โมเดลธุรกิจยั่งยืน "ภูมิใจ" วิสาหกิจชุมชนปลายด้ามขวาน
“ภูมิใจ” วิสาหกิจชุมชน โมเดลใหม่ ส่งเสริมชุมชนเลี้ยงปลา ทำเลปลายด้ามขวาน “เชื่อมโยง ต้น-กลาง-ปลายน้ำ" จากบ่อเลี้ยงสู่ร้านอาหารดัง เล็งแปรรูปเกล็ด-กระดูกปลา สู่ธุรกิจยา (Zero waste) ใช้ดิจิตอลบริหารจัดการดันมาร์จิ้น สร้างชุมชนเข้มแข็งยั่งยืน
Social Venture Institution (SI)หรือ เอสไอ สถาบันพัฒนาธุรกิจเพื่อชุมชน สร้างนวตกรรมทางธุรกิจ ด้วยการปั้น บริษัท “ภูมิใจ” วิสาหกิจชุมชน ที่เปิดโอกาสให้เกษตรกร มีบทบาทในฐานะพันธมิตร หุ้นส่วน และเจ้าของ หน่วยธุรกิจ (Business Unit)โดยสร้างดิจิตอล แพลตฟอร์ม ให้เป็นฐานในการบริหารจัดการ เพื่อเศรษฐกิจโปร่งใส จริงใจ
“ภูมิใจ” ปักธงนำร่องโครงการชุมชนในสมรภูมิ ใต้สุดชายแดนไทย ยะลา-เบตง ยกระดับผลผลิตทางการเกษตร ปลาแบล็กเพิร์ล (ไซอะมีส ทิลาเพีย) หรือ Black Pearl (Siamese Tilapia)ทางเลือกของโปรตีนคุณภาพ สู่ผู้บริโภคในประเทศ ก่อนมุ่งสู่ตลาดส่งออก
“เริ่มที่ยากและเหมือนจะเป็นไปไม่ได้ ให้เป็นไปได้...ที่เหลือจะง่ายหมด” ศศิญา ศิลานุรักษ์ ผู้เริ่มก่อตั้งและผู้บริหารองค์กร เผยเมื่อคิดจะสร้างความแตกต่าง สิ่งที่ทำต้องแตกต่างอย่างมีนัยยะ
เธอเล่าว่า ความสำเร็จก้าวแรกในการเป็น Start up วิสาหกิจชุมชน ของกลุ่ม บริษัท ภูมิใจ ในพื้นที่เสี่ยง ต้องใช้ใจนำทาง และการเรียงร้อย เชื่อมโยงศักยภาพของชุมชน ให้เข้าถึงการพัฒนาธุรกิจอย่างเป็นระบบ เข้าใจกลไกลการตลาด และความร่วมมือในการที่จะผลักดันให้ชุมชนเติบโตจากรากฐานที่มีความเข้าใจ มีการพัฒนา ปรับเปลี่ยนทัศนคติ ด้วยการวางใจ เชื่อใจซึ่งกันและกัน และยอมรับในความเป็นมืออาชีพ บูรณาการความร่วมมือของทั้ง ชุมชน เอกชน และภาครัฐ ในการขับเคลื่อน
ศศิญา ได้วางแนวทางให้ บริษัท ภูมิใจ เติบโตโดยกลุ่มเกษตรกร และชุมชนที่เข้ามามีส่วนร่วม มีส่วนเป็นเจ้าของ เปลี่ยนภูมิปัญญาและผลผลิตเป็นทุน ใช้ ดิจิตอล แพลตฟอร์ม เข้ามาช่วยบริหารจัดการ ประมวลผล และเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงาน
“ผลสำเร็จในครั้งนี้ ถูกขับเคลื่อนด้วย เจตจำนงที่ต้องการสร้างความรุ่งเรือง และสันติสุขในการอยู่ร่วมกันของชุมชน สิ่งแวดล้อม และทุกชีวิตอย่างยั่งยืน”
ทั้งนี้ ในเวลาเพียง 1ปี กับ 2เดือน ที่ผ่านมา สิ่งที่สร้างความสำเร็จและความแตกต่าง อย่างมีนัยยะ มีดังต่อไปนี้
เสริมศักยภาพของกลุ่มเกษตรกรเลี้ยงปลา ในการพัฒนาผลผลิตระดับพรีเมี่ยม ยกระดับคุณภาพปลาน้ำจืด โดยวางตำแหน่งทางการตลาด ด้วย “ปลาแบล๊กเพิร์ล” (ไซอะมีส ทิลาเพีย) ซึ่งกำลังจะพร้อมเสิร์ฟในร้านอาหารชื่อดัง ในเร็วๆนี้ "ภูมิใจ" จึงมิได้เป็น เพียงผู้ซื้อผลผลิตเท่านั้น แต่ยังเป็นส่วนสำคัญของการทำงานปลายน้ำที่บริษัทภูมิใจ ต้องการที่จะบูรณาการ นวตกรรมทางธุรกิจ ที่ทำให้เกิดการพัฒนาการทำงานกับกลุ่ม เกษตรกรต้นแบบ ที่เบตงได้อย่างเป็นรูปธรรม
อีกประการ คือการเล็งเห็นความสำคัญในเรื่อง Zero Waste หรือขยะเป็นศูนย์ ทำให้การทำงานเบื้องหลัง ประสานสอดคล้องได้เป็น อย่างดี ด้วยรูปแบบการจัดซื้อและการบริหารวัตถุดิบให้ขยะเป็นศูนย์ เกิดขึ้นได้จริง
"เราสามารถทำให้เกษตรกรเข้าถึงการสื่อสารและการทำงานผ่าน ระบบ online conference เพื่อเชื่อมโยงการทำงานระหว่าง หน่วยงานกลางที่ กรุงเทพฯ กับชุมชน ภาพฝันที่เห็นเกษตรกรอยู่ท่ามกลางหุบเขา เชื่อมโยงกับทีมงาน ที่อยู่ในตัวเมือง เกิดขึ้นจริงไม่ใช่แค่จินตนาการนำระบบดิจิทัล เข้ามาบริหารจัดการข้อมูล (Data Log) สร้างศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยน ข้อมูลที่เกี่ยวกับการบริหารฟาร์ม การบริหารต้นทุนการผลิต การแจ้งยอด ค่าใช้จ่ายและรายได้ เพื่อสร้างความคุ้นเคยในการทำงานด้วยระบบดิจิตอล สร้างวินัย และความโปร่งใสในการทำงานร่วมกันได้ความไว้วางใจจากกลุ่มเกษตรกรเบตง ระยะทาง และสถานะการณ์ ของท้องถิ่น"
เธอยังกล่าวว่า พื้นที่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่ได้เป็นข้อจำกัด ในการทำงานของอีกต่อไป เจ้าหน้าที่ส่วนกลางของภูมิใจ สามารถเข้าถึงชุมชน โดยทำงานทั้งภาคสนาม และการทำ workshop เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจ ให้กับเกษตรกร ในการปรับทัศนคติ และการเข้าถึงข้อมูล ได้เป็นอย่างดีสร้างกลุ่ม เกษตรกร ต้นแบบ “เบตง111” ที่มีทั้งไทยจีน ไทยมุสลิมสามารถทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี ด้วยการเชื่อมโยงศักยภาพและ ความชำนาญของคนในชุมชนเข้าด้วยกันดี สานต่อไม่หยุด กับเป้าหมาย “ภูมิใจ” เสริมสร้างเศรษฐกิจเกื้อกูล เพื่อชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน (Road Map)
โครงการที่อยู่ในสายการผลิต ต่อยอดมูลค่าผลผลิตจากปลาสด ด้วยการ สร้างมูลค่าเพิ่มในการใช้ประโยชน์สูงสุดจากวัตถุดิบที่เหลือในขบวนการแปรรูป เพื่อให้ขยะเป็นศูนย์ ด้วยการนำ เกล็ดและกระดูกปลา มาทำผลิตภัณฑ์ในหมวด อาหารและยา มูลค่าเพิ่มนี้จะเกิดการแบ่งปัน ผลประโยชน์กลับสู่ชุมชน ด้วยนวตกรรมทางโมเดลธุรกิจ เพื่อวิสาหกิจชุมชน ภายใต้การดูแลของ บ.ภูมิใจ
ในส่วนของการเลี้ยงปลาน้ำจืด บ.ภูมิใจ กำลังขยายการนำรูปแบบ ธุรกิจดังกล่าว เพื่อเข้าพัฒนาชุมชนในพื้นที่อื่นๆ ด้วยการเข้าสำรวจพื้นที่ในจังหวัด นราธิวาส ปัตตานี พัทลุง และพะเยา เพื่อให้ชุมชนที่ห่างไกลแต่มีศักยภาพในการ พัฒนาเกษตรชุมชน ได้มีโอกาสเข้าถึงโครงการดังกล่าวและ “ภูมิใจ” จะยังคงพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เพื่อสนับสนุนผลผลิต จาการทำเกษตรผสมที่นอกเหนือจากปลาน้ำจืด ซึ่งจะนำเสนอในวาระต่อไป