คำต่อคำ "ทำไมอินเดียไม่ร่วมอาร์เซ็ป"
บิ๊กเซอร์ไพร์ส กลางวงประชุมสุดยอดผู้นำการเจรจาจัดทำความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (อาร์เซ็ป) ณ กรุงเทพฯ ประเทศไทย ซึ่งผู้นำจาก 16 ประเทศสมาชิก มาร่วมประชุมแต่ผลปรากฎแถลงผลการประชุมเพียง15ประเทศหายไปหนึ่งคืออืนเดีย
ค่ำวานนี้ (4 พ.ย.) บิ๊กเซอร์ไพร์ส กลางวงประชุมสุดยอดผู้นำการเจรจาจัดทำความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (อาร์เซ็ป) ณ กรุงเทพฯ ประเทศไทยที่ซึ่งผู้นำจาก 16 ประเทศสมาชิก คือ อาเซียน 10 ประเทศ และผู้นำจาก ออสเตรเลีย จีน อินเดีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี และนิวซีแลนด์ มาร่วมชุมนุนเพื่อประกาศความสำเร็จการเจรจา แต่เมื่อถึงเวลาจริงผู้นำจากอินเดียได้แสดงเจตจำนงที่จะไม่ขอร่วมการวงแถลงการณ์เพื่อปิดดีลประวัติศาสตร์นี้ ในแถลงการณ์นั้นมีเนื้อหาอย่างไรจะได้นำเสนอให้ทราบดังนี้
เรา ผู้นำประเทศ/รัฐบาลของประเทศสมาชิกอาเซียน และออสเตรเลีย จีน อินเดีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี และนิวซีแลนด์ มาประขุมกันในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2562 ณ กรุงเทพฯ ประเทศไทย ในโอกาสของการประชุม สุดยอดความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (อาร์เซ็ป) ครั้งที่ 3
เราขออ้างถึงประกาศแถลงการณ์ร่วมการเริ่มเจรจาอาร์เซ็ป ณ กรุงพนมเปญ กัมพูชา เมื่อปี 2555 รวมถึงการเห็นชอบเอกสารว่าด้วยหลักการและวัตถุประสงค์ของการเจรจาอาร์เซ็ป ซึ่งเรายึดมั่นที่จะจัดทำความตกลงที่ทันสมัย ครอบคลุม มีคุณภาพสูง และได้ประโยชน์ร่วมกัน
ท่ามกลางสถานการณ์โลก เศรษฐกิจและอื่นๆ ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เรายืนยันว่าอาร์เซ็ปเป็นข้อพิสูจน์ความมุ่งมั่นของพวกเราในการสร้างสภาพแวดล้อมทางการค้าและการลงทุนที่เปิดกว้างในภูมิภาค พวกเราเจรจาความตกลงบนความตั้งใจที่จะให้ช่วยขยายห่วงโซ่คุณค่าในระดับภูมิภาคให้กว้างและลึกยิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อภาคธุรกิจของพวกเรา รวมถึงวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม คนงาน ผู้ผลิตและผู้บริโภค ความตกลงอาร์เซ็ปจะทำให้ภูมิภาคกลายเป็นศูนย์กลางของการเจริญเติบโตแห่งใหม่และเกิดผลบวกต่อเศรษฐกิจโลก ในขณะเดียวกัน จะทำหน้าที่เป็นเสาสนับสนุนต่อระบบการค้าพหุภาคีที่แข็งแกร่งและส่งเสริมการพัฒนาประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอีกด้วย
พวกเรายินดีกับผลการเจรจาอาร์เซ็ปซึ่งเริ่มเจรจาในปี 2556 ตามที่ได้รับรายงานจากรัฐมนตรี
พวกเรารับทราบว่า สมาชิกอาร์เซ็ป 15 ประเทศได้ข้อสรุปผลการเจรจาจัดทำความตกลงทั้ง 20 บท[1] และการเจรจาเปิดตลาดในส่วนที่สำคัญทุกประเด็นแล้ว และมอบให้ 15 ประเทศ ไปเริ่มขัดเกลาถ้อยคำทางกฎหมาย เพื่อลงนามความตกลงอาร์เซ็ปในปี 2563
อินเดีย มีประเด็นคงค้างสำคัญที่ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ สมาชิกอาร์เซ็ปทุกประเทศจะทำงานร่วมกัน เพื่อหาข้อยุติในประเด็นคงค้างเหล่านี้ให้เป็นที่พอใจร่วมกัน ซึ่งการตัดสินใจขั้นสุดท้ายของอินเดียจะขึ้นอยู่กับการหาทางออกที่น่าพอใจในประเด็นคงค้างเหล่านั้น
..............แถลงการณ์ระบุ....................
รายงานข่าวจากที่ประชุมเผยว่า อนาคตสำหรับอาร์เซ็ปจากนี้คือการจัดประชุมที่กำลังหาประเทศที่จะอาสาเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมซึ่งจะเป็นระดับเจ้าหน้าที่ และควรเกิดขึ้นโดยเร็วเพื่อหารือกัน 3 ประเด็นคือ 1.ทั้ง 15 ประเทศที่ยังเหลืออยู่จะต้องมาคุยประเด็นตดิค้างด้านการเปิดตลาดที่ยังมีอยู่อีกเล็กน้อย 2.ข้อบทที่ตกลงกันไปแล้วมีส่วนใดที่เกี่ยวข้องกับอินเดียบ้างและจะดำเนินการอย่างไรระหว่างปรับข้อตกลงที่สรุปไปแล้วใหม่ในแบบที่ไม่มีอินเดียอยู่ด้วย หรือการปล่อยให้เป็นไปตามนั้น และ 3.การประชุมที่จะเกิดขึ้น หรือ ในครั้งต่อไป อาร์เซ็ปจะเชิญอินเดียเข้าร่วมหรือรอให้อินเดียแสดงเจตจำนงขอเข้าร่วม
อินเดียให้เหตุผลว่าไม่สามารถร่วมข้อตกลงได้เนื่องจากประชาชนในประเทศไม่เห็นด้วยเพราะกังวล 2 เรื่องคือ1.การค้าที่ประเทศอย่างจีน ญี่ปุ่น จะเข้าบุกตลาดสินค้าเทคโนโลยี เครื่องใช้ไฟฟ้าและสินค้าอื่นๆ ขณะที่ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ก็จะบุกตลาดนมและผลิตภัณฑ์ทำให้ผู้ผลิตในอินเดียได้รับผลกระทบหรือเสียดุลการค้าสูงเกินควบคุม และ2.การลงทุน อินเดียกังวลว่าทุนต่างประเทศจะเข้าสู่อินเดียมากจนเกินไปและกระทบต่อการลงทุนของอินเดียเอง
"ถือว่าอาร์เซ็ปประสบความสำเร็จหรือไม่ ก็บอกได้ว่าสำเร็จ เราบอกจะเจรจาจบปีนี้ และจะประกาศความสำเร็จวันนี้ (4 พ.ย.) ก็ทำได้แต่ความสำเร็จจัดได้อะไร ก็ขึ้นกับว่าใครจะเป็นคนมอง แต่ตอนนี้มีความเป็นได้สูงที่การลงนามที่กำหนดไว้กลางปีหน้าที่เวียดนาม อาจไม่มีอินเดียร่วมอยู่ด้วย แต่จะด้วยเหตุผลเพราะไม่ร่วมจริงๆหรือเหตุผลทางเทคนิคก็ต้องพิจารณากันต่อไป"รายงานข่าวระบุ
จากการสอบถามนักการทูตคนหนึ่งในสมาชิกอาร์เซ็ป ระบุว่า หากอินเดียไม่ร่วมวงอาร์เซ็ปจริงๆ ก็จะทำให้ความน่าสนใจของข้อตกลงนี้ลดน้อยลงไป แต่ความตกลงก็จะคงอยู่ต่อไป ซึ่งสมาชิกต้องพิจารณากันเองว่าจะได้ประโยชน์มากแค่ไหน เนื่องจากการเจรจาอาร์เซ็ปอยู่บนพื้นฐานของความเท่าเทียมกัน การจะตกลงหรือไม่เป็นเรื่องที่แต่ละประเทศพิจารณากันมาก่อนหน้าแล้ว
อย่างไรก็ตาม การมองถึงจีนซึ่งเป็นประเทศที่มีอิทธิพลสูงในภูมิภาคและของโลก และเป็นเหมือนตัวตั้งตัวตีผลักดันการเจรจาอาจขึ้นมาอิทธิพลเหนือภูมิภาคอย่างไร้การคานอำนาจนั้น ในมุมมองของนักเจรจาเห็นว่าเป็นคนละเรื่องกันเพราะจีน หรือสมาชิกอื่นๆก็ต้องปฎิบัติบนพื้นฐานข้อตกลงเดียวกัน ความได้เปรียบเสียเปรียบเป็นเรื่องของขีดแข่งขันของแต่ละคนไม่ใช่ใครจะมีอิทธิเหนือใครได้ แต่ในทางการเมืองระหว่างประเทศผลการเจรจาแบบที่ไร้อินเดียร่วมด้วยทำให้ภาพทางการเมืองชัดเจนว่าจีนกำลังตรอบคลุมภูมิภาคนี้โดยเบ็ดเสร็จ
ตามเนื้อหาในแถลงการณ์ ชี้ว่าอินเดียไม่ได้ร่วมอยู่ในความตกลงอาร์เซ็ปฉบับนี้ แต่นักการเจรจาจากประเทศหนึ่งระบุว่าไม่มีอินเดียไม่ได้หมายความว่าอาร์เซ็ปไม่สำเร็จเพราะควาสำเร็จวัดจากอะไร เพราะ 15 ประเทศสามารถประกาศข้อสรุปร่วมกันได้ ส่วนอินเดียยังถือเป็นสมาชิกอาร์เซ็ปอยู่ และเราจะทำงานร่วมกันต่อไป
สำหรับความตกลงอาร์เซ็ปประกอบด้วยสมาชิก 16 ประเทศ คือ ประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศรวมทั้งไทย และประเทศคู่เจรจาอีก 6 ประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย ที่มีประชากรรวมกันกว่า 3,500 ล้านคน หรือเกือบครึ่งของประชากรโลก มีมูลค่า GDP กว่า 27.2 ล้านล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 32.3% ของ GDP โลก มีมูลค่าการค้ารวมกว่า 11.5 ล้านล้านดอลลาร์ คิดเป็น 29.3% ของมูลค่าการค้าโลก
โดยในปี 2561 ไทยกับประเทศสมาชิกอาร์เซ็ปมีมูลค่าการค้ารวมอยู่ที่ประมาณ 2.9 แสนล้านดอลลาร์ คิดเป็น 59.8% ของการค้ารวมทั้งหมดของไทย โดยความตกลงอาร์เซ็ปจะช่วยสร้างโอกาสการส่งออกของไทยในตลาดใหม่ๆ ที่การทำ FTA ระหว่างไทย อาเซียน และสมาชิกอาร์เซ็ปในช่วงที่ผ่านมายังเปิดตลาดไม่มากพอ
โดยสินค้าที่สมาชิกอาร์เซ็ปเปิดตลาดเพิ่มเติมให้ไทย เช่น เครื่องจักรและอุปกรณ์ไฟฟ้า พลาสติกและเคมีภัณฑ์ ยานยนต์และชิ้นส่วน ยางล้อ เส้นใย สิ่งทอ เครื่องแต่งกาย ผลิตภัณฑ์แป้งมันสำปะหลัง และกระดาษ เป็นต้น นอกจากนี้ ไทยมีมูลค่าการส่งออกไปยังประเทศสมาชิกอาร์เซ็ปกว่า 1.4 แสนล้านดอลลาร์คิดเป็น 58.8% ของการส่งออกของไทย
ดันประเด็นเศรษฐกิจอาเซียนสำเร็จ
“ความสำเร็จแม้จะวันกันด้วยมาตรฐานที่ต่างกัน แต่อาร์เซ็ปจบแบบนี้ก็สวยดี มีเป้าหมายแต่ไร้เสน่ห์เพราะประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีกำลังซื้อไม่รองกว่าใครไม่ได้อยู่ในข้อตกลงนี้ด้วย”
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
-อินเดียขู่ถอนตัวจากข้อตกลงอาร์เซ็ป
-'อาร์เซ็ป'จ่อเลื่อนลงนามปี 63
-ปิดฉาก'อาร์เซ็ป'ไร้ข้อตกลง
-ชี้ชะตา“อาร์เซ็ป” วันนี้ อีกหนึ่งกิจกรรม”ประชุมสุดยอด
-'พาณิชย์' ปิดดีลอาร์เซ็ป 15 ประเทศ