‘บพท.’ ต่อยอดพัฒนาทุเรียนชายแดนใต้ ชู ‘คุณภาพ’ สู้ผลผลิตจีน- เวียดนาม ตีตลาด

‘บพท.’ ต่อยอดพัฒนาทุเรียนชายแดนใต้  ชู ‘คุณภาพ’ สู้ผลผลิตจีน- เวียดนาม ตีตลาด

ในอดีตแม้ว่าในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จะมีการปลูกทุเรียนกันอย่างแพร่หลาย แต่ในอดีตทุเรียนในพื้นที่ประสบปัญหาราคาตกต่ำ แต่จากการใช้ชุดความรู้ และงานวิจัยไปพัฒนาผลผลิตทำให้ปัจจุบันมีการส่งออกทุเรียนคุณภาพจากพื้นที่สามารถเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรอย่างมาก

เมื่อวันที่ 3 ต.ค.ที่ผ่านมา ที่จ.ยะลาได้มีการกิจกรรมสร้างแผนและยุทธศาสตร์ชายแดนใต้ในการยกระดับผลิตภัณฑ์ทุเรียนยะลาและนราธิวาส โครงการการพัฒนาและยกระดับล้งทุเรียนสู่เครือข่ายธุรกิจในจังหวัดยะลาและนราธิวาส เพื่อยกระดับรายได้เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนในพื้นที่ โดยมีผู้ว่าราชการจ.ยะลา เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมโครงการจัดทำแผนและยุทธศาสตร์การพัฒนาทุเรียนคุณภาพจังหวัดยะลาและจังหวัดนราธิวาส

นายมะเสาวดี ไสสากา หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดยะลา ในนามสภาเกษตรกรจังหวัดยะลา กล่าวว่าโครงการพัฒนาทุเรียนคุณภาพ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อจัดทำวิจัยยกระดับล้งแ ละเครือข่ายล้งทุเรียน เพื่อเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรในจังหวัดยะลาและนราธิวาส จากหน่วย บริหารและจัดการทุนเพื่อการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) เพื่อ พัฒนาต้นแบบการบริหารจัดการทุเรียนตลอดห่วงโซ่มูลมูลค่าโดยมีจุดเน้นสำคัญ 6 ข้อคือ

1.เพื่อพัฒนาชุดความรู้และ กระบวนการจัดการทุเรียนคุณภาพ  โดยเน้นวิธีการที่มีงานวิชาการรองรับและเทคโนโลยีนวัตกรรมที่เหมาะสม 

2.เพื่อยกระดับการรวบรวม และคัดแยกผลผลิตคุณภาพในรูปแบบล้งชุมชน ที่ได้มาตรฐานการส่งออก โดยล้งมาตรฐานต้องเกิดจากกลุ่มเครือข่ายเกษตรกรผู้ผลิตทุเรียนคุณภาพ เป็นหลักสำคัญ

3.เพื่อพัฒนา byproduct จากกระบวนการผลิตทุเรียนทั้งระบบก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม 

4. เพื่อพัฒนาช่องทางการตลาดใหม่ๆ ในประเทศ และต่างประเทศ ทั้งในรูปแบบ B to B และ B to C

5.เพื่อพัฒนา และสร้างแบรนด์ทุเรียนยะลาทั้งที่เป็น local brand และ global brand เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับตลาดและผู้บริโภค

และ 6.เพื่อพัฒนากระบวนการขับเคลื่อนทุเรียนยะลาภายใต้แนวคิด BCG  Model

‘บพท.’ ต่อยอดพัฒนาทุเรียนชายแดนใต้  ชู ‘คุณภาพ’ สู้ผลผลิตจีน- เวียดนาม ตีตลาด

โดยโครงการนี้กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยส่วนงานราชการที่เกี่ยวข้อง สมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส แกนนำเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนจังหวัดยะลา แกนนำเครือข่ายกลุ่มต้นแบบบริหารจัดการทุเรียนทั้งระบบกลุ่มบาตูปูเต๊ะ แกนนำกลุ่มทุเรียนปิดทองหลังพระ  ตัวแทนกลุ่มทุเรียนแปลงใหญ่ ตัวแทนผู้ประกอบการทุเรียนจังหวัดยะลา และคณะทีมงานวิจัย ซึ่งเป็นอาจารย์และนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมจำนวนทั้งหมด 70 คน

โดยมีเนื้อหาการนำเสนอและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในช่วงภาคเช้า ได้แก่ การพัฒนาห่วงโซ่ทุเรียน การปรับตัวของเกษตรกรเพื่ออนาคต ด้านการตลาด ของทุเรียนยะลา  การตลาดนำการผลิตภายใต้วิกฤตและการแข่งขันทุเรียนยะลาในตลาดโลก ส่วนช่วงบ่ายเน้นประเด็นความท้าทายของเกษตรกรเพื่อผลิตทุเรียนคุณภาพ  และยกระดับทุเรียนยะลาสู่อุตสาหกรรมทุเรียนตลอดจนแนวทางการพัฒนาระบบโลจิสติกส์เพื่อการส่งออกในอนาคต

มะเสาวดี บอกด้วยว่าทุเรียนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้มีการพัฒนาคุณภาพมาจนได้รับการยอมรับในตลาดปัจจุบันมีคุณภาพดีเป็นมาตรฐานสำหรับส่งออก และสามารถส่งออกสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ จากทุเรียนที่ถูกกดราคาซื้อขายไม่ถึง 60 บาทต่อกิโลกรัมกลายเป็นทุเรียนที่ราคา 100 – 120 บาทต่อกิโลกรัม และมีระบบบริหารจัดการ มีล้งของชุมชนที่สามารถรวบรวมผลผลิตจากเกษตรกรในพื้นที่

‘บพท.’ ต่อยอดพัฒนาทุเรียนชายแดนใต้  ชู ‘คุณภาพ’ สู้ผลผลิตจีน- เวียดนาม ตีตลาด

โครงการนี้สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดยะลา ได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อจัดทำวิจัยยกระดับล้งและเครือข่ายล้งทุเรียน เพื่อเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรในจังหวัดยะลาและนราธิวาส จากหน่วยบริหารและจัดการทุนเพื่อการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) เพื่อพัฒนาต้นแบบการบริหารจัดการทุเรียนตลอดห่วงโซ่ มูลค่าโดยมีจุดเน้นสำคัญเพื่อพัฒนาชุดความรู้และกระบวนการจัดการทุเรียนคุณภาพ เน้นวิธีการที่มีงานวิชาการรองรับและเทคโนโลยีนวัตกรรมที่เหมาะสม ยกระดับการรวบรวม และคัดแยกผลผลิตคุณภาพในรูปแบบล้ง ชุมชนที่ได้มาตรฐานการส่งออก

บพท.ชี้พลังงานวิจัยเพิ่มมูลค่าทุเรียนในพื้นที่ 

ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการ บพท. กล่าวว่า บพท. ได้ใช้ชุดความรู้จากงานวิจัย ตลอดจนกระบวนการวิจัยที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต และบริบทพื้นที่เข้าไปสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาคุณภาพและสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ทุเรียนในจังหวัดชายแดนใต้

ควบคู่ไปกับการเสริมพลังให้เกษตรกรชาวสวนทุเรียนรวมกลุ่มกันในลักษณะเครือข่ายเป็นวิสาหกิจชุมชน เชื่อมโยงกับกลไกรัฐ และกลไกธุรกิจ กระทั่งส่งผลให้ทุเรียนเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของจังหวัดชายแดนใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่จังหวัดยะลา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการปลูกทุเรียนมากที่สุดเมื่อเทียบกับจังหวัดชายแดนใต้อื่น

‘บพท.’ ต่อยอดพัฒนาทุเรียนชายแดนใต้  ชู ‘คุณภาพ’ สู้ผลผลิตจีน- เวียดนาม ตีตลาด

ทุกวันนี้ชุดความรู้จากงานวิจัย เพื่อพัฒนาคุณภาพผลผลิตทุเรียน ซึ่ง บพท. ให้การสนับสนุน และพลังจากภาคีความร่วมมือหลายภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้ (ศอ.บต.) และสภาเกษตร ทำให้เกษตรกรชาวสวนทุเรียน สามารถขายทุเรียนได้ราคาดีขึ้นมาก มีความมั่นคงทางอาชีพ

ผู้อำนวยการ บพท. กล่าวต่อไปว่า ผลพลอยได้จากชุดความรู้ในการพัฒนาคุณภาพและผลผลิตทุเรียน มีส่วนอย่างสำคัญต่อการสร้างคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี เป็นการช่วยเสริมพลังแก่วิสาหกิจชุมชนชาวสวนทุเรียน โดยเฉพาะวิสาหกิจชุมชนพัฒนาคุณภาพทุเรียนบ้านบาตูปูเต๊ะ(ธารโต) ซึ่งผลจากการยกระดับการพัฒนาคุณภาพ ประสิทธิภาพ และเสริมขีดความสามารถแก่เกษตรกรในการเป็นผู้ประกอบการ เป็นการสร้างความเป็นธรรมและลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้อย่างแท้จริง

พัฒนาล้งมาตรฐานชุมชน 

โดยล้งมาตรฐานเกิดจากกลุ่มเครือข่ายเกษตรกรผู้ผลิตทุเรียนคุณภาพเป็นหลักสำคัญ พัฒนา byproduct จากกระบวนการผลิตทุเรียน ทั้งระบบก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม เพื่อพัฒนาช่องทางการตลาดใหม่ๆ ในประเทศ และต่างประเทศ ทั้งในรูปแบบ B to B และ B to C พัฒนาและสร้างแบรนด์ทุเรียนยะลาทั้งที่เป็น local brand และ global brand เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับตลาดและผู้บริโภค และพัฒนากระบวนการขับเคลื่อนทุเรียนยะลาภายใต้แนวคิด BCG Model ด้วย  

พัฒนาทุเรียนคุณภาพสู้ทุเรียนจีน - เวียดนาม 

 คณะวิจัยยังได้มีการศึกษาโอกาสของทุเรียนยะลาในการเปิดตลาดต่างประเทศช่องทางใหม่ เพื่อผลลัพธ์ช่องทางการตลาดทุเรียนใหม่ โดยบพท.ได้ร่วมแลกเปลี่ยนด้านโลจิสติกส์และการกระจายทุเรียนชายแดนใต้ ณ เมืองคุนหมิง มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อเชื่อมตลาดไม้ผลเศรษฐกิจโดยเฉพาะทุเรียนจังหวัดชายแดนภาคใต้กับตลาดผู้บริโภคที่เป็นตลาดขนาดใหญ่ในประเทศจีน

เส้นทางการพัฒนาทุเรียน 3 จังหวัดชายแดนใต้

การพัฒนาทุเรียนในจังหวัด 3 ชายแดนภาคใต้มีการพัฒนามาต่อเนื่องกว่า 6 - 7 ปี  ปี 2560-2561  คือจุดเริ่มต้นในการศึกษาเรื่องทุเรียนอย่างจริงจังของมะเสาวดี กับการได้รู้จักนักวิชาการจากคณะทรัพยากรธรรมชาติ ม.อ.หาดใหญ่ และได้พูดคุยกับ ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการบพท.(ขณะนั้นเป็นผอ.สกว.ส่วนกลาง) ทำให้ได้แนวคิดว่าต้องศึกษาอย่างจริงจังในการจัดการให้ทุเรียนยะลามีคุณภาพและมีราคาตามตลาด โดยเน้นการศึกษาใน 3 ห่วงโซ่หลัก คือ 1.เน้นการเรียนรู้การผลิต จากนักวิชาการ แปลงต้นแบบ นำเกษตรกรไปปรับเปลี่ยนความคิดว่าเราก็ทำได้ และนำชุดความรู้วิชาการมาจัดการสวนทั้งปี  2.การรวบรวมผลผลิต 3.หาตลาดใหม่ๆ

งานวิจัยสร้างสวนทุเรียนเงินล้าน

โดยในปี 2561-2562 ด้านการตลาดราคาทุเรียนยะลาได้ราคาต่ำ ขณะที่ตราดได้ 91 บาท ยะลาได้ 53-57 บาท ต่างกันมากด้วยเหตุผลที่ผู้ประกอบการบอกว่า  ซื้อในราคาต่ำเพื่อประกันความเสี่ยงในความด้อยคุณภาพ กลุ่มบาตูปูเต๊ะ จึงไปขายที่ชุมพรเอง พร้อมได้รับคำแนะนำจากตลาดว่าต้องการทุเรียนแบบไหน จนนำมาซึ่งการศึกษาเรียนรู้ ทำวิจัยและปรับปรุงทุเรียนในพื้นที่อย่างจริงจังจนประสบความสำเร็จในปี 2565 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนพัฒนาคุณภาพทุเรียนบ้านบาตูปูเต๊ะ อ.ธารโต จ.ยะลา ได้ยกระดับทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เป็นสวนและล้งมีคุณภาพ ตลาดเป็นหุ้นส่วนของล้งกับกลุ่ม ใช้ราคาปลายทาง 120 บาท เป็นตัวตั้ง

การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดเจนจากสมาชิกรายหนึ่งในกลุ่มฯ เดิมมีสวนทุเรียนจำนวน 5 ไร่ 50 ต้น ได้ผลผลิตไม่ถึง 500,000 บาท/ปี เมื่อทำตามชุดบริหารจัดการและงานวิจัยเพิ่มรายได้เป็นล้านบาท ในปีที่ 3 มีรายได้เพิ่มถึง 1.4 ล้านบาท 

ในปี 2562 ไปดูตลาดจีนหลายมณฑล เห็นภาพอนาคตทำอย่างไรจะยกระดับทุเรียนยะลาตอบสนองตลาดจีนให้ได้ แต่เดือนที่แล้วไปคุนหมิงเจออุปสรรคหลายอย่าง อันแรกคือปีนี้ทุเรียนยะลามีผลผลิตค่อนข้างมาก จาก 4-5 หมื่นตัน เป็นเกือบ 9 หมื่นตัน พื้นที่ปลูก 1.2-1.3 แสนกว่าไร่ ข้อกังวลคือไปเจอข้อมูลตลาด เราไปชนกับการผลิตของเวียดนาม มีทุเรียนยะลาลอตหนึ่งใช้เวลาขนส่งถึง 8 วัน อีกลอต 6 วัน ก้นทุเรียนแตกเกือบหมด แต่ของเวียดนาม 3-4 วันก็ถึงเพราะเขาใกล้กว่า สด เขียว ได้ราคาดี ของเราได้เพียง 177 บาท ที่จุดรวบรวม จะไปมณฑลอื่นไม่ได้เพราะระยะทางไกล ต้องขายตรงนั้น ส่วนตลาดปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ ยากที่เราจะไปตรงนั้นได้

ขณะที่จีนก็มีการพัฒนาปลูกทุเรียนในพื้นที่สิบสองปันนา ในเวลา 4 ปีได้ผลค่อนข้างดี ออกผลในฤดูกาลพร้อมไทย ถ้าจีนพัฒนาสามารถกระจายไปเป็นแสนเป็นล้านไร่ ซึ่งถือเป็นสิ่งที่น่ากลัวที่สุดของทุเรียนไทย  เนื่องจากความสำเร็จของงานวิจัยดังกล่าว สามารถพัฒนาพื้นที่นำร่องกว่าพันไร่ในเขตพื้นที่สิบสองปันนา ประกอบด้วย 3 สายพันธุ์  คือ หนามดำ มูซัมคิง และหมอนทอง คือโอกาสทุเรียนจีนที่จะมาเบียดทุเรียนไทยในอนาคต เขาสร้างองค์ความรู้ในการจัดการ เขาใช้ 3 อย่างเดินด้วยกันคือ มีสถาบันวิจัยเฉพาะเรื่องทุเรียน มีวิธีการที่ชัดเจน และเทคโนโลยีนวัตกรรม แตกต่างกับของไทยคือเกษตรกรต้องเอาตัวรอดเอง

"สิ่งสำคัญที่เรียนรู้ก็คือเมื่อมีคู่แข่งต้องทำทุเรียนให้มีคุณภาพหากอยากได้ราคา ไม่ต้องไปแข่งกับเวียดนามและจีน ให้แข่งกับตัวเองในการพัฒนาคุณภาพคือ จัดการผลผลิตห้ามมีหนอน ต้องตัดแก่ 34-35 เปอร์เซ็นต์ ไม่มีสารเคมีตกค้างในเปลือก และอร่อย อาจปรับเปลี่ยนเน้นผลสดมาเป็นการแกะเนื้อ ทุเรียนใต้ในตลาดจีนเรายังเป็นหนึ่งอยู่   สำคัญคือ ต้องเน้นคุณภาพมากขึ้นหลังเวียดนามและจีนรุกคืบ เราต้องรักษาความเป็นหนึ่ง"

ตั้งเป้าเพิ่มมาตรฐาน GMP ทุเรียนใต้

โดยเป้าหมายที่จะทำร่วมกับ บพท.ในระยะต่อไปจะยกระดับในต้นน้ำ กลางน้ำ ในการจัดการให้มีมาตรฐาน มี GMP สำหรับบรรจุและแกะเนื้อ แบ่งตลาดเป็น ตลาดต่างประเทศคือ กวางสี และปีหน้าเพิ่มเข้าคุนหมิงมากขึ้น และหาตลาดใหม่ พร้อมตลาดในประเทศสร้างราคาได้ ยกระดับให้มากขึ้นทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ตอนนี้ทางกลุ่มบาตูฯ ได้ส่งให้ห้างโลตัสวันละ 8-10 ตัน ในเวลา 100 วัน เป็นสิ่งที่เรียนรู้ภายใต้งานวิจัย

สำหรับความตั้งใจในเฟสต่อไปคือ เน้นกลางน้ำ เป็นการแกะเนื้อที่พรีเมี่ยมและแปรรูปทุเรียนเป็นอีกหลายอย่าง คนจีนถือว่าทุเรียนเป็นผลไม้มงคล ต้องการอาหารที่มีทุเรียนเป็นส่วนผสม และปลายน้ำ หาช่องทางตลาดอินเดีย อาหรับ และยุโรป