'ไทย' ได้เป็นคณะมนตรี UNHRC ด้านสิทธิมนุษยชน แต่ในความจริง กลับตรงข้าม !!!

'ไทย' ได้เป็นคณะมนตรี UNHRC ด้านสิทธิมนุษยชน แต่ในความจริง กลับตรงข้าม !!!

ประเทศไทยได้รับเลือกตั้งให้เป็นคณะมนตรี UNHRC ด้านสิทธิมนุษยชน สร้างความประหลาดใจให้กับคนไทย เพราะในความเป็นจริงสิ่งที่เห็นและเป็นอยู่มันไม่ใช่

ค่ำคืนของวันที่ 9 ตุลาคม 2567 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้รายงานไปยังนายกรัฐมนตรี ว่า ที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ โหวตให้ประเทศไทยได้รับเลือกตั้งเป็น สมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Human Rights Council: UNHRC) พ.ศ. 2568-2570

ด้วยคะแนนสูงสุด 177 คะแนน ในกลุ่มประเทศเอเชีย-แปซิฟิก ประเทศไทยจะปฏิบัติหน้าที่ในฐานะสมาชิก UNHRC ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 โดยมีวาระ 3 ปี ร่วมกับประเทศต่าง ๆ ที่ได้รับเลือกรวมทั้งสิ้น 18 ประเทศ

ได้แก่ เบนิน, โบลิเวีย, โคลอมเบีย, ไซปรัส, เช็ก, ดีอาร์คองโก, เอธิโอเปีย, แกมเบีย, ไอซ์แลนด์, เคนยา, หมู่เกาะมาร์แชล, เม็กซิโก, นอร์ธมาซิโดเนีย, กาตาร์, เกาหลีใต้, สเปน, สวิตเซอร์แลนด์, ไทย

มาริษ เสงี่ยมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า ประเทศไทยจะเป็นสะพานเชื่อม ประสานความแตกต่างของประเทศสมาชิก เพื่อช่วยแสวงหาทางออก และฉันทามติ

\'ไทย\' ได้เป็นคณะมนตรี UNHRC ด้านสิทธิมนุษยชน แต่ในความจริง กลับตรงข้าม !!!

Cr. กรมประชาสัมพันธ์

โดยอาศัยจุดแข็งของไทยที่มีมุมมองในหลายเรื่องที่ก้าวหน้า มีความเข้าใจในบริบททางสังคม ศาสนา และวัฒนธรรมของประเทศกำลังพัฒนา

รัฐบาลให้ความสำคัญส่งเสริมคุ้มครองสิทธิมนุษยชนประชาชนคนไทยในประเทศ และระหว่างประเทศ การมีส่วนร่วมในฐานะสมาชิก UNHRC จะช่วยยกระดับมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ

\'ไทย\' ได้เป็นคณะมนตรี UNHRC ด้านสิทธิมนุษยชน แต่ในความจริง กลับตรงข้าม !!!

เสริมสร้างภาพลักษณ์ของไทยในเวทีระหว่างประเทศ เปิดโอกาสให้ประเทศไทยมีบทบาทสำคัญในการผลักดันประเด็นสิทธิมนุษยชนในเวทีโลก รวมถึงความพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้มีรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนที่เป็นประชาธิปไตย,

การยกเลิกคำสั่ง คสช., การแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่ง เพื่อให้เกิดการสมรสเท่าเทียม, การต่อยอดโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค เป็นโครงการ 30 บาทรักษาทุกที่ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงสิทธิการรักษาพยาบาล,

การปลดล็อกอุปสรรค ปรับปรุงกฎหมาย อำนวยสะดวกในการประกอบธุรกิจให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป เพิ่มประสิทธิภาพในการขออนุญาต ขอรับบริการจากหน่วยงานของรัฐ ให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ประเทศเพื่อนบ้าน เป็นต้น"

\'ไทย\' ได้เป็นคณะมนตรี UNHRC ด้านสิทธิมนุษยชน แต่ในความจริง กลับตรงข้าม !!!

Cr. กรมประชาสัมพันธ์

แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี อยู่ระหว่างประชุมสุดยอดอาเซียนที่ประเทศลาว ได้โพสต์ข้อความลงใน X ว่า

"การที่ประเทศไทยได้รับเลือกตั้งเข้าไปดำรงตำแหน่งสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ วาระปี 2568-2570 ด้วยคะแนนเสียงสูงสุดในกลุ่มเอเชียแปซิฟิก

ดิฉันยืนยันว่ารัฐบาลไทยจะให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศ และจะทำงานร่วมกับนานาประเทศในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ"

\'ไทย\' ได้เป็นคณะมนตรี UNHRC ด้านสิทธิมนุษยชน แต่ในความจริง กลับตรงข้าม !!!

  • ความจริงที่แตกต่างและตรงกันข้าม

สิทธิและเสรีภาพในการแสดงความเห็นและการแสดงออกของคนไทย เมื่อย้อนกลับมาดูเหตุการณ์ในประเทศไทย ดูเหมือนว่า คนไทยไม่ได้มี สิทธิมนุษยชน อย่างที่ควรจะเป็น

การชุมนุมทางการเมืองปี 53 เจ้าหน้าที่รัฐได้สลายการชุมนุม ทำให้ให้ประชาชนเสียชีวิตจำนวนมาก ต่อมาการชุมนุมปี 63 ก็มีหลายคนถูกคุกคามและดำเนินคดีด้วยข้อหารุนแรง ทั้ง พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และมาตรา 112

ข้อมูลของ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ถึงวันที่ 6 กันยายน 2567 ระบุว่า มีผู้ถูกดำเนินคดีมาตรา 112 จำนวน 273 คน ใน 306 คดี

\'ไทย\' ได้เป็นคณะมนตรี UNHRC ด้านสิทธิมนุษยชน แต่ในความจริง กลับตรงข้าม !!!

มีผู้ถูกคุมขังจากคดีทางการเมืองและมาตรา 112 จำนวน 42 คน เป็นคดีมาตรา 112 จำนวน 28 คน คดีเหล่านี้ไม่ได้รับสิทธิประกันตัว ทำให้ บุ้ง-เนติพร เสน่ห์สังคม เสียชีวิตวันที่ 14 พฤษภาคม 2567 จากการถูกคุมขังและอดอาหารเกิน 100 วัน

มีการคุกคามความเป็นส่วนตัว หลายคนถูกหน่วยงานรัฐใช้สปายแวร์ เข้าถึงข้อมูลในมือถือ เป็นการใช้อำนาจโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และละเมิดสิทธิมนุษยชน

มีการซ้อมทรมานและอุ้มหาย แม้ว่าประเทศไทยจะมี พ.ร.บ.ป้องกันการซ้อมทรมานและอุ้มหายฯ บังคับใช้เมื่อปีที่แล้ว แต่ก็ยังมีผู้ถูกอุ้มหาย มีการใช้กำลังทรมานผู้ต้องหา ส่วนในค่ายทหารก็มีพลทหารเสียชีวิตจากการถูกซ่อม และไม่สามารถเอาผิดใครได้

\'ไทย\' ได้เป็นคณะมนตรี UNHRC ด้านสิทธิมนุษยชน แต่ในความจริง กลับตรงข้าม !!!

Cr. ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

วันที่ 11 ตุลาคม 2567 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน Thai Lawyers for Human Rights (TLHR) องค์กรให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายกับประชาชนที่ถูกดำเนินคดีอันสืบเนื่องจากการใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออก

ออกแถลงการณ์ 3 ข้อต่อรัฐบาลไทย ภายหลังประเทศไทยได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ วาระปี 2568-2570 โดยมีข้อเรียกร้อง ดังนี้

\'ไทย\' ได้เป็นคณะมนตรี UNHRC ด้านสิทธิมนุษยชน แต่ในความจริง กลับตรงข้าม !!!

1. ยุติการดำเนินคดีทางการเมืองและออกกฎหมายนิรโทษกรรมประชาชนที่ถูกดำเนินคดีเพราะใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมโดยสงบ พร้อมคืนอิสรภาพของผู้ต้องขังคดีทางการเมือง

2. แก้ไขกฎหมายมาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสิทธิมนุษชนระหว่างประเทศ

3. ยุติการดำเนินคดีทางการเมืองและออกกฎหมายนิรโทษกรรมเด็กและเยาวชนที่ถูกดำเนินคดีจากการใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมโดยสงบ

............................

อ้างอิง : กรมประชาสัมพันธ์, WAY, ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน