ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ปลูกผักขาย รายได้วันละ2พันบาท

ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ปลูกผักขาย รายได้วันละ2พันบาท

เข้าหน้าหนาว ชาวลาดเหนือตามรอยเกษตรพอเพียง ปลูกผักขายสร้างรายได้วันละกว่า2พันบาท

โดยชาวบ้านที่นี่จะใช้วิธีสับเปลี่ยน สร้างความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ทำกินของตนเอง ปลอดสารเคมี ปลูกพืชตามช่วงฤดูกาล ไม่ให้มากเกินไปน้อยเกินไป ส่วนเหลือกินยังสามารถเก็บไปขาย สร้างรายได้เข้าครอบครัวสูงกว่าวันละ 2 พันบาทเลยทีเดียวในช่วงนี้มีพืชผักสวนครัวส่วนใหญ่มีราคาดี

ชาวบ้านส่วนหนึ่งใน ต.หนองบัวแดง ที่ต้องประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำทั้งอุปโภคบริโภค มานานจนถึงเมื่อปี 2540 ที่ได้มีโอกาสลืมตาอ้าปากขึ้นมาได้ ได้มีแหล่งน้ำกินน้ำใช้มาได้จนปัจจุบัน จากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยลาดเหนือ ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระราชดำริ เมื่อวันที่ 1 ก.ย.2540 ให้ดำเนินการสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กในจุดนี้ขึ้น เพื่อช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่บ้านลาดเหนือ รอยต่อกว่า 3 หมู่บ้าน กว่า 1,000 ครอบครัว ในต.หนองบัวแดง อ.หนองบัวแดง จ.ชัยภูมิ

มาจนปัจจุบันพื้นที่ชาวบ้านที่ได้รับประโยชน์ ในการใช้น้ำนอกเหนือจากการเก็บไว้เป็นแหล่งต้นทุนน้ำไว้ผลิตประปา ยังสามารถเชื่อมระบบส่งน้ำชลประทานขนาดเล็ก เข้ากระจายไปช่วยพื้นที่ทำการเกษตรได้อีกมากกว่า 2,304 ไร่ มาจนปัจจุบัน

ที่ชาวบ้านที่นี่ก็พากันเดินตามแนวเกษตรพอเพียงมาต่อเนื่อง และเป็นอีกหนึ่งต้นแบบของชาวบ้านที่นี่ ที่ยึดแนวเศรษกิจพอเพียงตามรอยพ่อหลวงในหลวง รัชกาลที่ 9 มาได้เป็นอย่างดีจนปัจจุบัน

โดยนางทองหยุ่น อิติปิ ราษฎรในพื้นที่บ้านลาดเหนือ กล่าวว่า ชาวบ้านที่นี่ต่างยึดแนวทำการเกษตรแบบพอเพียง ผสมผสานการใช้พื้นที่ของแต่ละครอบครัวให้เกิดความเหมาะสมให้มากที่สุด หลักคือต้องมีอยู่อย่างพอเพียงให้ได้ก่อน มีการปลูกข้าว มีผัก มีไก่ มีไข่ มีผลไม้ มีแหล่งน้ำเข้ามาเก็บกักไว้ในพื้นที่ด้วยการสร้างสระน้ำขนาดเล็ก เพื่อที่จะช่วยป้องกันยามฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล เข้ามาเก็บไว้ใช้ในพื้นที่ได้อย่างต่อเนื่อง และจะไม่ปลูกพืชเชิงเดี่ยวเด็ดขาด เพราะหากล้นตลาดขึ้นมาก็จะไม่ได้อะไรเลย

และเมื่อพื้นที่การเพาะปลูกมีความเป็นอยู่ดีขึ้น สามารถเก็บกินได้มีพอเพียงเป็นอยู่ได้ทุกวันแล้วเราก็ไม่มีรายจ่ายอะไร ถึงจะหาส่วนขยายเพิ่ม ที่ไม่ต้องมากเกินไปน้อยเกินไป ไม่หนักตนเอง ตามแรงตนเองและญาติๆ คนในครอบครัวช่วยกันออกมาทำได้ และก็สามารถมีรายได้เข้ามาเสริมครอบครัวเพิ่มได้ คือปลูกพืชให้เหมาะสมตามฤดูกาลไม่ต้องมากเหลือกิน ก็พอขาย จนทุกวันนี้ในช่วงหน้าหนาวปีนี้ ส่วนพืชผักสวนครัวต่างๆที่นี่สามารถปลูกได้หมด ก็สามารถนำไปขายสร้างรายได้เข้าครอบครัวได้อีกอย่างน้อยไม่ต่ำกว่าวันละ 2,000 บาท ด้วยเช่นกัน

และนอกเหนือจากนี้เรายังจะต้องมีการศึกษาบำรุงดินในพื้นที่ว่ามีความเหมาะสม มีการเสื่อสภาพลงไปด้วยหรือไม่ ก็ต้องมีการปลูกพืชช่วยบำรุงดินเข้ามาเพิ่ม โดยไม่ใช้สารเคมี จนทุกวันนี้นอกเหนือจากการเป็นแปลงเกษตรพอเพียงต้อนแบบของตำบลแล้ว ยังได้รับการตอบรับจากองค์กรภายนอก ให้เป็นแปลงโครงการส่งเสริมรูปแบบการเกษตรยั่งยืน (เกษตรทางรอด) ร่วมกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว และมูลนิธิโลโรปาร์ค แห่งประเทศสเปน ยกใหเปฯแปลงเกษตรทางรอดเพื่อลดการพึ่งพิ่งป่าภูเขียว ตามโครงการพระราชดำริ ต้นแบบของจ.ชัยภูมิ อีกด้วย ที่การดำเนินการตามโครงการตามแนวพระราชดำริ ของนางทองหยุ่นฯครั้งนี้ ยังย้ำให้ฟังอย่างน่าคิดอีกว่า ที่สำคัญคืนดิน ที่เราจะต้องศึกษาดินในพื้นที่ของตนเองให้ได้ว่า จุดไหนควรปลูกอะไร ซึ่งตามโครงการเกษตรทางรอดเพื่อลดการพึ่งพิ่งป่าในจุดนี้ที่เกิดขึ้นมาได้ เพราะเราได้มีการศึกษาดินที่ในพื้นที่ ยังสามารถเพาะต้นผักหวานป่าจากเมล็ด และนำมาปลูกในพื้นที่เกิดได้เป็นอย่างดี โดยที่คนไม่ต้องไปรบกวนป่า หรือบางรายขึ้นไปแอบลักลอบเผาให้ผักหวานเกิดความความเชื่อ ซึ่งจุดนี้ก็ทำให้ป่าเกิดเสื่อมโทรมเป็นปัญหาหนักมาแต่อดีตได้

แต่มาจนทุกวันนี้เมื่อชาวบ้านทุกคนรู้ว่า สามารถเพาะผักหวานป่ามาจากเมล็ดมาพื้นในพื้นที่ตนเองได้ และสามารถเก็บไปขายตามช่วงฤดู ซึ่งก็จะสามารถสร้างรายได้กว่า กก.ละ 300 บาท เมื่อทุกคนมีสามารถปลูกเองได้ ไม่ทำลายป่าและยังช่วยสร้างความเขียวให้หมู่บ้าน ในพื้นที่รอบหมู่บ้านเพิ่มขึ้นความสมดุลย์ทางธรรมชาติน้ำป่าไม้ จากเชิงเขาที่พวกเราอยู่ที่นี่ก็จะยั่งยืนตามมาได้ไม่ยากมาจนปัจจุบันได้

ซึ่งทุกวันนี้คนในชุมชนกว่า 800 ครอบครัว ก็สามารถตามรอยพระราชดำริ ทำการเกษตรทางรอด อยู่กันมาได้ตั้งแต่ปี 2540 เกือบจะ 20 ปีมาได้จนปัจจุบัน ทั้งปลูก ผักหวานป่า ชะอม มะละกอ พืชผักสวนครัวได้ทุกชนิด มีบ่อปลา เลี้ยงเป็ดไก่ ต้นไผ่ ผลไม้นานาชนิดตามช่วงฤดูกาล อื่นๆได้อีกจำนวนมาก ตามความเป็นอยู่ก็แบบพอเพียงมาได้จนทุกวันนี้

โดยนายคำม้าย อิ่มเอิบ ประธานกลุ่มผู้ใช้น้ำอ่างเก็บน้ำห้วยลาดเหนือ อันเนื่องมาจากโครงการพระราชดำริ กล่าวทิ้งท้ายว่า ทุกวันนี้ชาวบ้านในตำบลหนองบัวแดง กว่า 3 หมู่บ้าน นับอีกหลายพันครอบครัว มีพออยู่พอกินลืมตาอ้าปากมาได้จนทุกวันนี้ ต่างเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวง รัชการที่ 9 ที่พระราชทานโครงการเข้ามาช่วยส่งเสริมราษฎรในจุดนี้ ถ้าไม่มีพระองค์ทุกวันนี้ก็คงไม่มีความเป็นอยู่ของชาวบ้านที่ดีขึ้นตามมาจนทุกวันนี้ได้