อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในญี่ปุ่น ไม่แผ่ว ป้ายหน้า “พลาสติกชีวภาพ” โตแรง

อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในญี่ปุ่น ไม่แผ่ว ป้ายหน้า “พลาสติกชีวภาพ” โตแรง

กระแสอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกำลังมาแรงแต่จะไปเร็วหรือไม่ ต้องดูกันไปยาวๆ แต่ที่แน่ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมควบคู่การอยู่ได้ของธุรกิจและความสะดวกสบายของผู้คนที่ประเทศญี่ปุ่นกำลังผสมผสานกันได้อย่างสวยงาน

อุตสาหกรรมBio-Circular และGreen Economy เป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลปัจจุบันที่ต้องการวางรากฐานเศรษฐกิจประเทศ โดยอุตสาหกรรมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ได้แก่ เกษตรและเทคโนโลยีชีวภา และเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ

ด้านการผลิตได้รับการส่งเสริมแล้วแต่ด้านการตลาดพบว่าแม้ในประเทศไทยยังไม่ตื่นตัวเรื่องนี้มากนักแต่ในประเทศญี่ปุ่น โดยกิตติวัฒน์ ปัจฉิมนันท์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ (สคต.) กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เปิดเผยผ่านรายงานMarketing Report From Tokyo July 2019 ว่า แนวโน้มการบริโภคพลาสติกชีวภาพในภาคธุรกิจญี่ปุ่น Bioplastics หรือ พลาสติกชีวภาพ กำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดด 

ข้อมูลจากสถาบันวิจัย Yano Research Institute พบว่า ในปี 2553 พลาสติก Bio-PET และ Bio-PE ถูกนำไปใช้ผลิตสินค้าหลายประเภทสำหรับการบริโภคของภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรม ส่งผลให้ตลาดพลาสติกชีวภาพในญี่ปุ่นขยายอย่างต่อเนื่อง ก่อนเริ่มทรงตัวในปี2557 และล่าสุดในปี 2560ญี่ปุ่นผลิต Bioplastics ปริมาณถึง 47,780 ตัน ซึ่งเป็นการขยายตัว1.9%จากปีก่อน

         แม้อัตราขยายตัวจะไม่สูงมากแต่พบว่ากระแสการดูแลสภาพนิเวศน์ทางท้องทะเลที่เกิดจากพลาสติกที่ใช้แล้วทิ้งลงทะเล และในปี 2561 ประเทศญี่ปุ่นเผชิญกับสภาพอากาศในช่วงฤดูร้อนที่มีอุณหภูมิสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ส่งผลให้ความต้องการขวด Bio-PET ที่บรรจุน้ำดื่มเพิ่มขึ้นและคาดว่าปริมาณการใช้พลาสติกชีวภาพจะเป็นไปในทิศทางเดียวกันโดยปริมาณการบริโภคในปี 2561  จะอยู่ที่ระดับ 51,285 ตัน

ประเทศญี่ปุ่นถือเป็นยักษ์ใหญ่แห่งอุตสาหกรรมพลาสติกของเอเซียและของโลก โดยมีขนาด อุตสาหกรรมพลาสติกใหญ่เป็นอันดับ 2 ของเอเซียรองจากประเทศจีน อีกทั้งเป็นประเทศที่ผลิตขยะพลาสติก จากภาชนะบรรจุภัณฑ์แบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง (single-use plastics) ต่อคน สูงที่สุดอันดับ 2 ของโลก

  7-AugT-EEC01

ญี่ปุ่นจึงให้ ความสนใจต่อการผลิตและบริโภคสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมากหลังจากประเทศจีนได้ประกาศงดการนำาเข้าของเสียพลาสติกจากต่างประเทศในปี 2560 รวมถึงอีกหลายประเทศที่เริ่มงดการนำาเข้าขยะพลาสติกจากญี่ปุ่น ส่งผลให้ปัญหาขยะพลาสติกในญี่ปุ่นต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน

กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม หรือ เมติ ได้ ออกมาประกาศมาตรการลดการใช้ถุงพลาสติกในกลุ่มผู้บริโภค และมีเป้าหมายในการลดการผลิตจากกลุ่ม

อุตสาหกรรมการผลิตโดยการเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มหากผู้บริโภคต้องการถุงพลาสติก ซึ่งมาตรการดังกล่าวมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2562 ที่ผ่านมา

เช่นเดียวกับกระทรวงสิ่งแวดล้อมของญี่ปุ่นก็เริ่มมาตรการแบ่งสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ใช้กระบวนการผลิตพลาสติกที่สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ และมีการให้เงินสนับสนุนแก่บริษัทที่หันมาใช้กระดาษแทนพลาสติก

ล่าสุด เมื่อ 31 พ.ค. 2562 ที่ผ่านมารัฐบาลญี่ปุ่นได้ออกกลยุทธ์สำหรับการหมุนเวียนของทรัพยากร สำหรับผลิตพลาสติกหรือที่เรียกว่า Resource Circulation Strategy for Plastics โดยแผนงานดังกล่าว ดำเนินการคัดแยกและการรีไซเคิลขยะตามหลักคิด 3R (Reduce, Reuse และ Recycle) พร้อมทั้งเพิ่มการใช้ทรัพยากรที่ใช้แล้วสามารถทดแทนได้ (Renewable Resource) เข้าสู่กระบวนการด้วย โดยสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

ลดการสร้างขยะจากพลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้งลงในอัตราสะสม 25% ภายในปี 2573  และสามารถนำภาชนะบรรจุภัณฑ์มาใช้ Reuse และ Recycle ได้ภายในปี 2573 และให้ได้100% ในปี 2578 ซึ่งตามแผนนี้มีเป้าหมายการเพิ่มใช้ทรัยากรหมุนเวียนได้ถึงสองเท่าจากปัจจุบันและผลิตพลาสติกชีวภาพให้ได้ถึง 2 ล้านตันภานในปี 2573

      “กลยุทธ์ที่นำมาใช้ก็มีหลากหลาย เช่น ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมและสร้างระบบรีไซเคิลที่เหมาะสมถูกนำมาใช้ กระต้นอุปสงค์ตลาด เช่น รัฐบาลเป็นผู้นำร่องการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว (Green Procurement), ให้incentive สำหรับการใช้งานพลาสติกชีวภาพ การหันมาใช้พลาสติกชีวมวลเป็นวัตถุดิบในการผลิตตันภายในปี2573”

ด้านการเคลื่อนไหวภาคเอกชนพบว่า Mitsubishi Chemical Holdings Corporation ได้เริ่มเพิ่มการลงทุนในวัสดุระดับสูงในกลุ่มชิ้นส่วนยานพาหนะไฟฟ้ามากขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องใช้วัตถุดิบพลาสติกที่เบาและแข็งแรงกว่าเดิม โดยในเดือนเม.ย.ที่ผ่านมาบริษัทฯประกาศร่วมลงทุนกับบริษัทด้านวัสดุและเคมีภัณฑ์ญี่ปุ่นรายอื่นอีก 10 แห่งร่วมกันจัดตั้งกองทุนเพื่อลงทุนในบริษัท startup

ผู้ผลิตเครื่องดื่มเองก็พบว่ามีบริษัทหลายรายที่หันมาควบคุมการใช้พลาสติกในกระบวนการผลิตมากขึ้น ยกตัวอย่าง เช่น บริษัท Kirin Holdings ผลิตขวดพลาสติก R100 ที่ทำจาก ขวดพลาสติกรีไซเคิล PET 100% ซึ่งนวัตกรรมดังกล่าวทำ ให้กลายเป็นขวดที่เบาที่สุดที่สร้างขึ้นในญี่ปุุ่นและช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ Made in Japan ของบริษัท  ขวดเครื่องดื่มพลาสติกไร้ฉลากของ บริษัท Asahi Soft Drink อุตสาหกรรมพลาสติกมีทิศทางในการขยายตัวทิศทางเดียวกันกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

        เมื่อมองเห็นโอกาสทางการตลาดแล้วหันกลับมาที่ประเทศไทยซึ่งมีความได้เปรียบเพราะมีความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ และมีวัตถุดิบทางการเกษตรที่เหมาะแก่การผลิตพลาสติกชีวภาพ เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ซึ่งมีสัดส่วนการส่งออกและกำลังการผลิตระดับผู้นำโลก จึงมีศักยภาพในการผลิตพลาสติกที่ทำจากพืช (bio-based plastic)

ดังนั้น การหันมาให้ความสนใจในเทคโนโลยีด้านพลาสติกชีวภาพในภาคอุตสาหกรรมอาจเป็นโอกาสอันดี และช่วยให้ประเทศได้เปิดตลาดใหม่ๆ เพราะบริษัทในอุตสาหกรรมอาหารเครื่องดื่มและอุตสาหกรรมการผลิตที่เกี่ยวข้องได้ออกนโยบายบริษัทในการควบคุมการใช้พลาสติกให้สอดคล้องกับนโยบายภาครัฐ ซึ่งคาดว่านักลงทุนและผู้ประกอบการไทยที่อยู่ในห่วงโซ่การผลิตพลาสติก เช่น ผู้ส่งออกเม็ดพลาสติก รวมถึงธุรกิจอาหารเครื่องดื่มของไทยที่ส่งออกไปญี่ปุ่นจะได้รับผลกระทบด้านปริมาณการส่งออกในระยะยาวเช่นกันหากยังใช้พลาสติกที่ทำจากปิโตรเลียมอยู่

นอกจากการส่งเสริมของภาครัฐให้ผู้ประกอบหันมาผลิตพลาสติกชีวภาพมากขึ้นแล้ว ผู้ส่งออกในปัจจุบันอาจต้องพิจารณาปรับตัวและวางแผนกลยุทธ์ปรับเปลี่ยนการดำเนินงานในระยะยาว โดยเฉพาะการให้ความสนใจในด้านนวัตกรรมการผลิตที่ต้องเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศผู้ซื้อและรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันรวมทั้งส่วนแบ่งการตลาดในปัจจุบัน