เปลี่ยน ‘อคติ’ เป็น ‘โอกาส’ กับ 4 นักขับเคลื่อน ทำอย่างไร?

เปลี่ยน ‘อคติ’ เป็น ‘โอกาส’ กับ 4 นักขับเคลื่อน ทำอย่างไร?

ข้อความสำคัญจากเวทีเสวนาที่มีนักขับเคลื่อนระดับนโยบาย ทั้ง 4 ต้องการจะสื่อสารถึงคนส่วนใหญ่ในสังคม เพื่อลด 'อคติ' และสร้าง 'โอกาส' ให้เกิดขึ้น

สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สํานักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ (สํานัก 9) และ Mutual เชื่อว่า ในสังคมเต็มไปด้วยความแตกต่างหลากหลาย การสร้างความเข้าใจและตระหนักต่อการลดอคติ ต่อประชากรกลุ่มเฉพาะเป็นประเด็นที่ควรถูกกล่าวถึง

จึงได้จัดงาน FACE THE VOICE มองด้วยตา ฟังด้วยใจ ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง สร้างการมีส่วนร่วมให้เกิดขึ้นในสังคมพหุวัฒนธรรม ลดความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพของกลุ่ม ประชากรเฉพาะ ทั้ง 9 

ผู้สูงอายุ, คนพิการ, คนไร้บ้าน, แรงงานนอกระบบ, ประชากรข้ามชาติ, คนที่มีความหลากหลายทางเพศ, ผู้ต้องขัง, กลุ่มชาติพันธุ์, มุสลิม  วันที่ 23-24 พฤศจิกายน 2567 ณ มิวเซียมสยาม กรุงเทพฯ

บนเวทีมีเสวนา Face the Changer เปลี่ยนอคติให้เป็นโอกาส ถอดบทเรียนจาก 4 นักขับเคลื่อนระดับนโยบาย ได้แก่ นพ. โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์, สุชาดา ทวีสิทธิ์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดล, ประสาน อิงคนันท์ ผู้ก่อตั้งเพจ มนุษย์ต่างวัย, ชูวงศ์ แสงคง นักขับเคลื่อนด้านแรงงาน

เปลี่ยน ‘อคติ’ เป็น ‘โอกาส’ กับ 4 นักขับเคลื่อน ทำอย่างไร? Cr. Kanok Shokjaratkul

ภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ รักษาการผู้อํานวยการสํานักงานสนับสนุนประชากรกลุ่มเฉพาะ กล่าวว่า ชื่อของงานนี้ สะท้อนการทำงานส่วนหนึ่งของ สสส. ที่ดูแลรับผิดชอบการพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มเปราะบาง

เปลี่ยน ‘อคติ’ เป็น ‘โอกาส’ กับ 4 นักขับเคลื่อน ทำอย่างไร?

Cr. Kanok Shokjaratkul

เปลี่ยน ‘อคติ’ เป็น ‘โอกาส’ กับ 4 นักขับเคลื่อน ทำอย่างไร? Cr. Kanok Shokjaratkul

"กลุ่มประชากรเฉพาะ มีหลายกลุ่ม สสส. สนใจเรื่องทำยังไงให้คนเข้าถึงสิทธิทางสุขภาพ คนไม่มีสิทธิทำให้เขามีสิทธิ ทำต้นแบบให้เกิดขึ้นในพื้นที่ต่าง ๆ ให้เป็นที่ประจักษ์ว่าคนตัวเล็กตัวน้อยสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนชีวิตของผู้คนได้

เราต้องการสื่อสารส่งเสียงออกไปให้ไกลขึ้น อยากคุยกับคนทั่วไป ความต่างของผู้คน คือความหลากหลาย เป็นพลังที่สำคัญ ถ้ารวมพลังของกลุ่มคนหลากหลายก็น่าจะสร้างการเปลี่ยนแปลงเรื่องใหญ่ ๆ ได้ เลยจัดงานในวันนี้ขึ้นเพื่อเติมเต็มกำลังใจให้มีพลังในการทำงาน เข้าใจความต่างของผู้คนในสังคม"

เปลี่ยน ‘อคติ’ เป็น ‘โอกาส’ กับ 4 นักขับเคลื่อน ทำอย่างไร?

Cr. Kanok Shokjaratkul

  • ความเป็น 'มนุษย์' ทุกคนมีเท่ากัน 

นพ. โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ประธานกรรมการองค์การองค์การกระจายเสียงและเผยแพร่แห่งประเทศไทย กล่าวว่า พี่น้องชาติพันธุ์ในประเทศไทยมี 60 กลุ่ม ลุ่มเจ้าพระยามี 33 กลุ่ม เคลื่อนย้ายเข้ามาอยู่ในที่ต่าง ๆ ทำให้เรามีกลุ่มชาติพันธุ์จำนวนมาก

"ผมทำงานเรื่องคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย เรามีโครงสร้างของความอยุติธรรมเป็นรากเหง้า เวลาทำงานต้องเคลื่อนไปพร้อมกับการสร้างความเข้าใจโครงสร้างไปด้วย

เปลี่ยน ‘อคติ’ เป็น ‘โอกาส’ กับ 4 นักขับเคลื่อน ทำอย่างไร? Cr. Kanok Shokjaratkul

ในสมัยก่อนเขาวัดความเจริญรุ่งเรืองของเมืองจากการมีความหลากหลายชาติพันธุ์เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร แสดงถึงบารมีของผู้ปกครอง

แต่พอรัฐชาติพัฒนาขึ้นมาก็มีตรรกะว่า หนึ่งประเทศหนึ่งเชื้อชาติ คนที่ไม่ได้เป็นคนไทย ก็เลยกลายเป็นคนอื่น มองชนกลุ่มน้อยกลุ่มชาติพันธุ์ว่า เป็นพวกตัดไม้ทำลายป่า, ค้ายาเสพติด, เข้าเมืองผิดกฎหมาย มี 3 ข้อหานี้ติดตัวไปตลอด

เปลี่ยน ‘อคติ’ เป็น ‘โอกาส’ กับ 4 นักขับเคลื่อน ทำอย่างไร? Cr. Kanok Shokjaratkul

เวลาทำงานเรื่องนี้เราต้องทำงานสองขา คือ 1.สร้างความเข้าใจแก่สาธารณะว่าพวกเขามีความเป็นมาเป็นไปยังไง 2. การปรับเปลี่ยนในเชิงโครงสร้าง ถ้าเราไปชี้แจงเขาไม่ฟังหรอก เราต้องสร้างคุณค่าให้เขาเห็น เช่น ทำเวิร์คชอป ให้เด็กเย็บชุดกระเหรี่ยง นำอาหารของเขามาให้ชิม เอาเล่นดนตรีของเขามาเล่นให้ฟัง

ให้เห็นความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน อย่าไปลดทอนเขา เขาต้องต่อสู้กับภัยพิบัติ ต่อสู้กับการรักษาโรคเหมือนกับเรา 3. พูดเรื่องอัตลักษณ์ ลักษณะเฉพาะ 4. อคติ ที่มีต่อกันมีอะไรบ้าง 5. ออกกฎหมาย

เปลี่ยน ‘อคติ’ เป็น ‘โอกาส’ กับ 4 นักขับเคลื่อน ทำอย่างไร?

Cr. Kanok Shokjaratkul

แต่อยู่ ๆ จะมาออกกฎหมายเลยไม่ได้ เราต้องทำ 1-3 ก่อน เขาถึงจะเห็นคุณค่า ในต่างประเทศ เรื่องชาติพันธุ์ เขาจะแทรกลงไปตั้งแต่วัยเด็ก ในนิทาน ในการแสดง ในศิลปะต่าง ๆ 

เราโชคดีที่มี สสส. สำนัก 9 มาดูแลกลุ่มที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ มันเป็นสิ่งที่ดีงาม ไม่ใช่สิ้นหวัง เรายังมีผู้คนที่กระตือรือล้น เราต้องมารวมกัน การเปลี่ยนแปลงใหญ่จะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ  ถ้าเรามีกลไกทำงานเรื่องนี้ก็มาเสริมพลังซึ่งกันและกัน"

เปลี่ยน ‘อคติ’ เป็น ‘โอกาส’ กับ 4 นักขับเคลื่อน ทำอย่างไร?

Cr. Kanok Shokjaratkul

  • ความรุนแรงกับเด็กและสตรี ไม่ใช่ปัญหาส่วนตัว

รศ. ดร. สุชาดา ทวีสิทธิ์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า เราทำงานกับผู้หญิง กลุ่มประชากรเฉพาะ ความรุนแรงในครอบครัว ความรุนแรงทางเพศ

"เช่น ผู้หญิงม้ง ในกลุ่มชาติพันธุ์ ตั้งคำถามกับกฎจารีตพิธีกรรมและปัญหาความรุนแรง, ผู้หญิงมุสลิมใน จ.ชายแดนภาคใต้ เรื่องความรุนแรงในครอบครัว, แรงงานหญิงในสถานประกอบการภาคเอกชน ถูกคุกคามทางเพศ เราจะมีกลไกช่วยเหลือได้อย่างไร

เปลี่ยน ‘อคติ’ เป็น ‘โอกาส’ กับ 4 นักขับเคลื่อน ทำอย่างไร?

Cr. Kanok Shokjaratkul

จากการทำงานมา 9-10 ปี กับ สสส. พบว่า การออกนโยบาย มีการเหมารวม มองไม่เห็นผู้หญิงกลุ่มเฉพาะต่าง ๆ นำมาสู่แผนพัฒนาสุขภาวะผู้หญิงที่ สสส.ดำเนินงานมาตลอด 10 กว่าปี

ผู้หญิง 3 กลุ่มเฉพาะคือ ผู้หญิงมุสลิมชายแดนใต้, ผู้หญิงม้งภาคเหนือ, ผู้หญิงที่เป็นแรงงานในภาคอุตสาหกรรม ต้องเผชิญกับความรุนแรงต่าง ๆ ทั้งในครอบครัว ความรุนแรงทางเพศ การคุกคามทางเพศในที่ทำงาน

เปลี่ยน ‘อคติ’ เป็น ‘โอกาส’ กับ 4 นักขับเคลื่อน ทำอย่างไร? Cr. Kanok Shokjaratkul

การทุบตีทำร้ายเด็กและผู้หญิง ยังเป็นปัญหาใหญ่ แม้ว่าประเทศไทยจะมี พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัวมาตั้งแต่ปี 50 แต่สถานการณ์ความรุนแรงไม่ได้ลดลงเลย เราต้องทำงานผลักดันขับเคลื่อนกลไกที่มันอยู่เหนือระดับให้มากที่สุด

ความรุนแรงต่อเด็กและสตรี ไม่มีลดลงเลยทั่วโลก เลยกลายเป็นวาระสำคัญของโลก และของรัฐบาลทุกประเทศ ที่เป็นสมาชิกอยู่ในองค์การสหประชาชาติ

เปลี่ยน ‘อคติ’ เป็น ‘โอกาส’ กับ 4 นักขับเคลื่อน ทำอย่างไร?

Cr. Kanok Shokjaratkul

ช่องว่างความเสมอภาคระหว่างเพศ จาก 146 ประเทศ ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 65 อันดับแรกคือ ฟินแลนด์ ตัวชี้วัด คือ 1.โอกาสทางการศึกษาของผู้หญิง 2.โอกาสทางด้านเศรษฐกิจ การประกอบอาชีพของผู้หญิง 3.โอกาสในการมีชีวิตรอด 4. โอกาสได้รับการบริการสาธารณสุข

ประเทศไทยความเท่าเทียมทางเพศดีขึ้นแล้ว แต่ปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิงกลับไม่ลดลง ในปี 66 ศูนย์ฮอตไลน์ 1300 มีแจ้งเข้ามา 38 รายต่อวัน ปี 67 เพิ่มเป็น 42 รายต่อวัน สถิติข้อมูลคดีที่ผู้หญิงถูกกระทำเพิ่มขึ้นทุกปี

เปลี่ยน ‘อคติ’ เป็น ‘โอกาส’ กับ 4 นักขับเคลื่อน ทำอย่างไร? Cr. Kanok Shokjaratkul

ผู้หญิงต้องไม่อดทนอดกลั้นต่อความรุนแรงซ้ำซาก ต้องให้โอกาสตัวเองที่จะออกจากความรุนแรงให้ได้

คนส่วนใหญ่วางเฉย เพราะเห็นเป็นเรื่องผัวเมีย เรื่องในครอบครัว แต่มีคนเจ็บจริงตายจริง ผู้หญิงมุสลิมถ้าจะหย่าต้องไปคุยกับโต๊ะอิหม่ามประจำหมู่บ้าน โต๊ะอิหม่ามพูดว่าถ้ามาขอหย่าจะให้ไปละหมาดเพิ่ม แสดงว่าคุณปฏิบัติศาสนกิจยังไม่เพียงพอ

ขณะที่ผู้หญิงม้ง แต่งงานแล้วพบความรุนแรงในครอบครัวก็ห้ามกลับบ้าน พ่อแม่มองลูกสาวเป็นแขกที่มาเยือน เป็นสมบัติของครอบครัวอื่น

เปลี่ยน ‘อคติ’ เป็น ‘โอกาส’ กับ 4 นักขับเคลื่อน ทำอย่างไร?

Cr. Kanok Shokjaratkul

แม้ผู้หญิงจะไม่ปฏิบัติตามสังคมที่ยัดเยียดให้ คุณก็ไม่มีสิทธิ์ไปทุบตีทำร้ายร่างกายเขา ต่อให้เขาไม่มีรายได้อยู่กับบ้านทำงานบ้านเลี้ยงลูก ถึงคุณให้เงินเดือนเขาแสนสองแสนก็ไม่มีสิทธิ์ไปทุบตีเมียคุณ หรือคิดว่าคุณเป็นเจ้าของเขา

การเปลี่ยนแปลงทัศนะแบบนี้ในสังคมมันค่อนข้างยาก งานช่วยเหลือผู้หญิงที่ประสบความรุนแรง เราต้องเอ็มพาวเวอร์ผู้หญิง ให้เขาเดินออกจากปัญหา ให้เขาฟ้องร้อง

ต่อให้มีกฎหมาย แต่ถ้าทัศนะและอคติไม่เปลี่ยน ผู้ปฏิบัติตามกฎหมายก็ไม่รับแจ้งความ บอกว่าเดี๋ยวก็ดีกัน นี่คือวิธีคิดที่เป็นปัญหาใหญ่

เปลี่ยน ‘อคติ’ เป็น ‘โอกาส’ กับ 4 นักขับเคลื่อน ทำอย่างไร? Cr. Kanok Shokjaratkul

เราต้องเข้าใจว่า ความรุนแรงกับเด็กและผู้หญิง ไม่ใช่ปัญหาส่วนตัว 

เครือข่ายผู้หญิงม้ง เข้ามาคุย รื้อฟื้นพิธีกรรมรับลูกสาวกลับบ้านขึ้นมา พิธีกรรมนี้มีอยู่แล้วแต่ถูกละทิ้งหายไป เราก็จัดวงพูดคุยกระจายไปในหลาย ๆ แซ่ตระกูลของม้ง

เราต้องทำให้เขาเห็นว่า นี่ไม่ใช่ปัญหาของผู้หญิง แต่เป็นเรื่องชุมชน แล้วให้เขาอาสาเข้ามาหาวิธีการจัดการปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ด้วยตัวของเขาเอง"

เปลี่ยน ‘อคติ’ เป็น ‘โอกาส’ กับ 4 นักขับเคลื่อน ทำอย่างไร?

Cr. Kanok Shokjaratkul

  • ขาดฉันแล้วเธอจะรู้สึก : แรงงานข้ามชาติ

ชูวงศ์ แสงคง นักขับเคลื่อนด้านแรงงาน และแรงงานข้ามชาติ ในประเทศไทย กล่าวว่า คำว่า แรงงานข้ามชาติ หมายถึง เมียนมา, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม

"กลุ่มนี้ได้รับการผ่อนผันให้เข้ามาทำงานในงานต้องห้ามที่ห้ามไม่ให้คนต่างชาติทำ จากการรายงานตัวกับกระทรวงแรงงานเดือนตุลาคมที่ผ่านมา มีจำนวน 3,000,000 เศษ ไม่นับผู้ติดตาม 

เปลี่ยน ‘อคติ’ เป็น ‘โอกาส’ กับ 4 นักขับเคลื่อน ทำอย่างไร? Cr. Kanok Shokjaratkul

อคติที่มีต่อแรงงานข้ามชาติ คือ 1.เขามาแย่งงานคนไทย แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่ งานยาก, งานสกปรก, งานเสี่ยง 3 อย่างนี้คนไทยไม่ทำ แต่ภาคธุรกิจยังต้องการแรงงานส่วนนี้อยู่ มติครม.หลังสุดจึงต้องขยายเพื่อให้ภาคธุรกิจมีแรงงานมากพอ ไม่ใช่เพื่อให้แรงงานอยู่ในประเทศไทย

2.ไม่จ่ายภาษี เขาต้องจ่าย 3,100 กว่าบาทต่อปี ค่าใบอนุญาตทำงานค่าประกันสุขภาพค่าวีซ่า กลุ่มไหนไม่เข้าระบบประกัน ต้องจ่ายเพิ่มอีก 3,600 เป็น 6,000 บาท ยังไม่รวมค่าอื่น ๆ

เปลี่ยน ‘อคติ’ เป็น ‘โอกาส’ กับ 4 นักขับเคลื่อน ทำอย่างไร? Cr. Kanok Shokjaratkul

ภาษีเป็นเรื่องที่นายจ้างต้องหักเงินจากลูกจ้างเมื่อตอนรับเงินเดือน เข้าใจว่ารายได้ของเขาไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องจ่ายภาษี ซึ่งต้องไปถามนายจ้างเอง เพราะภาษีเป็นเรื่องนายจ้าง

3.ทำร้ายนายจ้าง จริง ๆ ไม่ใช่เฉพาะคนต่างชาติ ทุกสังคมมีทั้งคนไม่ดี แต่ข่าวไม่ดีไปได้ไกลกว่า

เปลี่ยน ‘อคติ’ เป็น ‘โอกาส’ กับ 4 นักขับเคลื่อน ทำอย่างไร?

Cr. Kanok Shokjaratkul

ที่ผมทำงานกับแรงงานต่างชาติ 1. เพื่อปกป้องเรา ลูกหลานแรงงานไม่ได้เรียนหนังสือ เรายินดีไหมที่พวกเขามาอยู่ร่วมชุมชน การให้เขาได้รับการศึกษาเป็นการช่วยเรา ทำให้เขามีใบเกิด ยืนยันว่าเขาไม่ใช่คนไทย ไม่ได้ให้สัญชาติไทย การทำระบบไว้ตั้งแต่ต้นจะทำให้ปัญหาน้อยลง

2. จะทำเองหรือให้เขาทำ ก็เลยมีระบบอาสาสมัครขึ้นมา จะทำยังไงให้กลุ่มนี้ทำงานต่อเนื่องได้ ไม่ต้องต่ออายุเรื่อย ๆ ผมเองก็ยังต้องต่ออายุทำงานเลย 

เมื่ออาสาสมัครแรงงานต่างชาติทำงานประกบคู่กับคนไทย เราก็อยู่ด้วยกันได้ เพราะคนที่ทำความผิดซ้ำ ๆ จะย่ามใจ ปัญหาก็จะมาถึงเราได้"

เปลี่ยน ‘อคติ’ เป็น ‘โอกาส’ กับ 4 นักขับเคลื่อน ทำอย่างไร?

Cr. Kanok Shokjaratkul

  • คนแก่แล้ว 'ศักยภาพ' หายไปไหม ?

ประสาน อิงคะนันท์ ประธานกรรมการผู้จัดการบริษัทบุญมีฤทธิ์มีเดีย จำกัด ผู้ก่อตั้งเพจ มนุษย์ต่างวัย กล่าวว่า เราไม่ได้ทำเฉพาะคนเกษียณหรือคนมีอายุ เราทำเรื่องทัศนคติมากกว่า

"มนุษย์ต่างวัย เป็นสื่อออนไลน์ที่ทำเรื่อง Aging Society (สังคมผู้สูงอายุ) ทำเรื่องทัศนคติที่คนมีอายุมีต่อตัวเอง รวมถึงคนในเจนเนอเรชั่นอื่น ๆ ที่มีต่อกลุ่มผู้สูงอายุด้วย มีเรื่องช่องว่างระหว่างวัย

เปลี่ยน ‘อคติ’ เป็น ‘โอกาส’ กับ 4 นักขับเคลื่อน ทำอย่างไร?

ถ้าจะทำให้สังคมสูงวัยมีคุณภาพได้ต้องเชื่อมโยงไปถึงทุกเจนเนเรชั่น เพจของเรามีอยู่ในทุกแพลตฟอร์ม

ในการทำงาน แรก ๆ เราก็หาทำด้วยตัวเอง อาศัยทักษะการเป็นคนเล่าเรื่อง ทำเรื่องคนแก่ แต่ไม่ได้พูดเรื่องคนแก่ทั้งหมด เบื้องหลังลึก ๆ คุยกันเรื่องอคติ เรื่องทัศนคติ

เปลี่ยน ‘อคติ’ เป็น ‘โอกาส’ กับ 4 นักขับเคลื่อน ทำอย่างไร? Cr. Kanok Shokjaratkul

ช่วงก่อนหน้านั้นการเมืองของคนต่างวัยกำลังเข้มข้น มีคำว่า ฟันน้ำนม, ไดโนเสาร์, มนุษย์ป้า, มนุษย์ลุง เราก็เอามาผนวกรวมกับ Aging Society สังคมผู้สูงวัย

นอกจากอคติที่คนมองแล้ว อคติในใจเรา เรามีอายุแล้ว เราแก่แล้ว เรามองตัวเรายังไง ศักยภาพเราควรจะหายไปหรือเปล่า ก็เลยเป็นคีย์หลักในการขึ้นประเด็น

เปลี่ยน ‘อคติ’ เป็น ‘โอกาส’ กับ 4 นักขับเคลื่อน ทำอย่างไร? Cr. Kanok Shokjaratkul

เราต้องทำให้มันแมส และอยู่ได้ในโลกออนไลน์ด้วย ถ้าทำเชิงนโยบายอย่างเดียว ก็อยู่ไม่รอด แล้วแทรกการมองวัย

กลุ่มที่เราจะเชื่อมโยงได้ดีสุด คือ กลุ่มลูก เราจะสื่อสารกับคนกลุ่มลูกด้วย กลุ่มเจนเอ็กซ์ กลุ่มเจนวาย

เปลี่ยน ‘อคติ’ เป็น ‘โอกาส’ กับ 4 นักขับเคลื่อน ทำอย่างไร?

Cr. Kanok Shokjaratkul

ที่ผ่านมาสนุกกับการทำเรื่องคน ก็ทำต่อไป เราต้องเลือกอะไรที่เราอยู่กับมันได้นาน ๆ ตอนแรกก็ลังเลว่าเรื่องแบบนี้มันจะยาวได้ไหม พอทำไปเรื่อย ๆ มันใกล้ตัว เวลาคิดประเด็น ก็มองปัญหาจากในบ้าน จากชีวิตตัวอง จากชีวิตเพื่อนฝูง"