรียกว่าปฏิวัตินุ่มนวล หรือปฏิวัติกำมะหยี่ เพราะไม่เสียเลือดเสียเนื้อ"

ส่งผลงานได้ตั้งแต่บัดนี้ ถึง 31 พฤษภาคม 2567 (ดูวันประทับตราไปรษณีย์เป็นสำคัญ)