‘ดีไซน์’ รับมือกับภัยพิบัติ โลกวิกฤติและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

‘ดีไซน์’ รับมือกับภัยพิบัติ โลกวิกฤติและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

ใช้งานออกแบบเป็นเครื่องมือรับมือกับภัยพิบัติ โลกวิกฤติ และการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เหล่านี้เป็นอีกการพูดคุยของสถาปนิกในงาน SUSTAINABILITY EXPO 2024 

เมื่อสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงมากขึ้นเรื่อยๆ สรรพสิ่งบนโลกไม่อาจปรับตัวได้ จำเป็นอย่างยิ่งที่มนุษย์ต้องช่วยกันเยียวยารักษาสมดุลให้ธรรมชาติ ไม่เช่นนั้นคนบนโลกจะอยู่ยากมากขึ้น

แล้วคนทำงานด้านการออกแบบ และภัยพิบัติ จะมีส่วนช่วยคิดและทำอย่างไร อีกประเด็นการพูดคุยในงาน SUSTAINABILITY EXPO 2024 หัวข้อ “Design for Climate Adaptation: ออกแบบเพื่อปรับตัวเมื่อโลกวิกฤติ” ซึ่งมีหลายแนวคิดต้องดำเนินการระยะยาว และบางแนวคิดต้องรื้อโครงสร้างเดิมๆ ออกไป

  • ผีเสื้อขยับปีก สะเทือนถึงสิ่งใด

ถ้านึกไม่ออกว่า สิ่งเล็กๆ ที่เกิดในซีกโลกหนึ่งจะมีผลกระทบอีกซีกโลกอย่างไร ลองนึกเรื่องราว ผีเสื้อขยับปีก(Butterfly Effect) วิภาวี คุณาวิชยานนท์ สถาปนิก และผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิความคิดสร้างสรรค์เพื่อรับมือภัยพิบัติ Design for Disasters Foundation (D4D) ซึ่งทำงานด้านนี้กว่า 10 ปี อธิบายว่า Butterfly Effect แม้จะเป็นปรากฎการณ์เล็กๆ แต่ทำให้เกิดสึนามิได้

‘ดีไซน์’ รับมือกับภัยพิบัติ โลกวิกฤติและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ แบบบ้านสะเทินน้ำสะเทินบก หนึ่งในดีไซน์เพื่ออยู่กับน้ำท่วม

 

สิ่งเล็กๆ ที่เกิดขึ้นจึงไม่ใช่เรื่องธรรมดา ยกตัวอย่างเปลือกโลกชั้นบางๆ ที่เคลื่อนตัวไปมาบนชั้นหินหนืดๆ ที่เรียกว่าแมกมา (Magma ) มีความเป็นไปได้ที่เหตุการณ์ในพื้นที่หนึ่งจะส่งผลกระทบอีกพื้นที่

แผนที่โบราณเมื่อหลายร้อยปีที่แล้วพบทวีปขนาดใหญ่ ปัจจุบันแยกออกเป็นหลายทวีป การเปลี่ยนแปลงแบบนี้ ไอสไตน์เคยบอกว่า เขาไม่รู้ว่าสงครามโลกครั้งที่ 3 จะสู้กันด้วยอะไร แต่รู้ว่า สงครามโลกครั้งที่ 4 มนุษย์จะสู้ด้วยไม้และก้อนหิน เพราะเราไม่อาจรู้ได้ว่า จะมีสิ่งใดล่มสลายอีก จึงจำเป็นต้องเตรียมพร้อมเรื่องภัยพิบัติ"

ในฐานะสถาปนิก และคนทำงานด้านภัยพิบัติ เธอใช้กลไกลการออกแบบมาช่วยบรรเทาผลกระทบจากภัยพิบัติ ทั้งมิติการให้ความรู้เรื่องผังเมือง สถาปัตยกรรม และการออกแบบกราฟิก

‘ดีไซน์’ รับมือกับภัยพิบัติ โลกวิกฤติและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ “เคยมีข่าวการเกิดสึนามิสูง 200 เมตรที่กรีนแลนด์ เมื่อปีที่แล้วนักวิทยาศาสตร์สงสัยว่าเกิดจากอะไร เพิ่งค้นพบว่ามาจากภูเขาน้ำแข็งละลายลงแหล่งน้ำจนเกิดคลื่นใหญ่เป็นเวลา 9 วัน เพราะระบบนิเวศเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน

วิภาวี ยกตัวอย่างการออกแบบบ้านเรือนในชุมชนท่าขนอม อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี เคยก่อสร้างด้วยไม้ไผ่ ทำให้ลอยเหนือน้ำได้ และผูกยึดบ้านไว้กับเสา ป้องกันกระแสน้ำพัดพา

ส่วนอีกกรณีในญี่ปุ่น เคยมีการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นขนาดใหญ่สูง 12 เมตร ปี 2011 ตอนที่เกิดสึนามิ กำแพงดังกล่าวยังไม่สามารถป้องกันภัยพิบัติได้สมบูรณ์ เนื่องจากคลื่นสึนามิสูงกว่านั้น จึงต้องเสริมความสูงของกำแพงเป็น 15 เมตร

‘ดีไซน์’ รับมือกับภัยพิบัติ โลกวิกฤติและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ในงาน SUSTAINABILITY EXPO 2024 หัวข้อ “Design for Climate Adaptation: ออกแบบเพื่อปรับตัวเมื่อโลกวิกฤติ” 

และนักเรียนมัธยมญี่ปุ่นตอนนั้นเรียนรู้ซ้อมการอพยพ เด็กๆ ถูกฝึกให้เข้าใจเรื่องสติและการประเมินสถานการณ์เฉพาะหน้า จากเหตุการณ์นั้นนักเรียนรุ่นพี่สามารถพาน้องๆ วิ่งขึ้นที่สูงพ้นจากภัยสึนามิ

อีกเรื่องที่วิภาวีเป็นห่วงคือ การใช้สัญชาติญาณเมื่อเกิดภัยพิบัติ เธอมองว่า เพราะเราคุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยีมากไป ทำให้เราอ่อนแอเรื่องการใช้สัญชาติญาณ ต่างจากสัตว์ที่มีสัญชาติญาณรับรู้ล่วงหน้า เมื่อเกิดสึนามิวิ่งขึ้นที่สูงได้เร็วกว่า

“โลกมีอายุกว่า 4,500 ล้านปี มนุษย์มีอายุแค่ร้อยปี อะไรๆ ก็เกิดขึ้นได้ ช่วงชีวิตเราสั้น อยากบอกว่าให้กลับมาที่อิทัปปัจจยตา กฏของสรรพสิ่ง เมื่อมีเหตุก็ต้องมีผล เมื่อมีผลย่อมมีเหตุ

ง่ายๆ เลยการเกิดพายุ ดินโคลนถล่ม น้ำท่วม อาจไม่ใช่เรื่องแปลก ถ้าเรารู้เหตุที่ทำให้เกิดขึ้น ทั้งเรื่องการตัดไม้ทำลายป่า สร้างถนน วางผังเมืองไม่ถูกที่ ซึ่งแนวทางการออกแบบก็คือการตัดสินใจ เพื่อทำบางอย่างในเรื่องภัยพิบัติ"

  • ภัยพิบัติและการฟื้นฟูเมือง

ถ้าเมืองหรือชุมชนต้องรับมือกับภัยพิบัติ จำเป็นอย่างยิ่งต้องเกิดความร่วมมือ ทั้งภาคประชาชน เอกชนและภาครัฐ ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นหลายครั้ง จำเป็นต้องมีการฟื้นฟูเมือง

ดร. พลพัฒน์ นิลอุบล หัวหน้าศูนย์วิจัย Water Adaptation Innovation Center (WAIC) เสนอแนวคิดเรื่อง Resilience เมื่อเมืองประสบภัยพิบัติ ก็ต้องมีช่วงเวลาฟื้นฟูเมือง แล้วเราจะปรับตัวอย่างไร และเมื่อไร

‘ดีไซน์’ รับมือกับภัยพิบัติ โลกวิกฤติและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ  “ถ้าเกิดน้ำท่วม เมืองไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ทันที ผมขอยกตัวอย่างโซลูชัน เมื่อเกิดน้ำท่วมปี 2011 สิ่งแรกที่รัฐบาลทำคือ การเตรียมแผนอุโมงค์ยักษ์ หรือบ่อน้ำขนาดใหญ่ แบบนั้นใช้งบประมาณสูง ระยะเวลาการทำโครงการยาวนาน เป็นแนวคิดการบริหารจัดการแบบ Top Down 

ถ้าเป็นโซลูชันชาวบ้านทั่วไปแบบเล็กๆ จะเลือกยกระดับบ้านให้สูงขึ้น แม้จะป้องกันบ้านได้ แต่มวลน้ำยังอยู่ จึงอยากเสนอโครงการขนาดกลาง

ในงานวิจัยของผม ขอยกตัวอย่างพื้นที่เขตลาดกระบังที่มีความเสี่ยงเรื่องภัยพิบัติ ที่นั่นมีทั้งอาคารสภาพเสื่อมโทรมหมดอายุในปี 2050 ถ้ามองภาพรวมผังเมือง มีทั้งพื้นที่ต้องจัดการ และพื้นที่ควรแก้ไข 

หากจะแก้ปัญหาใน 100 ปีข้างหน้า มีวิธีการแก้ปัญหาภัยพิบัติกว่า 100 โซลูชัน มีตัวอย่างให้เห็นในต่างประเทศ อยู่ที่ว่าเราจะแก้ปัญหาน้ำท่วมอย่างไร แทนที่จะแก้ปัญหาด้วยการสร้างเขื่อนใหญ่ๆ ลองปรับทำเรื่องบ่อน้ำในพื้นที่ โดยกำหนดช่วงเวลาการแก้ปัญหา

โซลูชันในหลายประเทศ อย่างเนเธอร์แลนด์ ทำทั้งเรื่องพื้นที่รับน้ำ พื้นที่เก็บน้ำใต้ดิน อาคารกรีนรูฟนำน้ำที่ไหลจากหลังคามาเก็บไว้ในบ่อน้ำใต้ดิน การปรับตัวต้องมองจากสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และมองเห็นอนาคต ”

‘ดีไซน์’ รับมือกับภัยพิบัติ โลกวิกฤติและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

  • ธรรมชาติถูกเสมอ

สาเหตุภัยพิบัติที่เกิดขึ้น ปัญหาใหญ่ๆ มาจากการตัดไม้ ทำลายป่า สร้างเขื่อนเพื่อผลิตพลังงาน นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเร่งทำให้เกิดภัยแล้งอีก เรื่องนี้ ชุตยาเวศ สินธุพันธุ์ Chief Sustainability Officer สถาบันเกษตรกรรมและสถาปัตยกรรมธรรมชาติเพื่อระบบนิเวศเมืองและชนบท (NAATURE) เล่าถึงปัจจัยที่ทำให้โลกเสียสมดุล

 “ปัจจุบันเราพูดถึงอุณหภูมิโลกสูงขึ้น 2 องศาเซลเซียส เร็วกว่าคาดการณ์ไว้กว่า 100 ปี เพราะมนุษย์คิดว่า เหนือกว่าทุกอย่าง ทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้ จำไว้ว่าธรรมชาติถูกเสมอ เพราะธรรมชาติแข่งขันกันเอง ระบบป่าตั้งแต่พื้นดินถึงใต้ดิน

ต่างมีหน้าที่สร้างระบบนิเวศเกื้อกูลซึ่งกันและกันยกตัวอย่าง กระทิงที่เป็นเสมือนผู้รักษาป่า เพราะช่วยกินหญ้า แต่เสือช่วยล่ากระทิง ไม่อย่างนั้นหญ้าตรงนั้นจะถูกกินมากไป ธรรมชาติล้วนมีหน้าที่ของตัวเอง แต่ปัจจุบันธรรมชาติถูกรบกวน”

‘ดีไซน์’ รับมือกับภัยพิบัติ โลกวิกฤติและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ส่วนหนึ่งของงานออกแบบของมูลนิธิความคิดสร้างสรรค์เพื่อรับมือภัยพิบัติ Design for Disasters Foundation (D4D)

เมื่อคนไทยต้องอยู่ร่วมกับปัญหาน้ำท่วม แม้การสร้างบ้านสะเทินน้ำสะเทินบกจะเป็นหนึ่งทางออก แต่ไม่ใช่ทั้งหมด ชุตยาเวศมองเรื่องความเข้าใจธรรมชาติเป็นเรื่องสำคัญ  เฉกเช่นรูปทรงใบไม้ที่มีการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม หรือ มดรวมตัวกันลอยเหนือเป็นแพ

“คนโบราณเข้าใจวิถีธรรมชาติ รู้วิธีประยุกต์สร้างเมืองลอยน้ำ สมัยก่อนกรุงเทพฯ สร้างบ้านบนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ แล้วในอนาคตเราจะไม่เรียนรู้การอยู่ร่วมกับน้ำหรือ เราปรับแม่น้ำลำคลองให้เป็นพื้นที่เก็บกักน้ำได้ไหม เหมือนเมืองซับน้ำ เราต้องรักษาธรรมชาติด้วยธรรมชาติ เราไม่สามารถรักษาธรรมชาติด้วยเทคโนโลยี

การรักษาผืนป่าบนพื้นที่ดอยตุง 900ไร่ให้กลายเป็นป่าสมดุลในธรรมชาติ ไม่ได้เอาต้นไม้ไปปลูกเลย เขาใช้วิธีพัฒนาคนเพื่อดูแลรักษาป่า

ปัญหาใหญ่ทางภาคเหนือคือการดูแลเรื่องน้ำ เมื่อเราสร้างเมืองปิดทางน้ำ จึงเกิดน้ำท่วม เราไปตั้งเมืองในพื้นที่ตกตะกอน เราสร้างถนนขวางทางน้ำ เราต้องเรียนรู้ธรรมชาติและทางไหลของน้ำ เพื่อออกแบบเมืองใหม่ อย่าฝืนธรรมชาติ ต้องเคารพธรรมชาติและต้องเข้าใจ”