"ปลดล็อกกัญชา" ลงทะเบียนกัญชา คำถามที่พบบ่อย ตอบให้ทุกข้อสงสัย
"ปลดล็อกกัญชา" ลงทะเบียนกัญชา ทีมข่าวกรุงเทพธุรกิจออนไลน์รวบรวมคำถามที่พบบ่อย ตอบให้ทุกข้อสงสัย หลังจากที่ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดแอปฯ "ปลูกกัญ" เพื่อช่วยประชาชนในการจดแจ้งการปลูกกัญชา กัญชง ได้อย่างสะดวก รวดเร็วยิ่งขึ้น
"ปลดล็อกกัญชา" ลงทะเบียนกัญชา ทีมข่าวกรุงเทพธุรกิจออนไลน์รวบรวมคำถามที่พบบ่อย ถาม-ตอบ ข้อสงสัย หลังจากที่ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดแอปฯ "ปลูกกัญ" และเว็บไซต์ http://plookganja.fda.moph.go.th เพื่อช่วยประชาชนในการจดแจ้งการปลูกกัญชา กัญชง ได้อย่างสะดวก รวดเร็วยิ่งขึ้น
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- วิธีจดแจ้งปลูกกัญชา กัญชง ผ่านแอปฯ "ปลูกกัญ" เช็กเลย 3 ขั้นตอนง่ายๆ
- ปลดล็อกกัญชา เช็ก ตร. แล้ว สรุปง่ายๆ 11 ข้อ ครอบครอง-สูบ-คดี-ของกลาง
- ลงทะเบียนจดแจ้งปลูกกัญชา กัญชงแล้วกว่า 1 แสนราย กำชับห้ามจำหน่ายให้ 3 กลุ่ม
สำหรับ วิธีลงทะเบียนจดแจ้งปลูกกัญชา กัญชง 3 ขั้นตอนง่าย ๆ ทำผ่านแอปฯ "ปลูกกัญ" มีดังนี้
- ลงทะเบียน
- จดแจ้งตามวัตถุประสงค์
- รับเอกสารจดแจ้งอิเล็กทรอนิกส์
นอกจากนี้ยังสามารถ ลงทะเบียนจดแจ้งปลูกกัญชา กัญชง ได้ที่เว็บไซต์ http://plookganja.fda.moph.go.th (คลิกที่นี่) หรือหากมีข้อสงสัยสอบถามได้ที่ call center โทร 1556 กด 3
คำถามที่พบบ่อย
คำถาม-คำตอบ แนวทางการปลูก นำเข้า และนำเข้า/นำติดตัวเพื่อใช้เฉพาะตนของกัญชา ภายหลังปลดล็อกกัญชา กัญชงพ้นจากยาเสพติด
1.การปลูก ต้องขอรับอนุญาตตามกฎหมายใด หรือไม่?
ตอบ : ไม่ต้อง ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2565 แต่ขอความร่วมมือให้ประชาชนที่ต้องการปลูกกัญชา กัญชง แจ้งข้อมูลผ่านระบบแอปฯ "ปลูกกัญ" ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจัดทำขึ้น
2.การนำเข้าสารสกัดจากทุกส่วนของพืชกัญชา กัญชง สามารถกระทำได้หรือไม่ อย่างไร
ตอบ : ห้ามนำเข้าสารสกัด ยกเว้นกรณีดังต่อไปนี้ โดยต้องขออนุญาตตามประมวลกฎหมายยาเสพติด
- กรณีเพื่อการศึกษาวิจัย
- กรณีเป็นหน่วยงานรัฐเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์
3.สารสกัดจากทุกส่วนของพืชกัญชา กัญชง ที่เป็นสารควบคุมคุณภาพในการตรวจวิเคราะห์ และควบคุมคุณภาพของการตรวจสารเสพติดในร่างกายสำหรับใช้เป็นเครื่องมือแพทย์ จัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 หรือไม่ และการนำเข้าต้องดำเนินการอย่างไร?
ตอบ : ไม่จัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 แต่จัดเป็นเครื่องมือแพทย์ ดังนั้นการนำเข้าต้องได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องมือแพทย์
4.การนำเข้าผลิตภัณฑ์ (Finished product) ที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากทุกส่วนของพืชกัญชา กัญชง และผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของส่วนต่าง ๆ ของพืชกัญชา กัญชง ต้องขอรับอนุญาตตามกฎหมายใด?
ตอบ : ไม่จัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเทศ 5 การนำเข้าจึงไม่ต้องขออนุญาตนำเข้าตามประมวลกฎหมายยาเสพติด แต่ให้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์สุขภาพนั้นๆ โดยพิจารณาจากวัตถุประสงค์การใช้งานบนฉลากผลิตภัณฑ์หรือความมุ่งหมายของผู้ผลิต ดังนี้
- กรณีอาหาร จัดเป็นอาหารห้ามนำเข้าตามประก าศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 424 พ.ศ.2564 ที่ออกตามมาตรา 6(8) ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 2 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 20,000 บาท
- กรณีเครื่องสำอาง จัดเป็นเครื่องสำอางที่ห้ามนำเข้าตามประกาศฯ ที่ออกตามความในมาตรา 6 (1) ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับตามความในพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558
- กรณีการนำเข้าผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่น เช่น ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ให้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์นั้น
5.การนำเข้าเมล็ดกัญชา กัญชง และส่วนอื่นๆของพืชกัญชา กัญชง เช่น เปลือก ลำต้น ใบ เส้นใย กิ่งก้าน ราก ยอดหรือช่อดอก มาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพ หรือเป็นวัตถุดิบในการผลิตสารสกัดจากกัญชา กัญชง ต้องขอรับอนุญาตตามกฎหมายใด?
ตอบ : ต้องขอรับอนุญาต ดังนี้
1. ขออนุญาตนำเข้าตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 และกรณีนำเข้าเมล็ดพันธุ์กัญชา กัญชง ต้องขออนุญาตนำเข้าตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 ด้วย
2. เมื่อได้รับอนุญาตตามข้อ 1 แล้ว หากจะนำพืชกัญชา กัญชงดังกล่าวมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพ หรือเป็นวัตถุดิบในการผลิตสารสกัดจากกัญชา กัญชงให้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์สุขภาพนั้นๆ โดย
กรณีนำมาผลิตเป็นอาหาร ไม่สามารถนำเข้าได้ เนื่องจากจัดเป็นอาหารห้ามนำเข้า
กรณีนำมาผลิตเป็นเครื่องสำอาง ไม่สามารถนำเข้าได้ เนื่องจากเป็นวัตถุดิบที่ห้ามนำเข้า
กรณีนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่น ให้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์นั้นๆ
ซึ่งหากได้รับอนุญาตให้ผลิตถูกต้องตามกฎหมายแล้ว การพิจารณาตรวจสอบการนำเข้าเพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์นั้นๆก็สามารถดำเนินการได้เช่นเดียวกัน
6.การนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากทุกส่วนของพืชกัญชา กัญชง และผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของส่วนต่างๆของพืชกัญชา กัญชง รวมถึงการนำเข้าส่วนต่างๆของพืช เพื่อใช้เฉพาะตัว ครอบคลุมการนำเข้าในลักษณะใดบ้าง และมีการกำหนดหลักเกณฑ์ไว้หรือไม่ อย่างไร?
ตอบ : การนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากทุกส่วนของพืชกัญชา กัญชง และผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของส่วนต่างๆของพืชกัญชา กัญชง รวมถึงการนำเข้าส่วนต่างๆของพืช เพื่อใช้เฉพาะตัวครอบคลุมการนำเข้าใน 2 ลักษณะ ดังนี้
1.การนำติดตัวผู้โดยสารที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร
2.การส่งทางพัสดุ/ไปรษณีย์ระหว่างประเทศ
ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์การนำเข้าเพื่อใช้เฉพาะตัวไว้ว่า ผู้นำเข้าต้องเป็นบุคคลธรรมดา และมีวัตถุประสงค์เพื่อนำมาใช้เฉพาะตัวของผู้นำเข้าเอง โดยพิจารณาจากรูปแบบของสินค้าที่นำเข้า ดังนี้
การนำเข้าในรูปแบบของผลิตภัณฑ์
- ให้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์นั้น ๆ เช่น เครื่องมือแพทย์ หรือวัตถุอันตราย หรือผลิตภัณฑ์สมุนไพร โดยพิจารณาจากวัตถุประสงค์การใช้งานบนฉลากผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้หากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจัดเป็นอาหาร หรือเครื่องสำอาง จะไม่สามารถนำเข้าได้ เนื่องจากจัดเป็นอาหารห้ามนำเข้าหรือเป็นเครื่องสำอางที่ห้ามนำเข้า
การนำเข้าในรูปแบบส่วนต่างๆของพืช
-
ต้องได้รับอนุญาตให้นำเข้าตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 ก่อน และหากนำเข้ามาเป็นอาหารเพื่อบริโภคส่วนตัวจะไม่สามารถนำเข้าได้ เนื่องจากจัดเป็นอาหารห้ามนำเข้าตามป ระกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 424 พ.ศ. 2564 ส่วนกรณีนำเข้าส่วนต่างๆ ของพืชกัญชา กัญชง มาเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อใช้เฉพาะตัว ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์สมุนไพร
คำถาม-คำตอบ การสกัด การจำหน่าย กัญชา กัญชง ภายหลังปลดล็อกกัญชา กัญชง พ้นจากยาเสพติด
1.การสกัดพืชกัญชา กัญชง ต้องขอรับอนุญาตตามกฎหมายใด หรือไม่
ตอบ : การสกัด ไม่ว่าจะเป็นการนำส่วนใดของพืชกัญชา กัญชง ไปสกัด โดยสารสกัดที่ได้จะมี THC เท่าใดก็ตาม ต้องขออนุญาตผลิตสกัดตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด (ยกเว้นการสกัดจากเมล็ด) โดยผลผลิตสารสกัดที่ได้ แบ่งเป็น 2 ส่วน
- ส่วนที่ 1 สารสกัดที่มี THC ไม่เกิน 0.2 % จะได้รับการยกเว้นไม่เป็นยาเสพติดให้โทษ
- ส่วนที่ 2 สารสกัดที่มี THC เกิน 0.2 % จัดเป็นยาเสพติดให้โทษ
2.การจำหน่าย ต้องขอรับอนุญาตตามกฎหมายใด หรือไม่
ตอบ : การจำหน่ายส่วนของพืช ไม่ต้องขอรับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด การจำหน่ายเมล็ดพันธุ์และกิ่งพันธุ์ ต้องขอรับอนุญาตตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 การจำหน่ายสารสกัดที่ได้รับอนุญาตให้สกัดตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด
- กรณีเป็นสารสกัดที่มี THC ไม่เกิน 0.2 % ไม่ต้องมีใบอนุญาตจำหน่ายยาเสพติดให้โทษ
- กรณีสารสกัดที่มี THC เกิน 0.2 9 ต้องมีใบอนุญาตจำหน่ายยาเสพติดให้โทษ และผู้ซื้อต้องมีใบอนุญาตเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษด้วย
การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์นั้น
3.การจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางต้องทำอย่างไร
ตอบ :
ผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของกัญชา กัญชง ไม่ต้องขออนุญาตก่อน แต่จะต้องนำผลิตภัณฑ์ที่จดแจ้งเรียบร้อยแล้วและมีฉลากภาษาไทยที่ระบุข้อความครบถ้วน ถูกต้องมาจำหน่าย