ผลักดันนักเทคโนโลยีไทยไปให้ถึงฝั่งฝัน
TMA ผนึกกำลังมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฯ ประกาศรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น พร้อมจัดสัมมนา STI Forum 2019 "แปลงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ธุรกิจ"
ตลาดธุรกิจในยุคปัจจุบันมีการแข่งขันที่สูงและทวีความท้าทายมากขึ้นในทุกปี การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ให้สามารถนำมาต่อยอดธุรกิจเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญ อ้างอิงจากการจัดลำดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดย International Institute for Management Development (IMD) แสดงให้เห็นว่าไทยควรมุ่งเน้นและผลักดันการวิจัยและพัฒนาเทคนโนโลยีและนวัตกรรม นำไปสู่การจดสิทธิบัตรและช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มในเชิงพาณิชย์ให้ได้มากขึ้น สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) และมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ จับมือร่วมกันจัดงานประกาศผลรางวัลพระราชทานนักเทคโนโลยีดีเด่น และงานสัมมนาเชิงวิชาการ Outstanding Technologist Awards and STI Forum 2019 ภายใต้หัวข้อ Turning Science & Technology into Business เพื่อเชิดชูเกียรติและแสดงความยินดีต่อนักเทคโนโลยีไทยที่สร้างผลงานด้านการวิจัยและการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งผลักดันให้ผลงานวิจัยได้เชื่อมโยงไปสู่ตลาดธุรกิจได้อย่างแท้จริง
นายสัตวแพทย์ รุจเวทย์ ทหารแกล้ว ประธานกรรมการรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า “ในปี 2562 นี้มีโครงการของนักเทคโนโลยีรวมทั้งสิ้น 62 โครงการ แบ่งเป็น โครงการนักเทคโนโลยีดีเด่น 41 โครงการ และโครงการนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่จำนวน 21 โครงการ โดยคำนึงถึงศักยภาพและความสามารถในการสร้างและพัฒนาเทคโนโลยี ที่สามารถนำไปใช้ในทางปฏิบัติหรือเชิงพาณิชย์ที่สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (ในหลวงรัชกาลที่ 9) ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้โครงการรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น และนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ใช้ “เรือใบซุปเปอร์มด” ซึ่งเป็นผลงานของพระองค์ท่านที่แสดงถึงการพัฒนาการให้เกิดประสิทธิภาพการใช้งานที่เป็นเลิศ เป็นแบบฉบับกระบวนการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างครบวงจร โดยนักเทคโนโลยีดีเด่น จะได้รับประติมากรรมเรือใบซุปเปอร์มด และนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่จะได้รับเหรียญเรือใบซุปเปอร์มดอีกด้วย”
งานสัมมนา “Outstanding Technologist Awards and STI Forum 2019” ที่จัดขึ้นในครั้งนี้ นับได้ว่าเป็นเวทีคุณภาพด้านนวัตกรรมระดับโลก เนื่องจากวิทยากรล้วนเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากนานาประเทศที่ประสบความสำเร็จ และมีชื่อเสียงมาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้ใหม่ ๆ และแนวคิดที่สามารถนำไปปรับปรุงประยุกต์ใช้ได้ภายในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น” นายสัตวแพทย์ รุจเวทย์ กล่าวเสริม
ภายในงาน จะมีการประกาศผลรางวัลพระราชทาน “นักเทคโนโลยีดีเด่น” เพื่อเชิดชูเกียรติ และเป็นขวัญกำลังใจแก่ นักเทคโนโลยีไทยที่มีผลงานโดดเด่นด้านการวิจัยและพัฒนาให้สร้างสรรค์งานที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ โดยไฮไลท์เด่นภายในงานจากภายใต้ theme งานหลัก “Turning Science and Technology into Business” ประกอบไปด้วย
• การบรรยายพิเศษในหัวข้อ “Visualizing Business Opportunities through Foresight” จากDr. Tamara Carleton, CEO and Founder, Innovation Leadership Group ผู้เชี่ยวชาญด้านการคาดการณ์ (Foresight) และนวัตกรรม (Innovation) ด้วยเครื่องมือ Foresight ที่สามารถช่วยองค์กรชั้นนำระดับโลกให้วางแผนการดำเนินธุรกิจได้อย่างถูกต้องเพื่อรองรับต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี
• การนำเสนอเทคโนโลยีขั้นสูง (TechShare) ซึ่งได้รับการยอมรับและคัดเลือกจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จนได้ผ่านเข้ารอบสุดท้ายของรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นประจำปี 2562
• บูธแสดงผลงานของนักเทคโนโลยีที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย
นางสาววรรณวีรา รัชฎาวงศ์ กรรมการบริหาร สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) กล่าวว่า “นอกจากการร่วมแสดงความยินดีและเชิดชูเกียรติของนักเทคโนโลยีดีเด่น และนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่แล้ว เรายังเป็นอีกหนึ่งองค์กรหลักที่ช่วยผลักดันให้นักเทคโนโลยีลุกขึ้นมานำเสนอไอเดียและต่อยอดงานวิจัยให้สามารถวางสู่ตลาดเชิงพาณิชย์ได้ เพราะเรามุ่งเน้นให้ความสำคัญและสร้างประโยชน์อันเกิดจากความร่วมมือและการถ่ายทอดเทคโนโลยี (Tech Transfer) จากหน่วยงานวิจัยไปสู่ภาคธุรกิจ อีกทั้งเป็นพื้นที่เชื่อมโยง (Network Platform) ระหว่างภาคเอกชน ภาครัฐ และภาคการศึกษาอีกด้วย”
โดยภายในงาน สมาคมฯ โดยกลุ่มบริหารเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Technology Innovation Management Group: TMA-TIMG) เชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิและผู้บริหารระดับสูงขององค์กรชั้นนำระดับโลก มาร่วมแบ่งปันแนวคิด ประสบการณ์การพัฒนาและต่อยอดงานวิจัยทางด้าน STI ให้สามารถตอบสนองความต้องการของโลกธุรกิจ ถ่ายทอดกรณีศึกษาการทำงานอย่างเชื่อมโยงจากหลายภาคส่วน เพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานได้ค้นหางานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรในการแข่งขันทางธุรกิจ
“กลุ่มเป้าหมายหลักที่เข้าร่วมงาน ได้แก่ ผู้บริหารองค์กรภาคเอกชน ภาครัฐ และภาคการศึกษา ที่เห็นความสำคัญของการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันผ่านการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในองค์กร รวมทั้งบุคลากรที่สนใจด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ตลอดจนกลุ่มสตาร์ทอัพ (Startups) รวมถึงผู้ประกอบการในธุรกิจอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งจะสามารถช่วยต่อยอดไอเดียจากห้องทดลองสู่ความสำเร็จเชิงพาณิชย์ได้อย่างแท้จริง” นางสาววรรณวีรากล่าวสรุปทิ้งท้าย
เกี่ยวกับสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย
TMA เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไร ที่ตั้งขึ้นเพื่อสร้างเสริมความเป็นเลิศและขีดความสามารถการแข่งขันทางธุรกิจในประเทศไทย บริการของเราประกอบด้วยการจัดการฝึกอบรมเกี่ยวกับการพัฒนาผู้นำและการจัดการในลักษณะ in-house ที่ออกแบบเฉพาะให้กับองค์กรที่สนใจ มีหลักสูตรฝึกอบรมแบบ public ที่เปิดกว้างสำหรับองค์กรและบุคคลทั่วไป มีบริการที่ปรึกษาการวางแผนธุรกิจให้กับองค์กรต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม บริการทำวิจัย การจัดการประชุมระดับนานาชาติ รวมทั้งกิจกรรมที่สร้างเครือข่ายและการส่งต่อองค์ความรู้เกี่ยวกับธุรกิจทั้งภาครัฐและเอกชนพันธมิตรของเราครอบคลุมถึงองค์กรนานาชาติ เช่น World Economic Forum (WEF), International Institute for Management Development-Switzerland (IMD) และ University of California Berkeley (UC Berkeley) เป็นต้น นับตั้งแต่องค์กรก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2507 มีผู้บริหารระดับสูงและผู้จัดการเข้าร่วมการฝึกอบรมกับ TMA มาแล้วมากกว่า 300,000 คน