"บิ๊กโจ๊ก" บินด่วนลงใต้ สอบ "โรฮิงญา" ถูกปล่อยเกาะ
"พล.ต.ท.สุรเชษฐ์" บินด่วนลงใต้ สอบสวนกรณี "โรฮิงญา" ถูกปล่อยเกาะ พร้อมสั่งทบทวนการทำงาน ศรชล. ตม.ตำรวจน้ำ หลังจากนี้ จัดระเบียบการทำงานใหม่
เมื่อวันที่ 5 มิ.ย. 65 ที่ ตชด 436 สตูล พลตำรวจโทสุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้นั่ง ฮ มาลงที่ ตชด 436 สตูล หลังได้รับรายงาน พบโรอิงญา จำนวน 59 คน ถูกนำมาทิ้งบริเวณเกาะ ดง ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของเกาะหลีเป๊ะประมาณ 8 ไมล์ อยู่ห่างจากฝั่งอ.เมืองสตูล ประมาณ 80 ไมล์ พื้นที่ หมู่ที่8 ต.เกาะสาหร่าย อ.เมืองสตูลโดยเจ้าหน้าที่ ในพื้นที่ จ.สตูล ได้นำอาหารไปให้ พร้อมให้การช่วยเหลือ มาพักพิงไว้ที่ อาคารรับรอง ตชด 436 สตูล และหลังจากนี้ จะจัดชุด สอบสวนถึงที่มาที่ไปอีกครั้งหนึ่ง เพื่อจะหาข้อสรุปว่า โรงอิงญา ชุดนี้ เป็นการค้ามนุษย์หรือไม่
พลตำรวจโทสุรเชษฐ์ กล่าวว่า เราได้พบผู้เสียหาย ทั้ง 59 คน ที่บริเวรเกาะดง ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของเกาะหลีเป๊ะประมาณ 8 ไมล์ อยู่ห่างจากฝั่งอ.เมืองสตูลประมาณ 80 ไมล์ พื้นที่ หมู่ที่8 ต.เกาะสาหร่าย อ.เมืองสตูลโดย เมื่อวานที่ผ่านมา โดยมีชาวบ้านเป็นคนพบ และหลังจากนั้น ทาง ตำรวจน้ำก็ได้เข้าไปช่วย เหลือ และนำอาหารไปให้ จากการสอบสวนเบื้องต้นเราพบว่า เรือดังกล่าวมีจำนวน 3 ลำ ประกอบไปด้วยเรือ จากบังคลาเทศ จากมาเลเซียที่เดินทางมาจากพม่าเพื่อจะไปบังคลาเทศแต่ไม่สามารถเข้าบังคลาเทศได้ จึงหันกลับจะเข้ามาเลเซีย แต่เมื่อเข้ามาเลเซีย ได้ถูกทางการมาเลเซียจับกุมเรือ 2 ลำแรกมี 30 กว่าคนและลำที่ 2 จำนวน 199 คนก็ได้ถูกจับกุมไปและเรือรำที่ 3 เมื่อทราบว่า เรือ 2 ลำแรก ถูกจับกุมไปแล้วโดยทางรัฐมาเลเซียได้จับกุมไปแล้วก็เกิดความกลัวก็เลยเอาลูกเรือทั้งหมดไปทิ้งบริเวณเกาะดง ทั้งหมด มี 59 คน และบอกทั้งหมดว่า ที่นี้ คือ มาเลเซีย ถึงที่หมาย ลังกาวีแล้ว จนกระทั่งได้มีชาวบ้านไปพบ ทั้ง 59 คน มีสภาพอิดโรย ขาดน้ำขาดอาหารดังนั้นในวันนี้สิ่งที่ เราจะต้อง เตรียมการให้การช่วยเหลือคือ ด้านอาหาร ยารักษาโรค อย่างถูกสุขอนามัยต่างๆ และจะต้อง ให้การช่วยเหลือในเรื่องของการเป็นอยู่ให้เขาปลอดภัย
ดังนั้นในวันนี้ เราก็จะดำเนินการตามมาตรการโดยขั้นแรกให้การช่วยเหลือ และขั้นที่ 2 คือ จะทำการคัดแยก หรือตรวจสุขภาพว่าเขาเป็นโรคอะไรหรือไม่ ถ้าพบว่าเป็นโรคก็จะทำการรักษา ดังนั้นในวันนี้ตนเองได้มีการพูดคุยกับนายแพทย์สาธารณสุข ในการตรวจสุขภาพ โดยเฉพาะการตรวจหาเชื้อโควิด-19 และเชื้อฝีดาษวานอนก่อนเป็นขั้นแรก และในส่วนของท่านผู้การตำรวจสตูล นั้น ร่วมกับสหวิชาชีพทั้งหมด โดยประกอบไปด้วย แรงงานจังหวัด พัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง และล่ามเพื่อทำการคัดแยกสอบปากคำในเบื้องต้น ถึงที่ไปที่มาเข้ามาอย่างไร พร้อมตรวจสุขภาพไปในตัว ถ้าหากว่าวันนี้พบว่าเป็นโรคผีดาดวานอน หรือว่าโควิด-19 ก็จะเอาเข้าโคลันทีน
หลังจากนี้ ก็จะการสอบสวนอีกครั้งร่วมกับอัยการ โดยจะแบ่ง เป็น 2 ส่วน คือเหยื่อค้ามนุษย์และไม่ใช้การค้ามนุษย์คือบุคคลที่เข้าเมืองมาอย่างผิดกฎหมายก็จะดำเนินการตามมาตรการ ซึ่งทำอย่างไรนั้น ก็จะมีการพูดคุยกันอีกครั้งหนึ่งถ้าเป็นพม่าเข้ามาช่องทางไหนก็ให้กลับช่องทางนั้น ส่วนเหยื่อค้ามนุษย์ก็จะมาดูว่าเรือลำนี้ไม่ได้เริ่มจากไทย เริ่มจากพม่าและต้องการที่จะไปทำงานยังบังคลาเทศเมื่อเข้าไม่ได้ก็เลยย้อนกลับไปมาเลเซีย เราจะดูรายละเอียดทั้งหมดว่า มีคนไทยที่ร่วมขบวนการจัดหาเรือ หาน้ำอาหาร เพื่อย้ายถิ่นฐานคนไปทำงานต่างแดนหรือไม่ ในส่วนนี้เราก็จะพิจารณาดูว่าถ้าเข้าข่ายการค้ามนุษย์มีคนไทยที่เกี่ยวข้องหรือไม่ ถ้ามีคนไทยที่เกี่ยวข้องก็จะดำเนินคดีเหมือนอย่างที่เคยถูกดำเนินคดีมาแล้ว ซึ่งทุกส่วนตนเองจะสั่งการให้ทำอย่างรวดเร็วที่สุด และการแยกควบคุมนั้นก็จะจับแยก ควบคุมไม่ให้แออัด เพื่อจะให้เขามีสุขอนามัยที่ดีที่สุด และรีบผลักดันกลับบ้านเขาให้ได้อย่างรวดเร็ว
พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ กล่าวต่อไปว่า หลังจากนี้จะมีการพูดคุยในหลายๆ เวทีโดยเฉพาะเวทีระดับประเทศ โดยเฉพาะการรับรองสถานะของเขาเพื่อให้เขาไม่ต้องออกมาเดินทางไปยังประเทศที่ 3 เพื่อหาโอกาสที่ดีกว่า รวมถึงการบูรณาการในเรื่องของ ศรชล. ในเรื่องการตรวจพบเรือเหล่านี้ เพื่อมาดำเนินคดีกับลูกเรือต่าง ๆ ซึ่งในกรณีนี้เรายังไม่พบคนไทย เพราะเรือนั้นเป็นเรือของต่างชาติ และได้พบโทรศัพท์จำนวน 11 เครื่อง ก็จะทำการหาข้อมูลเพี่อเชื่อมโยงก่อน ว่ามีคนไทยที่เกี่ยวข้องหรือไม่และวันนี้ เรายังไม่ข้อมูล เพราะเรือตรงมาจากพม่าและจะไปบังคลาเทศเขาไม่ได้มีเส้นทางที่เชื่อมโยงกับคนไทย แต่ยังไม่ทิ้งประเด็นเหล่านี้ โดยอันดับแรกจากการใช้ข้อมูลจากการใช้โทรศัพท์ ซึ่งจากการสอบสวนอย่างรวดเร็ว คือ พบว่ามีเรือ 3 ลำ มีการจับกุมไปแล้ว เมื่อวันที่ 1 และ 24 พ.ค. 65 และครั้งหลังเมื่อ 4 มิ.ย.65 ที่ผ่านมา ซึ่งเราจะสอบตั้งแต่ต้นทางยันปลายทาง เพื่อหาข้อสรุปให้ได้ว่าเป็นการค้ามนุษย์หรือไม่ ซึ่งในร่องน้ำอันนี้เป็นเส้นทางเดิมที่มีการตรวจจับ หรือพบโรอิงญามาทิ้งไว้ทุกปี ดังนั้น ตนเองก็จะมาทำงานร่วมกับ ศรชล. และพูดคุยกับ ศรชล. ใหม่ เพราะเส้นทางนี้เป็นเส้นทางเดิมๆ เราต้องมีมาตรการโดยชัดเจน ว่ากองทัพเรือ ตำรวจน้ำ จะมีการแบ่งการทำงานกันอย่างไร เพราะมันไม่ใช่เหตุการณ์ใหม่ และร่องน้ำก็เป็นร่องเดิม ซึ่งเป็นเส้นทางเดิมๆ ที่โรอิงญาเดินทางผ่านเข้ามา ถ้าเราไม่มีมาตรการที่ดี การป้องกันที่ดี ก็จะมีเข้ามาอีก และเป็นภาระของประเทศไทย