นักวิชาการแนะรัฐอย่าแทรกแซงกลไกตลาดข้าวเหนียว
นักวิชาการคลังสมองชาติ แนะรัฐอย่าแทรกแซงกลไกตลาดข้าวเหนียว ระบุราคาใกล้ปรับตัวลดลง อีก 1 – 2 เดือนราคาปรับลดงสู่ภาวะปกติ ขณะที่เตือนเกษตรกรอย่าขยายพื้นที่ปลูกหวั่นส่งผลกระทบระยะยาวทั้งราคาและคุณภาพข้าว
นายสมพร อิศวิลานนท์ นักวิชาการอาวุโสสถาบันคลังสมองของชาติ กล่าวว่าปัจจุบันมีผลผลิตข้าวเหนียวเฉลี่ยประมาณ 15.5 ล้านไร่ และมีผลผลิตประมาณ 6.05 ล้านตันข้าวเปลือก หรือเมื่อนำมาสีแล้วจะได้ประมาณ 3.5 - 3.7 ล้านตัน โดยใช้สำหรับการบริโภคภายในประเทศเป็นสำคัญ และส่วนใหญ่เกษตรกรในพื้นที่อีสานจะเก็บข้าวเหนียวไว้บริโภคในครัวเรือนเป็นความมั่นคงทางอาหารและมีเพียง 10% เท่านั้นที่ส่งออก โดยในปี2561 มีปริมาณส่งออก 0.38 ล้านตัน โดยข้อมูลจากสมาคมโรงสีระบุว่าข้าวเปลือกเหนียว กข6 ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2561 จากตันละ 14,000 - 14,500 บาท มาเป็นตันละ 20,000 บาท ในกลางเดือนส.ค.ที่ผ่านมาหรือปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 70% ทั้งนี้ปรากฎการณ์ข้าวเหนียวมี ราคาแพงที่เกิดขึ้นในขณะนี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านอุปทานในตลาดข้าวเหนียวภายในประเทศ
อย่างไรก็ตามราคาข้าวที่ปรับตัวสูงขึ้นนี้จะแกว่งตัวไปสักระยะหนึ่งแล้วจะมีทิศทางที่ลดลง เมื่อมีการ ปรับเปลี่ยนพื้นที่มาปลูกข้าวเหนียวกันมากขึ้น รวมถึงมีการลักลอบนำเข้าจากชายแดนที่ติดกับประเทศเพื่อน บ้านที่ข้าวเหนียวมีราคาต่ำ ขณะที่ผู้บริโภคข้าว เหนียวโดยจะปรับตัวโดยหันมาใช้ข้าวสารเจ้าที่มีราคาต่ำกว่ามาทดแทนในการบริโภค ซึ่งจะส่งผลให้อุปสงค์การบริโภค ข้าวเหนียวในภาพรวมหดตัวลง และในขณะเดียวกันจะมีการขยายพื้นที่เพาะปลูกกันเพิ่มขึ้นเพราะเห็นว่าได้ ราคาดีซึ่งจะมีผลทำให้ระดับราคาข้าวเหนียวลดลงได้และเชื่อว่าอีก 1 – 2 เดือนจะเห็นราคาข้าวเหนียวกลับสู่ภาวะปกติ
ส่วนการจัดการของภาครัฐต่อปัญหาราคาข้าวเหนียวแพงรัฐไม่ควรเข้าไปแทรกแซงกลไกตลาด ไม่ว่าจะเป็นการจัดข้าวถุงมาขาย หรือการตรวจเช็กสต็อกเพื่อเอาผิดโรงสี เพราะปรากฎการณ์ข้าวเหนียวราคาแพงไม่ใช่เกิดจากการกักตุนของโรงสี แต่ส่วนใหญ่มาจากการบริหารสต็อกข้าวทั้งของโรงสีและเกษตรกรตามสถานการณ์ภัยแล้งและผลิตข้าวเหนียวที่ลดลง
“ราคาข้าวเหนียวที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นภาวะชั่วคราวควรจะใหเกษตรกรได้รับราคาที่ดีบ้างไม่น่าจะเป็นเรื่องแปลกและเสียหาย รัฐไม่ควรเข้าไปแทรกแซงกลไกตลาดอย่างที่ทำอยู่ เพราะข้าวเหนียวใช้บริโภคในประเทศโดยครัวเรือนเก็บไว้เองเป็นส่วนใหญ่ ถ้าหากฟ้าฝนดีในเดือนนี้การคาดการณ์ว่าจะไม่มีข้าวสารกินในครัวเรือนจะหมดความวิตกลง และจะขายผลผลิตออกมา ขณะเดียวกันผู้บริโภคในเมืองสามารถใช้ข้าวสารเจ้าทดแทนในการบริโภคได้ เพราะเป็นสินค้าที่ทดแทนกันได้ในระดับหนึ่งราคาข้าวเหนียวจะลดลงสู่ภาวะสมดุลในไม่ช้า” นายสมพร กล่าว
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
-เลขาฯ รมว.เกษตรฯ ชี้แจงข้อเรียกร้องกลุ่มสหพันธ์เกษตรกร
-สศก.เผยเกษตรกรแห่ขายทุเรียนออนไลน์ส่งออกพุ่ง
-รัฐเตือนเกษตรกร รับมือ 'ฝนน้อย'
-เตือน! เกษตรกรพื้นที่ฝนน้อย-ฝนทิ้งช่วง เตรียมป้องกันความเสียหายจากปัญหาขาดน้ำ