กรมพระศรีสวางควัฒนฯ ทรงติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการศึกษาวิจัยมะเร็งตับและท่อน้ำดี จ.น่าน
กรมพระศรีสวางควัฒนฯ เสด็จไปทรงติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการศึกษาวิจัยมะเร็งตับและท่อน้ำดีของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ณ โรงพยาบาลบ้านหลวง อำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน
ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จไปทรงติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการศึกษาวิจัยมะเร็งตับและท่อน้ำดี ของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ณ โรงพยาบาลบ้านหลวง อำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน
วันนี้ (9 มิ.ย.65) เวลา 15.12 น. ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จไปยัง โรงพยาบาลบ้านหลวง อำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน เพื่อทรงติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการศึกษาวิจัยมะเร็งตับและท่อน้ำดี หรือ โครงการ TIGER-LC ของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และโรงพยาบาลจุฬาภรณ์
เพื่อหาแนวทางป้องกันและช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ที่มีอุบัติการณ์เกิดโรคมะเร็งตับ และมะเร็งท่อน้ำดีในจังหวัดน่าน โดยมีพระดำริให้จัดทำโครงการศึกษาวิจัยมะเร็งตับและท่อน้ำดี ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2554 ด้วยทรงมีความห่วงใยในชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน และทรงเพียรพยายามที่จะช่วยเหลือในการแก้ปัญหาด้านสาธารณสุขของประเทศ
ในการนี้ ทรงรับฟังการกราบทูลรายงานความก้าวหน้า จากคณะนักวิจัยของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และแพทย์จากโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เกี่ยวกับ การศึกษาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี ในพื้นที่อำเภอบ้านหลวง ที่อาจจะช่วยเป็นแนวทางในการป้องกันการเกิดโรค และการคัดกรอง และเฝ้าระวังโรคมะเร็งเซลล์ตับและท่อน้ำดี ในพื้นที่อำเภอบ้านหลวง
รวมถึงพื้นที่ที่พบการระบาดเฉพาะถิ่น ซึ่งต่อมาพัฒนาแนวทางการคัดกรองโรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ ช่วยตรวจจับรอยโรคเพื่อเพิ่มความแม่นยำในการวินิจฉัยโรคร่วมกับภาพอัลตราซาวด์ เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคมะเร็งตับได้ในระยะแรกเริ่มได้ ทำให้เพิ่มระยะการรอดชีวิตและระยะปลอดโรค
ในการนี้ ทรงรับฟังการกราบทูลรายงานความก้าวหน้า จากคณะนักวิจัยของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และแพทย์จากโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เกี่ยวกับ การศึกษาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี ในพื้นที่อำเภอบ้านหลวง ที่อาจจะช่วยเป็นแนวทางในการป้องกันการเกิดโรค และการคัดกรอง และเฝ้าระวังโรคมะเร็งเซลล์ตับและท่อน้ำดี ในพื้นที่อำเภอบ้านหลวง
รวมถึงพื้นที่ที่พบการระบาดเฉพาะถิ่น ซึ่งต่อมาพัฒนาแนวทางการคัดกรองโรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ ช่วยตรวจจับรอยโรคเพื่อเพิ่มความแม่นยำในการวินิจฉัยโรคร่วมกับภาพอัลตราซาวด์ เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคมะเร็งตับได้ในระยะแรกเริ่มได้ ทำให้เพิ่มระยะการรอดชีวิตและระยะปลอดโรค
และการดำเนินโครงการอาสาจุฬาภรณ์ รุ่นที่ 2 ซึ่งเป็นโครงการเพื่อพัฒนาศักยภาพของประชาชน ให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในด้านการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง ครอบครัว และชุมชน รวมถึง การจัดทำแอพพลิเคชั่น การสร้างระบบบริการเชื่อมโยงระหว่างชุมชน โรงพยาบาลในพื้นที่ และโรงพยาบาลจุฬาภรณ์
และการดำเนินโครงการอาสาจุฬาภรณ์ รุ่นที่ 2 ซึ่งเป็นโครงการเพื่อพัฒนาศักยภาพของประชาชน ให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในด้านการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง ครอบครัว และชุมชน รวมถึง การจัดทำแอพพลิเคชั่น การสร้างระบบบริการเชื่อมโยงระหว่างชุมชน โรงพยาบาลในพื้นที่ และโรงพยาบาลจุฬาภรณ์
โอกาสนี้ พระราชทานผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพจากโครงการวิจัยในพระดำริ ของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ อาทิ เจลแอลกอฮอล์ สบู่เหลวล้างมือ เป็นต้น แก่ผู้แทนตำบลของอำเกอบ้านหลวง 4 ตำบล และผู้อำนวยการโรงพยาบาลบ้านหลวง ได้แก่ ตำบลสวด ตำบลบ้านฟ้า ตำบลป่าคาหลวง ตำบลบ้านพี้ และผู้อำนวยการโรงพยาบาลบ้านหลวง เพื่อนำไปใช้ประโยชน์แก่ประชาชนในพื้นที่ต่อไป พร้อมกับทรงเยี่ยมราษฎรและผู้ป่วยในโครงการศึกษาวิจัยมะเร็งตับและท่อน้ำดี
โรคมะเร็งตับ เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 1 ของประเทศและเป็นสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิต ไม่น้อยกว่าปีละ 15,000 คน โดยมะเร็งชนิดนี้จะแบ่งย่อยได้เป็น มะเร็งเซลล์ตับที่มีสาเหตุหลักเกิดจากเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี และมะเร็งท่อน้ำดีที่มีปัจจัยเสี่ยงที่ที่เกี่ยวข้องกับ สารเคมีที่ได้รับจากชีวิตประจำวัน การได้รับพยาธิใบไม้ในตับ และอื่น ๆ
การรักษาโรคมะเร็งชนิดนี้ยังเป็นปัญหา เนื่องจากจะตรวจพบโรคเมื่ออยู่ในระยะที่เป็นมากแล้ว และมักจะเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็ว อีกทั้งการยังขาดความรู้เกี่ยวกับกลไกการเกิดโรคและยาที่จะใช้รักษาอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ทรงเห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องทำการวิจัยโรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี และทรงผนึกกำลังระหว่างสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ และสถาบันชั้นนำของประเทศไทย ได้แก่
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ร่วมกับ สถาบันชั้นนำของโลก อย่างสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ของสหรัฐอเมริกา ร่วมมือกันทำการวิจัย เพื่อนำไปสู่แนวทางการป้องกันโรค ตลอดจนการตรวจวินิจฉัย และรักษา เพื่อให้ผู้ป่วยได้มีชีวิตที่ยืนยาว และสามารถใช้ชีวิตได้ปกติสุขต่อไป