สกสว. เดินหน้าหนุนทุนวิจัย 'สิ่งแวดล้อมและสุขภาพ' อย่างยั่งยืน

สกสว. เดินหน้าหนุนทุนวิจัย 'สิ่งแวดล้อมและสุขภาพ' อย่างยั่งยืน

สกสว. เชื่อมโยงหน่วยงานสนับสนุนทุนวิจัย สร้างเครือข่ายการทำงานวิจัยข้ามศาสตร์ ประเด็นสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ พัฒนาสุขภาพของคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อมภายใต้ระบบนิเวศเดียวกันอย่างยั่งยืน

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมกับ กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ (US Department of State, DOS) มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐ (National Science Foundation, NSF) และ สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีญี่ปุ่น (Japan Science and Technology Agency, JST) จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง 'Fostering Transdisciplinary Collaborations at the nexus of Climate and Health for Global Environmental Change Research - A way forward' 

 

เพื่อสร้างความร่วมมือและความเข้าใจร่วมกันระหว่างหน่วยงานให้ทุนวิจัยและนักวิจัยรุ่นใหม่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยในครั้งนี้ มีหน่วยงานให้ทุนวิจัยและนักวิจัยรุ่นใหม่กว่า 140 คนจาก 11 ประเทศเข้าร่วมงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนนโยบาย ความก้าวหน้า และความเห็นในประเด็นสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และเชื่อมโยงนักวิจัยในศาสตร์ต่าง ๆ เกิดเป็นเครือข่ายการทำงานวิจัยข้ามศาสตร์ (Transdisciplinary Research, TDR)

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

การประชุมดังกล่าวได้เปิดโอกาสให้นักวิจัยรุ่นใหม่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทักษะที่สำคัญกับผู้เชี่ยวชาญ ทั้งการทำงานข้ามศาสตร์ การเขียนโครงการวิจัย และการสร้างทีมวิจัยข้ามชาติ รวมถึงได้รับรู้ถึงโอกาสและทิศทางการวิจัยที่กำลังจะเกิดขึ้นจากหน่วยงานให้ทุนวิจัย นอกจากนี้หน่วยงานให้ทุนวิจัยได้ใช้โอกาสนี้หารือถึงแนวทางในการทำงานร่วมกันเกี่ยวกับประเด็นด้านสภาพภูมิอากาศและสุขภาพ ที่จะนำไปสู่การให้ทุนในรูปแบบเงินทุนข้ามชาติ (Multinational Funding) ในอนาคต โดย สกสว. ได้เชิญหน่วยบริหารจัดการทุน (PMU) เข้าร่วมหารือและแลกเปลี่ยนในงานครั้งนี้ด้วย

 

สกสว. เดินหน้าหนุนทุนวิจัย \'สิ่งแวดล้อมและสุขภาพ\' อย่างยั่งยืน

 

รศ. ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการ สกสว. กล่าวว่า การประชุมในครั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนให้หน่วยงานให้ทุนและนักวิจัยได้พบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันในประเด็นที่มีความท้าทายระดับโลกด้านสภาพภูมิอากาศและสุขภาพ นับเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่จะร่วมขับเคลื่อนทิศทางการวิจัยไปด้วยกัน ที่ผ่านมา การออกแบบทิศทางการสนับสนุนทุนวิจัยจะเป็นการระดมสมองกับผู้เชี่ยวชาญและเน้นการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน

 

"แต่การมีส่วนร่วมของนักวิจัยรุ่นใหม่ที่มีต่อระบบบริหารจัดการ และการออกแบบทิศทางการให้ทุนนั้นยังจำกัดอยู่มาก ดังนั้น การประชุมปฏิบัติการในครั้งนี้จึงเป็นการยกระดับอีกก้าวหนึ่งของการขับเคลื่อนระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ที่มุ่งเน้นและให้ความสำคัญต่อกระบอกเสียงของนักวิจัยรุ่นใหม่ต่อการพัฒนาระบบ ววน. ทั้งของประเทศและภูมิภาค"