บพท.จับมือ 9 มทร.หนุนนวัตกรรมพร้อมใช้ - เทคโนโลยีที่เหมาะสม พัฒนาทุกพื้นที่

บพท.จับมือ 9 มทร.หนุนนวัตกรรมพร้อมใช้ - เทคโนโลยีที่เหมาะสม พัฒนาทุกพื้นที่

บพท.กางแผนขับเคลื่อนการทำงานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมประเทศ 2566–2570 ยกระดับสังคมสิ่งแวดล้อม ให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน แก้ไขปัญหา ท้าทายและปรับตัวได้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงโลก ใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัย นวัตกรรม เน้นนวัตกรรมพร้อมใช้ดันงานวิจัยขึ้นห้าง

จากนโยบายและยุทธศาสตร์กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ซึ่งรัฐมนตรีศุภมาส อิศรภักดี ได้กำหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่า “สานพลังการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมไทย พลิกโฉมให้ประเทศมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและยั่งยืน ยกระดับความสามารถในการแข่งขันด้วยเศรษฐกิจสร้างคุณค่า และพร้อมก้าวสู่อนาคต” 

โดยผลักดันให้ประชาชนสามารถเข้าถึงและได้รับประโยชน์จากงานวิจัยได้ และเปลี่ยนจากงาน “งานวิจัยขึ้นหิ้ง” เป็น “งานวิจัยขึ้นห้าง” เพื่อช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แก้ไขปัญหาสำคัญของประเทศ รวมถึงตอบโจทย์ต่อความต้องการของประเทศต่อไปได้ โดยเฉพาะช่วยแก้ไขปัญหาและพัฒนากลุ่มคนฐานราก ซึ่งครอบคลุมทั้งเกษตรกร คนยากจน ผู้ประกอบการในพื้นที่ ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นหน้าที่สำคัญของกระทรวง อว. ที่จะสนับสนุนการสร้างและส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมพร้อมใช้และเทคโนโลยีที่เหมาะสม (Appropriate technology) ของมหาวิทยาลัยในพื้นที่ เพื่อช่วยเหลือชุมชนพื้นที่ทั่วประเทศไทย

บพท.จับมือ 9 มทร.หนุนนวัตกรรมพร้อมใช้ - เทคโนโลยีที่เหมาะสม พัฒนาทุกพื้นที่

จากนโยบายและยุทธศาสตร์ของกระทรวง อว. กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) โดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ประธานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ระบุว่า ในปีงบประมาณ 2568 กองทุน ววน. มุ่งเน้นการทำงานบนฐานงานวิจัยในการแก้ปัญหาสำคัญเร่งด่วน ใน 3 มิติ ทั้งสุขภาพ เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ภายใน 2 ปี โดยขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เบื้องต้น 8 เป้าหมายสำคัญและเร่งด่วน

 

“การผลักดันให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ มีปัจจัยเกื้อหนุน 2 ส่วนหลัก ๆ ส่วนแรกคือต้องมีเทคโนโลยีชาวบ้านที่หลากหลาย ไม่ซับซ้อน โดยปรับการใช้งานที่สอดคล้องตามภูมิสังคม ส่วนที่สองคือ ต้องมีเครือข่ายที่เข้ามาร่วมมือกันพัฒนาในทุกๆ ด้าน ทั้งฝีมือและผลิตภัณฑ์เพื่อยกระดับคนทำงานให้เป็นนวัตกรชุมชนและสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็ง ซึ่งความร่วมมือในครั้งนี้จะเป็นความร่วมมือที่เป็นการบูรณาการและยกระดับการทำงานขึ้นไปอีกขั้น”

ด้าน รองศาสตราจารย์ ดร.อุดมวิทย์ ไชยสกุลเกียรติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ประธานอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (ทปอ.มทร.) กล่าวว่า จากทุนเดิมดังกล่าวของเครือข่ายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ทั้ง 9 แห่ง ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาในกลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมที่มีพื้นที่ตั้งวิทยาเขต 24 จังหวัด กระจายตัวในพื้นที่ 4 ภูมิภาค และ พื้นที่บริการครอบคลุม 40 จังหวัด ได้พัฒนาคลังข้อมูลเทคโนโลยีในรูปแบบ Technology and Innovation Library  ซึ่งขณะนี้มีจำนวนถึง 387 เทคโนโลยี ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของพื้นที่ ช่วยแก้ไขปัญหา และสร้างโอกาสแก่ชุมชน ความร่วมมือในครั้งนี้ เป็นการยกระดับงานบริการเชิงสังคมสู่การเป็น “ศูนย์ถ่ายทอดองค์ความรู้แบบครบวงจร” ในด้านต่าง ๆ

บพท.จับมือ 9 มทร.หนุนนวัตกรรมพร้อมใช้ - เทคโนโลยีที่เหมาะสม พัฒนาทุกพื้นที่

เช่น ศูนย์ถ่ายทอดด้านเทคโนโลยี การเป็นโรงงานต้นแบบที่มีอยู่ในมหาวิทยาลัย ระบบการผลิตเชิงอุตสาหกรรมชุมชน เป็นต้น เพื่อให้นักศึกษาหรือผู้สนใจเข้ามาฝึกงานสู่การยกระดับฝีมือแรงงานให้ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ

บพท.จับมือ 9 มทร.หนุนนวัตกรรมพร้อมใช้ - เทคโนโลยีที่เหมาะสม พัฒนาทุกพื้นที่

ทั้งนี้ บพท. มีแผนขับเคลื่อนการทำงานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ พ.ศ. 2566–2570 ในยุทธศาสตร์ที่ 2 การยกระดับสังคมและสิ่งแวดล้อม ให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน สามารถแก้ไขปัญหา ท้าทายและปรับตัวได้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม และกำหนดเป้าหมายขับเคลื่อนนวัตกรรมพร้อมใช้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาพื้นที่ (Appropriate Technology) บนความร่วมมือกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ทั้ง 9 แห่ง ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาในกลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม เพื่อขยายผลต่อยอดนวัตกรรมพร้อมใช้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมจากงานวิจัย สู่การออกแบบกระบวนการเรียนรู้ (Learning and Innovation Platform; LIP) ให้เกิดการเรียนรู้และรับ-ปรับ-ใช้นวัตกรรมพร้อมใช้และเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อมุ่งสร้างโอกาสใหม่ในพื้นที่ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและจัดการแก้ปัญหาคนจน และลดความเหลื่อมล้ำ ช่วยยกระดับเศรษฐกิจชุมชนและฐานรากทั้งภาคชนบทและเมืองให้พึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน

              สำหรับการลงนามบันทึกข้อตกลงความเข้าใจในครั้งนี้ มีระยะเวลา 3 ปี เพื่อที่จะร่วมกันขับเคลื่อนนวัตกรรมพร้อมใช้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาพื้นที่ (Appropriate Technology)  ในการประยุกต์ใช้และขยายผลนวัตกรรมพร้อมใช้และเทคโนโลยีที่เหมาะสม จากผลงานของเครือข่ายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลฯ ในการช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ คนจนฐานราก เกษตรกรรายย่อย กลุ่มอาชีพ ผู้ประกอบการในพื้นที่ ตลอดจนการสร้างพื้นที่การเรียนรู้ รวมทั้งพัฒนากลไกถ่ายทอดและบริการเทคโนโลยีสู่ชุมชน เพื่อเสริมสร้าง Ecosystem ที่พร้อมให้บริการกลุ่มเป้าหมาย และการจัดตั้งหน่วยธุรกิจ (Business Unit) ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ให้เกิดการลงทุนสำหรับนำผลงานวิจัยที่เป็น Appropriate Technology ไปสู่การขยายผลทางธุรกิจและเกิดประโยชน์ในเชิงพาณิชย์

              อย่างไรก็ตาม การขับเคลื่อนนวัตกรรมพร้อมใช้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาพื้นที่ (Appropriate Technology) และเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ.