แยกประเภทแมงกะพรุนพิษ น่านน้ำไทย เที่ยวทะเล 2567 ต้องระวังอันตรายถึงชีวิต
แยกประเภทแมงกะพรุนพิษ น่านน้ำไทย "เที่ยวทะเล 2567" ลงทะเลต้องระวังพิษร้ายอันตรายถึงชีวิต มักอาศัยทะเลน้ำตื้น ทั่วโลกมีแมงกะพรุนมากกว่า 9,000 สายพันธุ์ - มากกว่า 100 สายพันธุ์มีพิษ หากโดนพิษอาการจะเป็นอย่างไร รู้แล้วปฐมพยาบาลให้ทันลดความเจ็บปวดพิษเข้าสู่ร่างกาย
อากาศร้อนแบบนี้เล่นน้ำทะเลคงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกคลายร้อนสำหรับนักเที่ยวเที่ยวหลายๆคน แต่เมื่อเที่ยวทะเลแล้วเจอแมงกะพรุนเราต้องทำยังไง? แมงกะพรุนตัวนี้มีพิษหรือไม่มีพิษ..
เราเลยชวนมาแยกประเภทแมงกะพรุนพิษ ในน่านน้ำไทย ก่อน "เที่ยวทะเล 2567" ลงทะเลต้องระวังพิษร้ายอันตรายถึงชีวิต ที่มักอาศัยในทะเลน้ำตื้นทั่วโลกมีแมงกะพรุนมากกว่า 9,000 สายพันธุ์ และมากกว่า 100 สายพันธุ์มีพิษต่อมนุษย์ หากโดนพิษอาการจะเป็นอย่างไร รู้แล้วปฐมพยาบาลให้ทันลดความเจ็บปวดพิษเข้าสู่ร่างกาย
ทำความรู้จักแมงกะพรุนน่านน้ำไทย
ทั่วโลกมีแมงกะพรุนมากกว่า 9,000 สายพันธุ์ และมากกว่า 100 สายพันธุ์มีพิษต่อมนุษย์ มีการแพร่กระจายอยู่ทั่วโลก ตั้งแต่บริเวณผิวน้ำจนถึงทะเลลึก ส่วนใหญ่ดำรงชีวิตในทะเลบริเวณน้ำตื้น
จำแนกประเภทแมงกะพรุนพิษ ในน่านน้ำไทย
แมงกะพรุนพิษ ในน่านน้ำไทยทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ระหว่างปี พ.ศ. 2553 - 2564 แมงกะพรุนพิษที่พบในประเทศไทย จำแนกประเภทตามลักษณะความเป็นพิษได้ 5 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 แบงกะพรุนกล่อง ไทยพบจำนวน 3 ชนิด
- วงศ์ Chirodropidae ลักษณะอาการ : พิษส่งผลต่อกล้ามเนื้อหัวใจ ระบบไหลเวียนเลือดในปอดและระบบประสาท
กลุ่มที่ 2 แมงกะพรุนกล่อง ไทยพบจำนวน 2 ชนิด
- วงศ์ Carukiidae ลักษณะอาการ : ปวดอย่างรุนแรงและ อาจทําให้จมนํ้าได้
กลุ่มที่ 3 แมงกะพรุนกล่อง ไทยพบจำนวน 1 ชนิด
- วงศ์ Chiropsalmidae ลักษณะอาการ : ปวดแสบปวดร้อนเป็นผื่นแดง
กลุ่มที่ 4 แมงกะพรุนหิวขาด ไทยพบจำนวน 1 ชนิด
- วงศ์ Physaiidae พบจํานวน 2 ชนิด ลักษณะอาการ : แน่นหน้าอก หายใจลำบาก
กลุ่มที่ 5 แมงกะพรุนไฟ ไทยพบจำนวน 2 ชนิด
- วงศ์ Pelagidae ลักษณะอาการ : ปวดแสบปวดร้อน
อาการโดนพิษแมงกะพรุนเป็นอย่างไร?
การสัมผัสแมงกะพรุนพิษทำให้บาดเจ็บได้ในหลายระดับขึ้นอยู่กับชนิดของแมงกะพรุนพิษและปริมาณพิษที่ได้รับ
ทั้งนี้บริเวณที่สัมผัสมีอาการได้หลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่รู้สึกคัน มีผื่นเล็กน้อย ปวดแสบปวดร้อนบริเวณที่สัมผัสหรือได้รับพิษ ไปจนถึงทำให้หัวใจหยุดเต้นหรือระบบหายใจล้มเหลว
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นพิษแมงกะพรุน พิษร้ายอันตรายถึงชีวิต
- เมื่อสัมผัสพิษแมงกะพรุนให้ขึ้นจากน้ำทันที เพราะอาจมีอาการแพ้รุนแรงตามมาจนอาจทำให้จมน้ำได้
- ใช้น้ำส้มสายชูราดบริเวณแผล ถ้ามีไม่มีให้ล้างด้วยน้ำทะเลไม่ควรล้างโดยน้ำเปล่าหรือของเหลวชนิดอื่น
- ห้ามถูหรือสัมผัสบริเวณแผลด้วยมือเปล่าเพราะยังอาจมีเข็มพิษติดค้างอยู่
- หากไม่มีอาการหรืออาการไม่รุนแรง ควรสังเกตอาการอย่างน้อย 1 ชั่วโมง เพราะอาจมีอาการแพ้ตามมาภายหลังได้
- หากมีอาการแพ้รุนแรง เช่น อาการหอบ หรือหายใจไม่ออก ควรเรียกรถพยาบาล โทร. 1669 เพื่อไปโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด
- หากผู้ถูกพิษหมดสติหรือหัวใจหยุดเต้น ควรกู้ชีวิตโดยการกดหน้าอก และช่วยหายใจทันที
อ้างอิง-ภาพ : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง , อ.นพ.นรวิชญ์ กิจไพศาลรัตนา ฝ่ายเวชศาสตร์ฉุกเฉิน , โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย