ราชกิจจาฯ ประกาศ ผ่อนคลายมาตรการเดินทางเข้าไทย เพื่อประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ

ราชกิจจาฯ ประกาศ ผ่อนคลายมาตรการเดินทางเข้าไทย เพื่อประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ

ราชกิจจาฯ ประกาศล่าสุด ผ่อนคลายมาตรการเดินทางเข้าราชอาณาจักรไทย เพื่อประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว ชี้โควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน สาธารณสุขสามารถบริหารสถานการณ์ได้

เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2565 เว็บไซต์ "ราชกิจจานุเบกษา" เผยแพร่ คําสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 9/2565 เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกําหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 25)

 

 

ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติในการประชุมเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2565 ให้ขยาย ระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรออกไปตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2565 จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 โดยมีคําสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 24/2564 เรื่อง แนวปฏิบัติ ตามข้อกําหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 19) ลงวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2564

 

คําสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 25/2564 เรื่อง แนวปฏิบัติ ตามข้อกําหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 20) ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2564 คําสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 2/2565 เรื่อง แนวปฏิบัติ ตามข้อกําหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 21) ลงวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2565

 

คําสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 4/2565 เรื่อง แนวปฏิบัติ ตามข้อกําหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 22) ลงวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2565

 

 

คําสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 5/2565 เรื่อง แนวปฏิบัติ ตามข้อกําหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 23) ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

 

และคําสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 7/2565 เรื่อง แนวปฏิบัติ ตามข้อกําหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 24) ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2565 นั้น

 

โดยที่ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. ได้ออกคําสั่งเพื่อกําหนดมาตรการป้องกันโรคให้เหมาะสมต่อสถานการณ์การแพร่ระบาด ของไวรัสโคโรนา 2019 กลายพันธุ์ สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ที่สามารถแพร่กระจายและมีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ แต่ผู้เข้ารับการรักษาที่เป็นผู้ป่วยอาการรุนแรงทั้งระดับวิกฤต และระดับป่วยหนักยังอยู่ในขีดความสามารถที่ฝ่ายสาธารณสุขสามารถบริหารสถานการณ์ได้

 

ประกอบกับข้อมูลที่ฝ่ายสาธารณสุขได้รายงานว่า ผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ หรือเดินทางเข้ามาในพื้นที่นําร่องด้านการท่องเที่ยว แม้จะตรวจพบผู้ติดเชื้ออยู่บ้างแต่ก็มีจํานวนน้อย และสามารถควบคุมได้ จึงมิได้เป็นปัจจัยที่มีผลให้การติดเชื้อในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ทั่วโลกที่หลายประเทศได้เริ่มมีการผ่อนคลายมาตรการป้องกันและควบคุมโรค และเปิดประเทศควบคู่ไปกับการส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

 

จึงเห็นควรปรับมาตรการป้องกันโรคให้มีความเหมาะสม เพื่อให้การดําเนินการตามข้อกําหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและการขยาย ระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าว และตามคําสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 5/2563 เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ลงวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2563 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นไปอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์

 

อาศัยอํานาจตามความในข้อ 4 (2) ของคําสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 4/2563 เรื่อง แต่งตั้งผู้กํากับ การปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ลงวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2563 และที่แก้ไขเพิ่มเติม นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้อํานวยการศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด-19 จึงมีคําสั่งให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินและพนักงานเจ้าหน้าที่ ดําเนินการให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันโรค ดังต่อไปนี้

 

ข้อ 1 ให้ยกเลิกคําสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 7/2565 เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกําหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 24) ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2565

 

ข้อ 2 เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 มิให้เกิดการแพร่ระบาด ในราชอาณาจักร และเพื่อให้มาตรการและหลักเกณฑ์สําหรับผู้เดินทางเข้าในราชอาณาจักรมีความสอดคล้อง กับสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน จึงให้กําหนดมาตรการป้องกันโรค และหลักเกณฑ์การดําเนินการในสถานที่กักกันซึ่งทางราชการกําหนด สําหรับผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร 3 ประเภท ได้แก่

 

(1) ผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งแสดงหลักฐานรับรองการได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ครบตามเกณฑ์ที่ผู้ผลิตวัคซีนหรือที่ทางราชการกําหนด (Vaccinated Persons)

(2) ผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งมิได้แสดงหลักฐานรับรองการได้รับวัคซีนป้องกัน โรคโควิด-19 ครบตามเกณฑ์ที่ผู้ผลิตวัคซีนหรือที่ทางราชการกําหนด (Unvaccinated / Not Fully Vaccinated Persons)

(3) ผู้มีเหตุยกเว้นที่นายกรัฐมนตรีหรือหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน กําหนด อนุญาต หรือเชิญเข้ามาในราชอาณาจักรตามความจําเป็นโดยกําหนดหลักเกณฑ์ และเงื่อนไข สําหรับผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรทุกประเภท ตามแนบท้ายคําสั่งนี้

 

ข้อ 3 ให้ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงมหาดไทย (ศบค.มท.) กํากับดูแล ประสานงาน และบูรณาการการปฏิบัติงานของพนักงาน เจ้าหน้าที่และผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อให้การเดินทางเข้าราชอาณาจักร ณ ช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศ ทางบกผ่านจุดผ่านแดนถาวร เป็นไปด้วยความเรียบร้อย สอดคล้องกับมาตรการที่ ศบค. มีมติเห็นชอบแล้ว และเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขสําหรับผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรตามแนบท้ายคําสั่งนี้

 

ข้อ 4 ให้หลักฐานการลงทะเบียนการเดินทางเข้าราชอาณาจักรซึ่งผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรได้ดําเนินการเป็นไปตามที่ศูนย์ปฏิบัติการมาตรการเดินทางเข้าออกประเทศและการดูแล คนไทยในต่างประเทศ (ศปก.กต.) กําหนด ตามคําสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 7/2565 เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกําหนดออกตาม ความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 24) ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2565

 

และบรรดาคําสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ได้ประกาศไว้ก่อนหน้านี้ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไป โดยผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรนั้นต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขสําหรับผู้เดินทางเข้ามา ในราชอาณาจักรตามแนบท้ายคําสั่งนี้

 

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคําสั่งเปลี่ยนแปลง เป็นอย่างอื่น

 

สั่ง ณ วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2565

 

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

นายกรัฐมนตรี

ผู้อํานวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19

 

อ่านประกาศราชกิจจานุเบกษาฉบับเต็ม คลิกที่นี่