แตกตื่น! พายุ 'งวงช้าง' 4 สาย ห่างฝั่งหลีเป๊ะ(มีคลิป)
แตกตื่น! พายุ "งวงช้าง" 4 สาย ห่างฝั่งหลีเป๊ะ (มีคลิป)
เมื่อช่วงก่อนเที่ยงที่ผ่านมา (25พ.ย.) ได้เกิดพายุ "งวงช้าง" ถึง 4ลูก เกิดขึ้นพร้อมกัน ซึ่งมีลักษณะเป็นเกลียวคลื่น หมุนวนอยู่กลางทะเล ห่างจากชายฝั่งของหาดเกาะหลีเป๊ะ เกาะกลางทะเลอยู่ในเขตจังหวัดสตูล ทางตอนใต้ของเกาะอาดัง ห่างจากแผ่นดินของจังหวัดสตูล 85 กิโลเมตร สร้างความตืนตาให้กับผู้ที่พบเห็น
ขณะที่ผู้ใช้เฟชบุค "Donwahab Khiaddech" บันทึกภาพในช่วงที่เกิดเหตุเอาไว้ได้ด้านหน้ารีสอร์ท Power Beach Resort ท่ามกลางความสวยงามของน้ำทะเลสีเขียวริมชายฝั่ง ในบรรยากาศเมฆครึ้มมองเห็นพายุงวงช้าง 4 สาย หน้าหาด Sun Rise อยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะหลีเป๊ะ ใกล้หมู่บ้านชาวเล อยู่ห่างจากชายฝั่งประมาณ 8-9 ไมล์ทะเล (1ไมล์ เท่ากับ 1.66 กม.) โดยพายุงวงช้างเกิดขึ้นนานเป็นเวลา10-15 นาที เมื่อพายุสงบก็มีฝนตกลงมา
ส่วนผู้ใช้เฟชบุค "อึ้งเพ้า" ซึ่งเดินทางไปเที่ยวที่หลีเป๊ะ ก็ได้โพสต์ภาพขณะเกิดพายุงวงช้างด้วยเช่นกัน พร้อมบอกว่า ในช่วงที่เกิดนั้นมีฝน และ ลม พัดแรง ตื่นเต้นที่ได้เห็นกับภาพ พายุ งวงนี้ จึงบันทึกภาพเก็บไว้
นาย สุรพงษ์ สาระปะ โฆษกกรมอุตุนิยมวิทยา บอกว่า ภาพที่เห็นนับเป็นความสวยงามทางธรรมชาติ แต่ก็อาจมีอันตรายบริเวณที่ ลมงวง เคลื่อนผ่าน และ ปรากฎการณ์นี้ มีชื่อเรียกว่า " ลมงวง " หรือ พายุ "งวงช้าง" โดยทะเลฝั่งอันดามัน จะพบเห็นได้บ่อย โดยพายุ "งวงช้าง" 2-3 สาย เห็นได้บ่อย แต่พายุงวงช้าง 4 สาย ไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อยนัก ส่วนการเกิดบนอ่างเก็บน้ำ หรือ เขื่อน เรียกว่า"นาคเล่นน้ำ"
ปรากฏการณ์พายุ "งวงช้าง" มักเกิดขึ้นบ่อยในช่วงหน้าฝน และ ช่วงเปลี่ยนฤดู การเกิดครั้งล่าสุดเกิดขึ้นในทะเลไม่ได้ขึ้นฝั่งจึงไม่ได้สร้าง อันตราย ความเสียหาย แต่ทำให้เกิดความตื่นตาตื่นใจกับผู้ที่ได้พบเห็น
สำหรับข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ปรากฏการณ์ "พายุ งวงช้าง" มีชื่อที่ถูกต้องคือ "พายุนาคเล่นน้ำ" หรือ "พวยน้ำ" (water spout) หมายถึง ปรากฏการณ์ที่มีลักษณะคล้ายท่อน้ำขนาดใหญ่ เชื่อมต่อระหว่างผืนฟ้า และ พื้นน้ำ เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นจากลมพัดวน บิดเป็นเกลียว เห็นได้จากเมฆ ที่มีลักษณะเป็นลำ หรือเป็นกรวยหัวกลับ ยื่นลงมาจากฐานของเมฆคิวมูโลนิมบัส (เมฆฝนฟ้าคะนอง) และ เห็นได้จากพวยน้ำที่พุ่งขึ้นมาเป็นพุ่ม ประกอบด้วยหยดน้ำพุ่งเป็นฝอยขึ้นจากผิวพื้นทะเล มีลมแรงพัดเข้าหาบริเวณศูนย์กลางของพวยน้ำ ยอดของพวยน้ำอาจเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่แตกต่างไปจากฐาน ทำให้แกนเอียง หรือ บิดเบี้ยวแล้วหลุดออกจากกัน และ สลายตัวไป
ขอบคุณ "Donwahab Khiaddech" และ "อึ้งเพ้า"