เปิดโฉม ไก่ฟ้าขนาดใหญ่ 'นกหว้า' พญาระกาป่าแดนใต้ นกประจำถิ่น พบเห็นได้ยาก
เปิดโฉม ไก่ฟ้าขนาดใหญ่ "นกหว้า" พญาระกาป่าแดนใต้ นกประจำถิ่น เห็นได้ยาก ที่อุทยานแห่งชาติเขาสก อาศัยอยู่ตามป่าทึบและป่าลึก ขี้อายเป็นหนึ่ง หาดูยาก รักความสันโดด ตัวผู้สร้าง "ลานนกหว้า" ประกาศอาณาเขต ไว้สำหรับให้ตัวเมียเข้ามาผสมพันธุ์ "เกี้ยวพาราสี" ด้วยการแพนปีก
ไก่ฟ้าขนาดใหญ่ เข้าแล้ว ชวนมาเปิดโฉม ทำความรู้จักกับ "นกหว้า" พญาระกาป่าแดนใต้ นกประจำถิ่น เห็นได้ยากที่ อุทยานแห่งชาติเขาสก อาศัยอยู่ตามป่าทึบและป่าลึก ขี้อายเป็นหนึ่ง หาดูยาก รักความสันโดด ตัวผู้สร้าง "ลานนกหว้า" ประกาศอาณาเขต ไว้สำหรับให้ตัวเมียเข้ามาผสมพันธุ์ "เกี้ยวพาราสี" ด้วยการแพนปีก
"นกหว้า" พญาระกาแห่งป่าแดนใต้ (Argusianus argus)
นกหว้า เป็นไก่ฟ้าขนาดใหญ่ มักอาศัยอยู่ตามป่าทึบและป่าลึก เป็นนกขี้อาย ไม่ชอบให้ใครพบเห็น ตัวผู้และตัวเมียมีเสียงร้องแตกต่างกัน จะได้บินเสียงร้องทั้งหลางวันและกลางคืน มีเสียงร้องดังมาก
จึงมักได้ยินเสียงร้องมากกว่าเห็นตัว เสียงที่ร้องดัง “ว้าว ว้าว” บางครั้งร้องได้ถึง 30 ครั้ง ได้ยินไปทั่วป่า ปกติชอบอยู่โดดเดี่ยว นอกจากในฤดูผสมพันธุ์
ตัวผู้สร้าง "ลานนกหว้า" ประกาศอาณาเขต ไว้ให้ตัวเมียเข้ามาผสมพันธุ์
ตัวผู้มีอุปนิสัยป้องกันอาณาเขตโดยเฉพาะบริเวณที่เรียกว่า “ลานนกหว้า” ซึ่งเป็นพื้นที่เกือบจะเป็นวงกลาม รัศมี 6 - 8 เมตร
โดยนกหว้าจะทำความสะอาดด้วยการเก็บหรือจิกเศษใบไม้ออกจากบริเวณนี้ ตลอดเวลา ด้วยอุปนิสัยดังกล่าวจึงถูกพรานพื้นเมืองล่าได้ง่าย
ตัวเมียจะอยู่โดดเดี่ยวไม่มีลานดังกล่าวเหมือนกับตัวผู้ แต่จะไปที่ลานเพื่อผสมพันธุ์ ซึ่งตัวผู้จะเกี้ยวพาราสีด้วยการแพนปีก คล้ายนกยูงแพนหาง กินอาหารตอนกลางวัน ผสมพันธุ์ตลอดทั้งปี ยกเว้นในช่วงฤดูฝนซึ่งมีฝนกตกหนัก
ถิ่นอาศัยของ"นกหว้า"
มีถิ่นอาศัยในเกาะสุมาตรา บอร์เนียว เทือกเขาตะนาวศรี โดยในประเทศไทยพบทางภาคใต้ตั้งแต่ประจวบคีรีขันธ์ลงไปตลอดแหลมมลายู
เป็นนกประจำถิ่นซึ่งค่อนข้างหายาก ป่าทึบ ป่าดงดิบชื้น ในระดับเชิงเขา จนกระทั่งความสูง 900 เมตร จากระดับน้ำทะเล
นกหว้า พบเจอได้ที่ป่าไหนในประเทศไทย
นกหว้าสามารถพบเจอได้ในอุทยานแห่งชาติเขาสก เนื่องด้วยในพื้นที่เป็นป่าดิบชื่นที่มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นป่าฝนที่มีสภาพอากาศและสภาพแวดล้อมเหมาะแก่การอาศัย
มีแหล่งอาหารสมบูรณ์ นักเดินป่ามักพบเจอลานนกหว้าอยู่บ่อยครั้งแม้จะไม่พบตัวของมัน เนื่องจากมันเป็นนกที่รักความสันโดดนั่นเอง
อ้างอิง-ภาพ : ส่วนสัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช , องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย , ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช