เคลียร์ให้ชัด ๆ ทำ 'คอนเทนต์' อย่างไรไม่ให้ผิด PDPA ? คนทำสื่อ Creator ต้องรู้

เคลียร์ให้ชัด ๆ ทำ 'คอนเทนต์' อย่างไรไม่ให้ผิด PDPA ? คนทำสื่อ Creator ต้องรู้

การทำ ‘สื่อ’ ในสังคมที่มีกฎหมายคุ้มครองความเป็นส่วนตัว หรือ PDPA บังคับใช้แล้ว เปิดทุกข้อสงสัย Content Creator และ คนทำสื่อ ต้องทำอย่างไร ถึงไม่ถูกฟ้องร้อง

ในยุคที่คำพูด “ใครๆ ก็เป็นสื่อได้” ชัดเจนจากจำนวน ครีเอเตอร์ และ ยูทูบเบอร์ เกิดใหม่มากมาย เมื่อการทำสื่อสมัยนี้ง่ายแค่กดโพสต์

แต่คำถามที่ตามมา ทำ Content อย่างไรให้ไม่ผิด PDPA ? ถ่ายคลิปติดคนอื่นผิดไหม ? โดนร้องเรียนละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล ต้องทำอย่างไร ?

 

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) หรือ PDPC จัดสัมมนาออนไลน์ ผ่าน Facebook PDPC Thailand ให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA กับสื่อมวลชน และ Content Creator เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2567

โดย อาจารย์ไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จาก PDPC และการแชร์ประสบการณ์จริงจาก ช่อง อาสาพาไปหลง, ช่อง จูนพากิน Tiktoker & Youtuber ชื่อดัง

เคลียร์ให้ชัด ๆ ทำ \'คอนเทนต์\' อย่างไรไม่ให้ผิด PDPA ? คนทำสื่อ Creator ต้องรู้

"กฎหมาย PDPA พระราชบัญญัติคุ้มครองส่วนบุคคล บังคับใช้มาตั้งแต่ปี 2562 แต่หลายคนยังไม่เข้าใจและรับรู้ว่า กฎหมายนี้ออกมาเพื่อรองรับสิทธิขั้นพื้นฐาน คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

หากมีใครเก็บรวมรวม เอาไปใช้แล้วทำให้เราเกิดความเสียหาย โดยไม่มีข้อตกลง ไม่มีสัญญา ไม่เป็นกรณีเอื้อประโยชน์สาธารณะ

เคลียร์ให้ชัด ๆ ทำ \'คอนเทนต์\' อย่างไรไม่ให้ผิด PDPA ? คนทำสื่อ Creator ต้องรู้

เราสามารถร้องเข้ามาที่คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ ตัวแทนหน่วยงานรัฐ ผู้มีอำนาจออกโทษปรับในการปกครอง เป็นจำนวน 1 ล้านบาท 3 ล้านบาท 5 ล้านบาท ซึ่งค่าปรับนี้จะเข้ารัฐ ไม่ได้แก่ผู้ร้อง"

อาจารย์ไพบูลย์ กล่าวว่า อะไรก็ตามที่ระบุตัวตนเราได้ ทั้งทางตรง ทางอ้อม มันคือข้อมูลส่วนบุคคล

"ยกตัวอย่าง ชื่อ นามสกุล ชื่อเล่น เสียง รูปภาพ ทะเบียนรถ หมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี หมายเลขบัตรประชาชน อะไรที่ระบุตัวตนได้ เป็นข้อมูลส่วนบุคคลหมดเลย รวมถึงข้อมูลเชิงเทคนิคด้วย เช่น หมายเลขเฟซบุ๊ค IP Address ลายนิ้วมือ

เคลียร์ให้ชัด ๆ ทำ \'คอนเทนต์\' อย่างไรไม่ให้ผิด PDPA ? คนทำสื่อ Creator ต้องรู้

กฎหมายนี้แยกข้อมูลส่วนบุคคล เป็นสองประเภท 1.ประเภททั่วไป 2.ประเภทอ่อนไหวพิเศษ ได้แก่ ประวัติอาชญกรรม ประวัติสุขภาพ พฤติกรรมทางเพศ ข้อมูลเกี่ยวกับศาสนา

หากมีผู้ไปเก็บรวบรวมแล้วเปิดเผยทำให้เขาเสียหาย มีโทษปรับ 1 ล้าน 3 ล้าน 5 ล้าน แล้วเจ้าของข้อมูลมีสิทธิ์ดำเนินคดีอาญาได้ด้วย แต่สามารถยอมความได้ เพราะเป็นความผิดส่วนตัว ไม่ใช่ความผิดต่อแผ่นดิน"

เคลียร์ให้ชัด ๆ ทำ \'คอนเทนต์\' อย่างไรไม่ให้ผิด PDPA ? คนทำสื่อ Creator ต้องรู้

  • การบังคับใช้กฎหมาย PDPA กับ สื่อมวลชน และ Content Creator

คนทำสื่อ มีสองประเภท คือ สื่อมวลชน และ Content Creator

"ความแตกต่างของสื่อทั้งสองกลุ่มนี้ คือ กฎหมายฉบับนี้ไม่ใช้กับสื่อมวลชน เพราะ 1. สื่อมวลชนมีการขึ้นทะเบียนถูกต้อง มีสังกัดชัดเจน มีหลักแหล่งแน่นอน 2.สื่อมวลชนมีประมวลจริยธรรม มีมาตรการสกรีนเซ็นเซอร์งานต่าง ๆ ถ้ารายงานข่าวเพื่อประโยชน์ของประชาชน กฎหมายนี้จะไม่ถูกใช้

แต่หากไม่ใช่ประโยชน์สาธารณะ ปัญหาที่พบบ่อยคือ อาชญกรรม และ บันเทิง เช่น โพสต์ว่าไฮโซคนนั้นไปคบคนนี้ หรือเฟซบุ๊คไลฟ์ กรณีดาราคนหนึ่งเสียชีวิตเมื่อหลายปีก่อน จะผิดกฎหมายนี้

เคลียร์ให้ชัด ๆ ทำ \'คอนเทนต์\' อย่างไรไม่ให้ผิด PDPA ? คนทำสื่อ Creator ต้องรู้ ส่วน Content Creator, YouTuber, Influercer อย่าง ช่อง อาสาพาไปหลง, ช่อง จูนพากิน ไม่มีประมวลจริยธรรม หรือบางเพจมีคนติดตามเป็นล้าน แต่ด่าคน หรือขายกัญชา โพสต์เรื่องไม่ดี จะผิดกฎหมายนี้

ทั้งสามกลุ่ม (Content Creator, YouTuber, Influercer) เป็นเหมือนบุคคลธรรมดา ถ่ายทำได้ แต่ต้องไม่กระทบต่อเจ้าของข้อมูล หรือทำให้เขาเสียหาย กฎหมายนี้จะคุ้มครอง"

เคลียร์ให้ชัด ๆ ทำ \'คอนเทนต์\' อย่างไรไม่ให้ผิด PDPA ? คนทำสื่อ Creator ต้องรู้

  • ประสบการณ์จริง ของ ‘ผู้ทำสื่อ’

รายการท่องเที่ยว อย่าง ช่อง อาสาพาไปหลง ครีเอทีฟ ณัฐนันท์ มุกดา เล่าว่า ก่อนมีกฎหมายนี้ ก็ถ่ายทำเป็นปกติ แต่พอมีกฎหมายนี้ออกมา ก็ต้องตระหนักมากขึ้น

"ขั้นตอนการทำงาน ก่อนถ่ายทำ ครีเอทีฟจะคิดคอนเทนต์ ติดต่อ ประสานงาน ทำจดหมายขอเข้าไปถ่ายทำ แล้วไปดูสถานที่ ส่วนในช่วงการถ่ายทำ เราจะบอกเขาตอนนั้นเลยว่าจะมีการนำภาพไปใช้ในรายการ

เคลียร์ให้ชัด ๆ ทำ \'คอนเทนต์\' อย่างไรไม่ให้ผิด PDPA ? คนทำสื่อ Creator ต้องรู้

หรือถ้าระหว่างถ่ายทำ หากมีการพูดคุยกับคนที่ยังไม่ได้ติดต่อ เมื่อถ่ายเสร็จเราจะเข้าไปขออนุญาต หรือถ้าบางคนไม่สะดวก ก็แค่บันทึกภาพไปแต่ไม่ได้เอามาใช้"

ขณะที่ โปรดิวเซอร์ ช่อง อาสาพาไปหลง สิทธิศักดิ์ ศรีสำราญ เสริมว่า ตอนถ่ายทำ เราพยายามจะไม่ถ่ายจ่อหน้าเขา

"เน้นเก็บกว้าง ให้เห็นภาพรวมมากกว่า แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้จริง ๆ ก็จะมาเบลอทีหลัง"

เคลียร์ให้ชัด ๆ ทำ \'คอนเทนต์\' อย่างไรไม่ให้ผิด PDPA ? คนทำสื่อ Creator ต้องรู้

รายการแนะนำร้านอาหารอย่าง ช่อง จูนพากิน ก็ต้องปรับตัวเช่นกัน รัชนีกร ค่องสกุล เล่าว่า ก่อนมีกฎหมายนี้ เราถ่ายทำเห็นคนเยอะ ๆ ได้ แต่พอมีกฎหมายนี้ออกมา จากที่นั่งตรงไหนก็ได้ จากโต๊ะหน้าสุด ก็ต้องไปนั่งหลังสุด ชิดกำแพง ไม่มีคนข้างหลัง

"หรือถ้าจะถ่ายคนเยอะ ๆ ก็ต้องถ่ายคนหันหลัง ไม่มีมองหน้ากันหรือหันมามองกล้อง และก่อนถ่ายทำก็ต้องถามเขาตรง ๆ ว่าถ้าติดซีนพี่เข้าไปจะอนุญาตไหม ถ้าไม่ได้จริง ๆ อาจต้องคุยกับลูกค้าว่าขอตัดทิ้งได้ไหม หรือขอเปลี่ยนใหม่เลย"

เคลียร์ให้ชัด ๆ ทำ \'คอนเทนต์\' อย่างไรไม่ให้ผิด PDPA ? คนทำสื่อ Creator ต้องรู้

  • กฎหมายนี้มีเพื่อส่งเสริมธุรกิจ ไม่ได้จำกัดสิทธิ์

อาจารย์ไพบูลย์ มีข้อแนะนำสำหรับ คนทำสื่อ ทั้งสามกลุ่ม (Content Creator, YouTuber, Influercer) ว่า

1.ถ่ายทำได้เหมือนเดิม แต่ต้องแจ้งเขาก่อน ในต่างประเทศ จะตั้งป้ายว่าบริเวณนี้มีการถ่ายทำอยู่ ที่สำคัญ ให้ถ่ายป้ายที่เราแจ้ง และบันทึกหลักฐานเวลาเราไปคุยขออนุญาตไว้ด้วย เพราะเคยมีประเด็นว่าเราแจ้งเขาไหม เราต้องพิสูจน์ว่ามีป้ายนี้อยู่ หรือแจ้งปากเปล่าไว้แล้ว (เคยมีปัญหา เพราะคนลืมง่าย เมื่อวานแจ้งแล้ว วันนี้บอกว่าไม่เห็นมีแจ้ง ซึ่งเขาอาจยกเลิกการอนุญาตนั้นได้)

2.แจ้งวัตถุประสงค์ไว้ว่าเอาไปทำอะไร ถ้ามีรายละเอียดเยอะ ทำเป็นลิงค์ หรือคิวอาร์โค้ดให้สแกนได้

3.วิธีการใช้ ลักษณะการเผยแพร่ เป็นแบบไหน ถ้าดูแล้วไม่เหมาะสม อาจมีปัญหา เราก็เบลอซะ หรือตัดออกซะ

เวลามีผู้ร้องเข้ามา ผู้เชี่ยวชาญจะนำเอาแนวทางธุรกิจ เอาคอนเทนต์ครีเอเตอร์มาสอบ ทำแบบนี้ทำไม มีเหตุผลอะไร แล้วจริง ๆ เป็นแบบนั้นไหม กฎหมายนี้ ไม่ได้ตีความแบบทั่วไป แต่เอาแนวทางปฏิบัติในการทำธุรกิจนั้น ๆ ว่าเป็นแบบไหน 

มีคนถามว่า เวลาชุมนุมต้องไปขออนุญาตไหม ไม่ต้อง ยกเว้นว่าเขาแสดงท่าทีไม่เหมาะสมในที่สาธารณะแล้วเราถ่ายไปประจานเขา ถ้าเขาร้องมา ผมต้องบอกว่าให้ช่วยลบ"

เคลียร์ให้ชัด ๆ ทำ \'คอนเทนต์\' อย่างไรไม่ให้ผิด PDPA ? คนทำสื่อ Creator ต้องรู้

  • คนที่มีโลกหลายใบ พึงระวังเป็นพิเศษ

เคสตัวอย่าง กรณีศึกษา ที่เกิดกับช่อง จูนพากิน คือ ในช่วงคาบเกี่ยวก่อนที่จะประกาศใช้กฎหมายนี้ รายการได้ไปถ่ายทำร้านอาหารแห่งหนึ่ง มีคนต่อแถวเข้าคิวซื้อร้านนี้เยอะมาก ในช่วง 1-2 วินาที ไปติดคุณผู้ชายที่มากับคุณผู้หญิง ที่ไม่ใช่ภรรยา แล้วคลิปนั้นก็เกิดไวรัลขึ้นมา

"ผู้ชายคนนั้นเห็นว่ามีเขากับผู้หญิงคนนั้นอยู่ ก็ทักมาบอกว่า ขอลบคลิปนี้ เรายังไม่ได้ลบ เพราะยอดวิวล้านวิวไปแล้ว สุดท้ายคุณผู้ชายก็ขู่ฟ้องว่า ติดหน้าผม ผมไม่ยินยอม กรณีแบบนี้จะต้องทำอย่างไร" จูน-รัชนีกร ถามอาจารย์ไพบูลย์

อาจารย์ไพบูลย์ตอบว่า ถ้าเราใช้เก็บรวบรวมเพื่อเปิดเผย ไม่ได้เป็นเรื่องที่โฟกัสเฉพาะเจาะจง ก็ทำถูกต้อง ไม่มีโทษปรับอะไร

"ประเด็นปัญหาคือ มันไปติดเขาไปกับโลกอีกใบหนึ่ง แล้วมีคนคอมเมนต์ค่อนข้างเยอะ เขาเสียหายแล้ว ก็ร้องมาที่เรา โดยหลักการ เราต้อง ลบทิ้ง หรือ ตัดส่วนนั้นออกไป หรือ ดำเนินการใดก็ได้ที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้

เคลียร์ให้ชัด ๆ ทำ \'คอนเทนต์\' อย่างไรไม่ให้ผิด PDPA ? คนทำสื่อ Creator ต้องรู้

ถ้าเป็นเคสทั่วไป ผมจะบอกว่าให้ไปเบลอซะ แต่เคสนี้ผมแนะนำว่า ขอให้ลบส่วนนั้นออกไปเลย เพราะมันวิจารณ์กันเต็มเน็ตแล้วว่าเขาเป็นใคร ซึ่งการไปเบลอก็ไม่ได้ช่วย

เมื่อเขาร้องมาแล้ว เราจะปรับไหม เราไม่ปรับ แต่จะบอกว่าคุณจูนไปลบให้เรียบร้อย ก็จบ แต่ถ้าบอกให้ลบ 3-5 ครั้ง ไม่ลบ แล้วเขาเสียหายจริง ๆ เขามีหลักฐานมา เราก็จะบอกว่าคุณจูนลบเถอะนะ ครั้งสุดท้ายแล้วนะ

ถ้าไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง กฎหมายนี้บอกว่า คณะกรรมการวิชาการมีอำนาจสั่งให้ปฏิบัติในการลบ ถ้าท่านไม่ลบ เราต้องใช้โทษปรับในการปกครองท่าน สูงสุดคือ 5 แสนบาท (ถ้าเป็นคนมีชื่อเสียง นักการเมือง เซเลบริตี้ ก็ควรตัดออก)

หรือกรณีผมไปนั่งทานข้าวแล้วแคะขี้มูกอยู่ แล้วมีคนเห็นจำได้เอาไปเขียนด่า อาจารย์คนนี้บุคลิกแย่จังเลย ผมก็มีสิทธิ์ในทางกฎหมายที่จะบอกว่าช่วยลบหน่อย ถ้าลบ ก็จบ ซึ่งมันมีหลาย ๆ วิธี ที่สามารถทำให้คอนเทนต์นั้นยังสามารถอยู่ได้"

เคลียร์ให้ชัด ๆ ทำ \'คอนเทนต์\' อย่างไรไม่ให้ผิด PDPA ? คนทำสื่อ Creator ต้องรู้

  • ทะเลาะกัน ฟ้องร้องเรียกเงินได้ไหม

ที่ร้องกันเข้ามามากที่สุด และเข้าใจผิดกัน คือ ทะเลาะกันส่วนตัว แล้วไปเรียกเงินกัน

"เขาร้องเข้ามาเพื่อให้เราไปขู่อีกฝ่าย ซึ่งการร้อง ต้องครบเงื่อนไขว่า ใครทำอะไร ที่ไหน กับใคร อย่างไร และเสียหายอย่างไร

เช่น เว็บนี้ชื่อนี้ทำอะไร ผิดกฎหมายข้อไหน ที่สำคัญ ต้องรับรองว่าเป็นจริง เพราะมีร้องมาแล้วไม่เป็นจริง ถ้าคุณร้องไม่เป็นความจริงมีความผิดตามกฎหมายอาญา โทษจำคุก 6 เดือน

มีร้องเข้ามาเยอะ แต่เป็นการร้องเพื่อทำลายคู่แข่งทางการเมือง เราไม่อยากจะวินิจฉัยแบบนั้น คนที่จะร้องเข้ามาต้องมีเหตุผล เพราะการจะออกคำวินิจฉัยอันหนึ่งเราตรวจสอบทุกอย่าง เรียกมาคุยทั้งสองฝ่าย สรุปคือ เสียหายยังไง ไม่ใช่ว่ามโนไปเอง"

เคลียร์ให้ชัด ๆ ทำ \'คอนเทนต์\' อย่างไรไม่ให้ผิด PDPA ? คนทำสื่อ Creator ต้องรู้

  • ดูยังไงว่า เราถูกละเมิดหรือไม่

การเก็บข้อมูลส่วนบุคคล ถ้ามีกฎหมายบังคับ เช่น การตรวจ ATK ก็เป็นเรื่องปกติ หรือทำสัญญาไว้แล้ว เขาใช้ข้อมูลนั้นมาบังคับใช้ตามสัญญา

"ถ้าเราถ่ายคนกำลังถูกทำร้ายเพื่อคุ้มครองชีวิตร่างกาย ทำได้ หรือใช้เพื่อการศึกษาวิจัย ทำได้ หรือใช้กรณีทั่ว ๆ ไป อย่างวันนี้เรามีประชุม มีเฟซบุ๊คไลฟ์ มีถ่ายรูป มีซูม เป็นปกติของธุรกิจ ทำได้

กฎหมายบอกไว้ว่าทำได้ มี 6 ข้อ ถ้าไม่เข้าทั้งหมด ไล่แต่ละข้อไม่เข้าเลย เขาได้ยินยอมไหม ตรงนี้ถือว่าเรามีสิทธิ์ตามกฎหมาย

เราเคยอนุญาตใครไว้ไหม ไม่ว่าโดยสัญญาหรืออะไร ถ้าไม่เคยอนุญาตแล้วมันเป็นเรื่องที่เราเสียหายจริง ๆ ก็มาปรึกษา สคส. ได้ ด้วยวิธี 1.คอลเซ็นเตอร์ 2.ถ้าคอลเซ็นเตอร์ตอบไม่ชัด ทำหนังสือร้องเข้ามาแล้วให้ตอบเป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้

กฎหมายนี้ ในต่างประเทศเข้มงวดกว่า อย่างกฎหมายไทย ใช้ลายนิ้วมือ สแกนหน้า ตรวจโรคเข้าทำงานได้ แต่ของอังกฤษเขาต้องยินยอมก่อน นี่เป็นข้อแตกต่าง แต่แนวทางเดียวกัน

ถ้าไปถ่ายคอนเทนต์ต่างประเทศแล้วติดหน้าชาวต่างชาติ เขาต้องการฟ้องร้องสามารถตั้งทนายได้ ทำคำร้อง รับรองตัวตน พาสปอร์ต ส่งอีเมลมาที่ สคส. ได้ เรารับร้องเรียนทางอีเมลด้วย ถ้าหลักฐานชัดเราก็พิจารณาให้ได้

แต่ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมี เพราะท้องที่ในการกระทำผิดมันจะอยู่เมืองนอก ประเด็นคือต้องดูว่ามันเสียหายในเมืองไทยหรือเปล่า

เคลียร์ให้ชัด ๆ ทำ \'คอนเทนต์\' อย่างไรไม่ให้ผิด PDPA ? คนทำสื่อ Creator ต้องรู้

ในมุมของประชาชน ท่านถ่ายคลิปต่าง ๆ ในส่วนครอบครัวได้เหมือนเดิม แต่อย่าไปถ่ายคนอื่น แล้วไปใช้ในทางที่ทำให้เขาเสื่อมเสีย

ที่ซีเรียสคือ รูปเด็ก กับ รูปคนพิการ ภาพที่ไม่เหมาะสมของเด็ก เกี่ยวกับยาเสพติด มีภาพเด็กอยู่กับแอลกอฮอล์ให้ตัดทิ้งเลย หรือพ่อแม่ถ่ายรูปสนุกสนานมีกัญชาแล้วมีเด็กเข้ามา

หลาย ๆ คอนโดติดกล้องวงจรปิด ก็ต้องติดข้อความว่าบริเวณนี้มีกล้องวงจรปิด กฎหมายนี้บอกว่าต้องแจ้งวัตถุประสงค์ ทำเป็นคิวอาร์โค้ดก็ได้

หรือเวลาไปตามห้างต่าง ๆ เขาเก็บบัตรเราก็จะมีเขียนว่าท่านสามารถดูนโยบายคุ้มครองได้ ต้องแจ้งว่าเขามีสิทธิ์อะไรบ้าง เพราะทุกครั้งที่เขาจะถูกบันทึกเขาต้องรู้ก่อนว่าเขากำลังถูกบันทึก

เคลียร์ให้ชัด ๆ ทำ \'คอนเทนต์\' อย่างไรไม่ให้ผิด PDPA ? คนทำสื่อ Creator ต้องรู้

การถ่ายทำคลิปในไทย ถือว่าเป็นการเก็บรวบรวมอยู่ในประเทศ ต้องดูว่าคนที่ถูกฟ้องร้องอยู่ในไทยหรือเปล่า ถ้าอยู่ในไทยก็ต้องมาฟ้องในประเทศไทยเพื่อบังคับให้เขาลบ หรือเรียกค่าเสียหาย

ถ้าเขาไปฟ้องที่ประเทศเขาได้ไหม ได้ แต่สภาพบังคับ ไปบังคับข้ามประเทศไม่ได้ กรณีความเสียหายเกิดในไทย ผู้ที่ละเมิดเป็นคนไทย ก็ควรจะฟ้องที่ศาลไทย ร้องมาที่คณะกรรมการคุ้มครอง หรือฟ้องที่ศาลไทย ศาลไทยก็จะดำเนินการในเรื่องนี้

อย่างการเก็บบรรยากาศ ถ่ายภาพนักศึกษา ไปรายงานข่าว แต่พาดหัวว่า เดี๋ยวนี้นักศึกษาขายตัวมากขึ้น อันนี้ไม่ได้ เพราะตอนไปเก็บไม่ได้บอก เมื่อใดก็ตามที่วัตถุประสงค์ในการใช้เปลี่ยนไป กฎหมายนี้จะวิ่งเข้ามาคุ้มครองท่านทันที

กรณีกล้องเล็กกล้องมือถือ เราจะดูลักษณะการแพนกล้อง เน้นตัวเราหรืออาหาร ถ้าให้ดีแจ้งก่อนเขาเข้าร้าน เพื่อให้เขารู้ก่อน

เคลียร์ให้ชัด ๆ ทำ \'คอนเทนต์\' อย่างไรไม่ให้ผิด PDPA ? คนทำสื่อ Creator ต้องรู้

เคยมีข้อพิพาทถ่ายดาราไปวิ่งมาราธอนแล้วไปโฟกัสรองเท้าที่เขาใช้ แล้วบอกว่าดาราคนนี้ยังใช้ยี่ห้อนี้เลย นี่คือการใช้ภาพเขาเพื่อแสวงหากำไร จะบอกว่าไม่ได้ตั้งใจ แต่เขียนว่า ดาราคนนี้เขาใช้... หรืออยากหุ่นดีอย่างนี้เราเสริมอาหารนี้นะ ก็ไม่ใช่แล้ว

ตามหลักการรายงานทั่วไป ถ้าพูดถึงภาพรวมก็ไม่มีปัญหา แต่เมื่อไรก็ตามที่เราเฉพาะเจาะจงหรือเปิดเผย หรืออัพโหลดในยูทูบ อันนั้นต้องระวัง 

มีอีกประเภทหนึ่ง เบลอแล้วรู้ว่าใคร บางคดีที่ร้องเข้ามา เด็กถูกละเมิดก็เบลอหน้าเด็ก แต่ไปถ่ายหน้าพ่อแม่อย่างชัดเจน แบบนี้ก็ไม่ช่วย”