'กฤษฏา' สั่งด่วน หน่วยงานกระทรวงเกษตรฯ เร่งเฝ้าระวังติดตามพายุ 'ปาบึก'

'กฤษฏา' สั่งด่วน หน่วยงานกระทรวงเกษตรฯ เร่งเฝ้าระวังติดตามพายุ 'ปาบึก'

"กฤษฏา" สั่งด่วน หน่วยงานกระทรวงเกษตรฯ เร่งเฝ้าระวังติดตามพายุ "ปาบึก"ใช้ทุกช่องทางการสื่อสารแจ้งข่าวไปยังพื้นที่เพื่อทราบสถานการณ์ ตลอด 24 ชม.

นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากประกาศเตือนของกรมอุตุนิยมวิทยา กรณีพายุโซนร้อน “ปาบึก” ที่คาดว่าจะเคลื่อนลงอ่าวไทย ซึ่งจะส่งผลให้วันที่ 3 - 5 ม.ค.2562 เกิดฝนตกหนักทั้ง 16 จังหวัดภาคใต้ ได้มีความห่วงใยถึงสถานการณ์ดังกล่าว จึงได้สั่งการให้ผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รีบสั่งการทางวิทยุ/ช่องทางการสื่อสารทุกช่องทางไปยังหน่วยงานกระทรวงเกษตรฯ ในพื้นที่พร้อมจัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ตลอด 24 ชม.ทั้งด้านการสูบน้ำการอพยพปศุสัตว์การเตือนประชาชน พร้อมกำชับให้เร่งรีบดำเนินการ รวมทั้งมอบหมายผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรฯ ไปตรวจติดตามด้วย เพื่อลดความสูญเสียให้น้อยที่สุด และรายงานผลให้ทราบทุกระยะ


สำหรับการป้องกันแก้ไขปัญหาจากพายุปาบึกในพื้นที่ 16 จังหวัดภาคใต้ขอให้ทุกหน่วยตรวจสอบวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำการบ้านพักโดยให้หาทางระวังป้องกันอันตรายจากพายุปาบึก ที่อาจทำให้ทรัพย์สินของทางราชการเสียหายไว้ด้วยพร้อมกันนี้ขอให้ประสานงานกับกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดและหน่วยทหารในพื้นที่ให้เพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพด้วย
ทั้งนี้ จากการประชุมกองบัญชาการและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติในการเฝ้าระวัง ติดตาม และเตรียมการเผชิญเหตุ กรณีพายุโซนร้อน “ปาบึก” เมื่อวันพุธที่ 2 มกราคม 2562 ที่ผ่านมา แนวโน้มสถานการณ์ ช่วงวันที่ 3-5 มกราคม 2562 มีปริมาณฝน 200 - 300 มม/วัน มีคลื่นความสูง 3-5 เมตรโดยทุกหน่วยงานของกระทรวงเกษตรฯ และกรมชลประทาน ได้ปฏิบัติการดังนี้

1.ทุกหน่วยงานประเมินความเสี่ยงและลดความเสี่ยงเตรียมป้องกันเหตุ โดยติดตามเส้นทางพายุ ปริมาณฝน ปริมาณน้ำท่า คลื่นจากพายุ (strom surge) เพื่อดำเนินการพร่องน้ำ/ระบายน้ำ รองรับมวลน้ำ และบริหารจัดการน้ำในเขื่อน อ่าง ขนาดต่าง ๆ ให้สอดคล้องขนาดและความรุนแรงของพายุ

2. จัดสรรพกำลัง ยานพาหนะขนาดใหญ่ เครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ ระบบสื่อสาร/วิทยุสื่อสาร ความพร้อมประตูระบายน้ำ เสบียงอาหาร เสบียงสัตว์ เวชภัณฑ์ เพิ่มเติมจากที่มีอยู่ในพื้นทีเมื่อเผชิญเหตุอุทกภัยก่อนหน้า

3. ร่วมปฏิบัติการตามแนวปฏิบัติของกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดอย่างใกล้ชิด

4. ร่วมสนับสนุนการป้องกัน ระงับยับยั้ง เรือประมง ตามประกาศงดเดินเรือของจังหวัด

5. เตรียมพร้อมเพื่อการหยุดยั้งความเสียหาย การประเมินความเสียหาย และการฟื้นฟู ด้านการเกษตร เมื่อพายุได้ผ่านไปโดยเร็ว