จะเก็บภาษีค้าปลีกออนไลน์ นอกระบบได้อย่างไร | สัพเพเหระค้าปลีก
ตลาดการค้าบนโลกออนไลน์ ยิ่งนับวันการแข่งขันก็ยิ่งปะทุดุเดือดมากขึ้นจากปัจจัยบวกต่างๆ ทั้งพฤติกรรมผู้บริโภค โปรโมชั่นแต่ละแบรนด์ รวมถึงต้นทุนธุรกิจที่ลดลงจากการค้าแบบเดิม แม้จะมีกฎหมายอีเพย์เมนท์เข้ามาควบคุมเรื่องภาษี แต่การเติบโตก็ยังไม่หยุด
จากข้อมูลของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ (ETDA) พบว่ามูลค่าของอีคอมเมิร์ซ ในกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยเติบโตขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งคาดว่าจะสูงถึง 680,000 ล้านบาท ภายในปี 2562 นี้ คิดเป็นประมาณ 20% ของมูลค่าการค้าปลีกของไทย
ไทยมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่า 45 ล้านคน (2560) มี Mobile Subscriber กว่า 124.8 ล้านราย (2561) ผู้ใช้ Line กว่า 44 ล้านคน (2561) ผู้ใช้ Facebook กว่า 52 ล้านราย (2561) โดย ปี 2561 มูลค่าอีคอมเมิร์ซของประเทศไทย สูงถึง 3.2 ล้านล้านบาท จากการคาดการณ์ของศูนย์วิจัยกสิกรไทยประจำปี 2562 ชี้ว่าตลาดค้าปลีกออนไลน์ในประเทศไทย น่าจะมีมูลค่าสูงถึงกว่า 160,000 ล้านบาท หรือมีการเติบโตอยู่ที่ 20%
- ปรากฏการณ์ ชอปปิงออนไลน์ 9.9, 10.10 11.11 , 12.12,
ในช่วงเทศกาลแคมเปญเลขคู่ ไม่ว่าจะเป็น 9.9, 10.10 11.11 , 12.12, ผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซต่างทุ่มพลังมหาศาลในการจัดโปรโมชันส่งเสริมทางการตลาดผ่านการสาดราคาต่ำกว่าตลาดอย่างไม่มีใครยอมใคร แคมเปญ 9.9, 10.10 11.11 , 12.12, ปีนี้ บรรดา E-commerce ต่างก็จัดขึ้น "มหกรรมชอปปิง" เพื่อกระตุ้นยอดขายสินค้า นอกจากจะเป็น "มหกรรมชอปปิง" แล้ว ยังกลายเป็น "ประวัติศาสตร์" สร้างความสาเร็จ ให้แพลตฟอร์มและแบรนด์ที่ร่วมกิจกรรมอย่างมหาศาล
สถิติที่น่าสนใจจากมหกรรมชอปปิงออนไลน์ 9.9 ปี 2562 ทางผู้ประกอบการ Shopee แจ้งว่า : เขามีออเดอร์เพิ่มขึ้น 3 เท่า เมื่อเทียบกับกิจกรรมใน ปี2561 ที่ผ่านมา และขายสินค้า 187,606 ชิ้น ได้ใน 1 นาที โดยที่ 3 แบรนด์ที่ ได้รับความนิยมสูงสุด คือ L’Oreal Paris, 3M, Xiaomi และหมวดสินค้าที่ได้รับความนิยม ได้แก่ กลุ่มความงามและของใช้ส่วนตัว, เครื่องใช้ในบ้าน, มือถือ และอุปกรณ์เสริม
ขณะที่ Lazada ก็แจ้งว่า: เขามีออเดอร์เพิ่มขึ้น 5.2 เท่า เมื่อเทียบ กับปี 2561 ที่ผ่านมา และมีออเดอร์สินค้า 130,000 ชิ้น ใน 1 ชั่วโมง โดยที่ 3 แบรนด์ที่ได้รับความนิยมสูงสุด ได้แก่ โฟร์โมสต์, MamyPoko, Samsung Galaxy สินค้าที่เป็นที่นิยมอันดับต้น ๆ คือ สินค้าอุปโภค บริโภคของเด็ก เครื่องใช้ไฟฟ้า สมาร์ทโฟน เครื่องสำอาง สกินแคร์
- มีเพียง 4% ของธุรกิจค้าปลีกออนไลน์ที่จดทะเบียนถูกต้อง
จากข้อมูลบัญชีที่ผู้ใช้ไลน์ (Line) สำหรับธุรกิจมีถึง 2.7 ล้านบัญชี ในจำนวนนี้เป็นบัญชีสำหรับธุรกิจค้าปลีกถึง 1.3 ล้านบัญชี และในขณะที่บัญชี Facebook สำหรับธุรกิจทุกประเภทในไทยมีทั้งสิ้น 2.5 ล้านบัญชี ส่วน Instagram ไม่เปิดเผยข้อมูลบัญชีที่เป็นบัญชีธุรกิจ แต่ก็เชื่อว่าไม่น้อยกว่า 2 ล้านบัญชี
แต่สถิติตัวเลขผู้ขายออนไลน์จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า คาดว่ามีผู้ขายออนไลน์ในไทยสูงถึง 1 ล้าน 5 พันราย ในปี 2561 และตัวเลขการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีเพียงแค่ 49,849 รายเท่านั้น ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนไม่ถึง 4% การที่ผู้ขายออนไลน์ไม่จดทะเบียนให้ถูกต้องก็ทาให้ระบุ ตัวตนไม่ได้ ทำให้การเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภคสามารถกระทำได้อย่างง่าย
- กฎหมายอีเพย์เมนท์จะเก็บภาษีออนไลน์ได้จริงหรือ?
ขณะนี้ได้มีการประกาศให้ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ประเด็นที่เกี่ยวกับการทำธุรกรรมผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) เป็นกฎหมายแล้ว โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 มี.ค. 2562 และให้สถาบันการเงินส่งรายงานธุรกรรมครั้งแรกต่อกรมสรรพากร ภายในวันที่ 31 มี.ค. 2563
ประเด็นสำคัญของกฎหมายนี้ กำหนดให้สถาบันการเงินรวมถึงนอนแบงก์ ต้องแจ้งข้อมูลบัญชีที่รับเงินเข้าในข่ายที่เป็นธุรกรรมพิเศษ ประกอบด้วย 1.การฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 3,000 ครั้งต่อปีต่อ ธนาคาร และ 2.การฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 400 ครั้งต่อปีต่อธนาคาร และยอดรวมของการรับฝากตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไปนั้น ทั้งนี้ เพื่อต้องการตรวจสอบข้อมูลของผู้ที่มีรายได้ มียอดฝาก หรือรับโอนเงิน ทุกคน เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมผู้เสียภาษี
สรุปแล้วกฎหมายฉบับนี้ เพื่อต้องการตรวจสอบให้ผู้ที่อยู่ นอกระบบภาษี เข้ามาเสียภาษีแบบถูกต้องมากขึ้น ซึ่งยังไม่มีผลอะไร ต่อการเก็บภาษีออนไลน์แต่อย่างไร