พ่อแม่จีนยุคใหม่เลี้ยงลูกเน้น 'การศึกษา-เดินทาง'
พ่อแม่จีนยุคปัจจุบันให้ความสำคัญกับการใช้จ่ายด้านการศึกษาและการเดินทางแก่บุตรมากกว่าด้านอื่น ๆ
ขณะที่บรรดานักวิเคราะห์จากมอร์แกน สแตนลีย์ จัดทำรายงานที่บ่งชี้ว่า ในช่วงฤดูร้อนนี้ ธุรกิจติวเตอร์ทางออนไลน์สำหรับเด็กอนุบาลและเด็กเกรด 12 ขยายตัว 23 เท่าในระยะ 12 ปีข้างหน้าเป็น 160,000 ล้านดอลลาร์ ขณะที่การเดินทางไปต่างประเทศถือเป็นเครื่องหมายแสดงอัตลักษณ์ส่วนบุคคลของชาวจีนชนชั้นกลาง แต่การแต่งงานและอัตราการเกิดที่ต่ำในจีนบวกกับนโยบายมีลูกคนเดียวของรัฐบาลที่ใช้มานานหลายสิบปี กำลังทำให้เกิดสังคมสูงวัยในอัตราที่เร็วกว่าในสหรัฐ
ทั้งนี้ ประชากรชนชั้นกลางที่มีฐานะเป็นพ่อแม่ คือกลุ่มประชากรที่ใช้จ่ายเงินมากที่สุดเมื่อเทียบกับประชากรกลุ่มอื่น ๆ เมื่อปีที่แล้ว กั๊วะ ไค ชาวเซี่ยงไฮ้ บอกว่า ครอบครัวของเขาใช้จ่ายเงินประมาณ 80,000 หยวน (11,428 ดอลลาร์) ไปกับการเรียนพิเศษของลูกสาววัย 13 ปีในวิชาต่าง ๆ กว่า 5 วิชาด้วยกัน เริ่มตั้งแต่ เรียนการเขียนอักษรจีน ไปจนถึงเรียนวิชาฟิสิกส์ โดยส่วนใหญ่ของการเรียนพิเศษ เป็นการเรียนตัวต่อตัวหรือไม่ก็เรียนเป็นกลุ่มเล็ก ๆ แต่สำหรับวิชาคณิตศาสตร์และเคมี
กั๊วะบอกว่า เพื่อลดเวลาที่ใช้ในการเดินทาง เธอจึงตัดสินใจเปลี่ยนให้ลูกเรียนสองวิชานี้ทางออนไลน์
บรรดานักวิเคราะห์จากมอร์แกน สแตนลีย์ คาดการณ์ว่า การติววิชาต่าง ๆ ทางออนไลน์แก่เด็กอนุบาลจนถึงเด็กเกรด 12 จะเติบโตขึ้น 23 เท่า คิดเป็นเงินมูลค่า 160,000 ล้านดอลลาร์ ในปี 2573 อานิสงส์จากความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีและรัฐบาลจีนระบุว่างบประมาณด้านการศึกษาอย่างน้อย 8% ต้องมุ่งไปที่การศึกษาด้านดิจิทัล
“เราเห็นสัญญาณว่าการศึกษาทางออนไลน์กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญสำหรับการศึกษาในจีน และการศึกษาออฟไลน์ก็เป็นธุรกิจที่ช่วยให้การศึกษาทางออนไลน์เติบโตอย่างแข็งแกร่ง” เฉิง จง นักวิเคราะห์ในธุรกิจด้านการศึกษา กล่าว
อย่างไรก็ตาม ครอบครัวชาวจีน ไม่ได้สนับสนุนด้านการศึกษาเพียงอย่างเดียว พ่อแม่และผู้ปกครองชาวจีนรุ่นใหม่ พร้อมจะทุ่มเงินให้ลูกหลานได้เดินทางท่องเที่ยวในต่างประเทศอย่างน้อยก็ปีละครั้ง และท่องเที่ยวตามที่ต่าง ๆ ในประเทศจีนปีละหลายๆครั้ง ทำให้งบประมาณด้านการเดินทางของแต่ละครอบครัวอยู่ที่ปีละ 60,000 หยวน
ซีทริป เว็บไซต์จองตั๋วด้านการท่องเที่ยวสัญชาติจีน ระบุว่า ในช่วงปี 2561 และช่วงครึ่งแรกของปีนี้ บรรดาผู้ตอบแบบสอบถามกำลังใช้จ่ายด้านการเดินทางหรือการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นระหว่าง 10-30% และแต่ละคนใช้จ่ายโดยเฉลี่ย 6,000-9,000 หยวน
ขณะเดียวกัน แนวโน้มประชากรของจีนที่กำลังเปลี่ยนไปก็เป็นประเด็นให้พูดถึง โดยปัจจุบัน อัตราการแต่งงาน และอัตราการเกิดใหม่ของประชากรจีนถือว่าต่ำมาก ทำให้จีนมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นในอัตรารวดเร็วกว่าในสหรัฐ นอกจากนี้ ข้อมูลของรัฐบาลจีน ยังบ่งชี้ว่า คนโสดในจีนมีจำนวนเพิ่มขึ้น โดยมีจำนวนเกินกว่า 222 ล้านคนไปแล้วตั้งแต่ปลายปี 2560 ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 15% ของจำนวนประชากรจีนทั้งประเทศ
เฉพาะประชากรในกรุงปักกิ่ง เมืองหลวงของจีนเพียงแห่งเดียว ในปี 2560 มีจำนวนต่ำที่สุดในรอบ 20 ปี โดยจำนวนประชากรที่อาศัยอยู่ในกรุงปักกิ่งเป็นการถาวรอยู่ที่ราว 21.707 ล้านคน ลดลงราว 2.2 หมื่นคน เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2559 ในขณะที่ประชากรที่อาศัยอยู่ใน 6 อำเภอที่อยู่รอบนอกของกรุงปักกิ่งลดลง 3%
นอกจากนี้ หลังจากที่จีนย่างเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เมื่อปี 2553 จำนวนผู้สูงอายุยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คาดว่าจะเพิ่มปีละประมาณ 10 ล้านคน และภายในปี 2578 จีนจะมีผู้สูงอายุถึง 400 ล้านคน เข้าสู่ยุคสังคมผู้สูงอายุขั้นซูเปอร์
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ชาวจีนยกเลิกทัวร์ฟาร์มสหรัฐฉุดดาวโจนส์ร่วง
-'สหรัฐ-จีน' ฟื้นเจรจาเทรดวอร์
-ลุ้นแผนกดดันจีนของ“โจชัว หว่อง”
-นักเดินทาง 'จีน' ขาลง ฉุดท่องเที่ยว 'อาเซียน'