เปิด "10 ที่สุด" ข้อมูลเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.-ส.ก. 22 พ.ค.65

เปิด "10 ที่สุด" ข้อมูลเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.-ส.ก. 22 พ.ค.65

เปิดข้อมูล "10 ที่สุด" เลือกตั้ง "ผู้ว่าฯกทม.-ส.ก." วันอาทิตย์ที่ 22 พ.ค.65 กับงบประมาณใช้จัดเลือกตั้งเท่าใด เช็ครายละเอียดที่นี่!

วันอาทิตย์ที่ 22 พ.ค.2565 จะถึงวันเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร(ส.ก.) ระหว่างเวลา 08.00-17.00 น. ซึ่งขณะนี้ผู้สมัครเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ทั้งหมด กำลังลุ้นถึงผลเลือกตั้งภายหลังเวลาปิดหีบในวันอาทิตย์ที่ 22 พ.ค.2565 

แต่สำหรับข้อมูลพื้นฐานการจัดเลือกตั้งสนาม กทม.ครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกที่มีเวลาลงคะแนนที่ 9 ชั่วโมง ตั้งแต่ช่วงเวลา 08.00-17.00 น. และเป็นการจัดเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. และส.ก.ที่มีขึ้นในวันเดียวกันกับผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งบัตร 2 ใบมากกว่า 4.3 ล้านคน 

"กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" รวมรวมข้อมูลที่น่าสนใจในการเลือกตั้งสนาม กทม.วันอาทิตย์ที่ 22 พ.ค.2565 ดังนี้

1.จำนวนประชากรในกรุงเทพฯ 

• 5,515,145 คน (ข้อมูล ณ 30 เม.ย.65)

- เพศชาย 2,585,116 คน 

- เพศหญิง 2,929,929 คน

2.จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

• สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร 4,357,093 คน

- เพศชาย 1,928,570 คน

- เพศหญิง 2,374,523 คน

- เขตที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งมากที่สุด ได้แก่ เขตสายไหม จำนวน 161,106 คน

- เขตที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งน้อยที่สุด ได้แก่ เขตสัมพันธวงศ์ จำนวน 17,018  คน

• ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 4,402,941 คน

- เพศชาย 2,004,518 คน

- เพศหญิง 2,398,423 คน

- เขตที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งมากที่สุด ได้แก่ เขตสายไหม จำนวน 163,082 คน

- เขตที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งน้อยที่สุด ได้แก่ เขตสัมพันธวงศ์ จำนวน 17,099 คน

3.จำนวนเขตเลือกตั้ง

• สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร มีจำนวน 50 เขตเลือกตั้ง

• ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีจำนวน 1 เขตเลือกตั้ง

4.จำนวนบ้าน 1,705,337 หลัง

- เขตที่มีจำนวนบ้านมากที่สุด ได้แก่ เขตสายไหม จำนวน 67,187 หลัง

- เขตที่มีจำนวนบ้านน้อยที่สุด ได้แก่ เขตสัมพันธวงศ์ จำนวน 5,737 หลัง

5.จำนวนหน่วยเลือกตั้ง 6,817 หน่วย

- เป็นอาคาร 2,956 หน่วย

- เป็นเต็นท์ 3,861 หน่วย

- เขตที่มีจำนวนหน่วยเลือกตั้งมากที่สุด ได้แก่ เขตคลองสามวา จำนวน 247 หน่วย

- เขตที่มีจำนวนหน่วยเลือกตั้งน้อยที่สุด ได้แก่ เขตสัมพันธวงศ์ จำนวน 26 หน่วย

6.จำนวนผู้สมัครรับเลือกตั้ง

• สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร จำนวน 382 คน

- สังกัดพรรคการเมือง 308 คน

- สังกัดกลุ่มการเมือง (กลุ่มรักษ์กรุงเทพ) 38 คน

- อิสระ 36 คน

- ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำท้องถิ่นกรุงเทพมหานครไม่รับสมัคร และผู้สมัครไม่ยื่นอุทธรณ์

คำสั่งให้รับสมัคร จำนวน 1 ราย ได้แก่ นางสาวณัฐวีณ์ เปาชัย หมายเลข 7 เขตบางนา

- ศาลปกครองกลางมีคำสั่งทุเลาการบังคับให้รับสมัครรับเลือกตั้ง จำนวน 1 ราย ได้แก่ นายพีรพล กนกวลัย หมายเลข 7 เขตพญาไท

- อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จำนวน 1 ราย ได้แก่ นายสมเกียรติ ปานดำ หมายเลข 2 เขตสะพานสูง

- อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการการเลือกตั้ง จำนวน 1 รายได้แก่นายเอนก ตุ้มน้อย หมายเลข 7 เขตตลิ่งชัน

- เสียชีวิต จำนวน 1 ราย ได้แก่ นางพรพิมล คงอุดม เขตบางซื่อ หมายเลข 2 

• ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จำนวน 31 ราย

- สังกัดพรรคการเมือง 6 คน

- อิสระ 25 คน

- ศาลปกครองกลางมีคำสั่งทุเลาการบังคับให้รับสมัครรับเลือกตั้ง จำนวน 1 ราย ได้แก่ นายไกรเดช บุนนาค หมายเลข 19 

- คณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติให้ถอนการสมัคร จำนวน 1 ราย ได้แก่ นายสราวุธ เบญจกุล หมายเลข 28 

7.งบประมาณสำหรับการเลือกตั้ง 

• 343,646,370 บาท

8.บุคลากรที่ใช้สำหรับการจัดการเลือกตั้ง 

• 167,298 คน ประกอบด้วย คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งจำนวน 61,353 คน เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย จำนวน 13,634 คน ผู้ช่วยเหลือการปฏิบัติงานประจำหน่วยเลือกตั้ง ในการตรวจวัด คัดกรองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน 13,822 คน เจ้าหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยในวันเลือกตั้ง จำนวน 405 คน ข้าราชการ กทม. และบุคลากรืกทม.ที่ได้รับการแต่งตั้ง เป็นอนุกรรมการช่วยเหลือ คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร และผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร จำนวน 78,272 คน

9.บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ

• สีน้ำตาล เลือกผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 

• สีชมพู เลือกสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร

10.ข้อปฏิบัติผู้ติดเชื้อโควิดเข้าคูหาเลือกตั้ง

- เตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น เจลแอลกอฮอล์ ปากกาส่วนตัวสำหรับใช้ลงทะเบียนและกาบัตรเลือกตั้ง 

- สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา เมื่อออกจากบ้านหรือสถานที่กักตัวและขณะอยู่ในหน่วยเลือกตั้ง 

- หลีกเลี่ยงการใช้บริการขนส่งสาธารณะโดยไม่จำเป็น แนะนำให้เดินทางโดยใช้รถยนต์ส่วนตัว หรือนั่งรถที่หน่วยงานท้องถิ่นมีการจัดเตรียมไว้เท่านั้น 

- เว้นระยะห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 1 เมตร 

- ปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด ให้ออกจากบ้านหรือสถานที่กักตัว เพื่อไปเลือกตั้งตามช่วงเวลาที่กำหนดไว้ และเข้าคูหาสำหรับผู้ติดเชื้อโควิดเท่านั้น 

- ทำการหย่อนบัตรเอง ภายใต้การกำกับดูแลของเจ้าหน้าที่ 

- เมื่อเสร็จจากการเลือกตั้งให้รีบกลับบ้านหรือกลับสถานที่กักตัวทันที ไม่แวะทำกิจกรรมใดๆ ระหว่างทางโดยเด็ดขาด

เปิด \"10 ที่สุด\" ข้อมูลเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.-ส.ก. 22 พ.ค.65