"เศรษฐพงค์" จี้ "กสทช." ประมูล5Gให้เกิดประโยชน์สูงสุดแกปชช. แนะเรียกคืนคลื่น 3.5GHz รองรับอุตสาหกรรม4.0-เศรษฐกิจดิจิทัล เร่งจัดระเบียบนำสายสื่อสารลงใต้ดิน กำชับใช้เงินกองทุนวิจัยฯแบบแอคทีฟ “ฐากร” ชี้ เคาะประมูล5G ก.พ.63 เร่งจัดระเบียบสายสื่อสารลงดิน
เมื่อวันที่ 7 พ.ย. ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร รับทราบรายงานของผู้สอบบัญชีและงบการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2559 และรายงานการประเมินผลการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สินสำหรับปี 2559 ของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ โดยพ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย อภิปรายว่า กสทช. ประกาศเรื่องการประมูล 5G ซึ่งเป็นเรื่องที่กระทบต่อประชาชอย่างมาก ทั้งนี้จะต้องไม่ใช่การประมูลเพื่อนำเงินเข้ากระทรวงการคลังเท่านั้น แต่จะต้องเป็นการสร้างงานให้เกิดขึ้น จึงจะเป็นความสำเร็จในการสร้างระบบเศรษฐกิจของประเทศ เป็นเศรษฐกิจดิจิทัล
ดังนั้นจะต้องใช้คลื่นความถี่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน ทำให้เกิดการจ้างงาน และเกิดระบบเศรษฐกิจแบบใหม่ เพราะ 5G กำลังจะเปลี่ยนอุตสาหกรรมการผลิตไปเป็นระบบโรโบติก ดังนั้นกสทช. จะต้องพยายามเรียกคืนคลื่น 3.5 GHz จากไทยคม5 โดยต้องใช้งบประมาณเพื่อเป็นการให้ความรู้กับประชาชนด้วย ในการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
พ.อ.เศรษฐพงค์ กล่าวว่า สำหรับเรื่องการนำสายสื่อสารลงดิน ขอให้มีการดำเนินการต่อไปในเมื่องใหญ่ๆด้วย เพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับประชาชน นอกจากนี้กสทช. จะต้องเตรียมงบประมาณเพื่อไปจัดหาอุปกรณ์ที่ทันสมัยมากกว่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยจะต้องมองการณ์ไกลไป 3-5 ปีข้างหน้า ทั้งเรื่องการควบคุมคลื่นความถี่ และการตรวจสอบความแรงของคลื่นความถี่ที่มีความแรงเกินไป เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายกับประชาชน เนื่องจากในอนาคตการตรวจสอบความปลอดภัยให้กับประชาชน
รวมถึงการโจมตีไซเบอร์จะเปลี่ยนรูปแบบไปอย่างมาเพราะการมารของ 5G ขณะที่การคุมครองผู้บริโภคที่มีประสิทธิภาพของกสทช. เนื่องจากเทคโนโลยีกำลังมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก อาจทำให้กสทช.มีความโบราณไปทันที หากไม่การกำกับดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ ตนขอเสอนแนะให้กสทช.ได้เตรียมกองทุนที่นำไปจัดหาอุปกรณ์ในการตรวจสอบความปลอดภัยให้พี่น้องประชาชน ซึ่งต้องการอุปกรณ์ที่มีคุณภาพและมีความทันสมัยมากกว่าที่กสทช.มีในวันนี้
พ.อ.เศรษฐพงค์ กล่าวต่อว่า อีกเรื่องคือการใช้เงินกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ ที่ผ่านมาอาจมีปัญหาจากคนที่มองเข้ามาว่าการเงินกองทุนนี้อาจเกิดประโยชน์แต่กสทช.เอง ซึ่งวัตถุประสงค์ของกองทุนฯดังกล่าวมีความชัดเจน คือเพื่อประโยชน์สาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อความปลอดภัยของประชาชน ความมั่นคงของประเทศ ซึ่งกองทุนนี้ได้เงินจากค่าธรรมเนียมของผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม เราควรนำเอาค่าธรรมเนียมที่เก็บมาได้คืนประโยชน์กับประชาชนในเรื่องความปลอดภัย เรื่องประโยชน์สาธารณะ
โดยกสทช. ต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาให้การใช้งบประมาณมีความอ่อนตัวมากกว่าที่เป็นอยู่ เนื่องจากเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การที่กสทช. อนุมัติโครงการล่าช้าไป1-2 ปี ก็ทำให้โครงการนั้นๆ มีความโบราณแล้ว ไม่ทันสมัยที่จะตอบสนองความต้องการของประชาชน
“กสทช. ต้องบริการจัดการกองทุนอย่างมีประสิทธิภาพ ให้เป็นกองทุนลักษณะแอคทีฟ เพื่อนำออกไปสร้างเทคโนโลยีให้เกิดการจ้างงาน คุ้มครองความปลอดภัยของประชาชน สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เชื่อว่ากสทช.ทราบดีทั้งหมด และทำหน้าที่อย่างดีที่สุดแล้ว แต่อนาคตเปลี่ยนแปลงเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0แน่นอน กสทช.จึงไม่สามารถดำเนินการแบบเดิมได้อีกต่อไป ผลขอแสดงความห่วงใยไว้ ณ ที่นี้ เพื่อกสทช. ได้ดำเนินการจัดสรรงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ เท่าทันเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดด” พ.อ.เศรษฐพงค์ กล่าว
ด้านนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. ชี้แจงว่า เรื่องการประมูล 5G จะได้มีการนำเข้าที่ประชุมกสทช. และจะมีการเคาะประมูลในวันที่ 16 ก.พ. 63 จากนั้นเดือนมีนาคม 63 จะมีการติดตั้งสถานี ในเดือนสิงหาคมจะเปิดให้บริการในพื้นที่EEC ก่อน และจะพัฒนาพื้นที่อื่นๆ ต่อไป สำหรับเรื่องการนำสายสื่อสารลงใต้ดิน ยืนยันว่ากสทช.ไม่ได้นิ่งนอนใจ โดยพื้นที่ที่มีท่อใต้ดินของทีโอทีอยู่แล้ว เราได้นำลงดินหมดแล้ว เห็นได้จากถนนพหลโยธินที่เราได้ทำเสร็จแล้ว แต่ปัญหาที่พบคือเวลาจะนำสายสื่อสารลงดินจะต้องให้ผู้ประกอบการมาชี้สายของตัวเอง เพราะถ้าหากมีการตัดสายผิดอาจจะกระทบต่อการใช้บริการของประชาชนได้ เราได้ประสายไปยังกทม. สตช. และผู้ประกอบการให้มาชี้จุดสายสื่อสารของตัวเอง
อย่างไรก็ตามกระทรวงดีอีเอส ได้อนุมัติให้กทม. ดำเนินการสร้างท่อร้อยสายในกรุงเทพฯทั้งหมด ต่อจากทีโอที ดังนั้นต่อจากนี้ไปจะเป็นระยะที่กสทช.จะเป็นผู้ดำเนินการ โดยกทม.กำหนดว่าดำเนินการทั้งหมด 2,400 กิโลเมตร ได้เสร็จสิ้นใน2ปี แต่ในตรอกซอกซอยนั้น เนื่องจากพื้นที่แคบ ไม่สามารถขุดเจาะเพื่อนำสายลงดินได้ เราจะดำเนินการจัดระเบียบสายเพื่อให้เกิดความสวยงามแทน ส่วนการคุ้มครองผู้บริโภคนั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของค่าบริการมือถือ หรือการใช้งานอินเทอร์เน็ต สิ่งที่กสทช.กังวลคือ การขยายโครงข่างออกไปในขณะนี้ ที่คลื่นความถี่ขยับเข้าไปใกล้บ้านเรือนประชาชนมากขึ้น ย่อมส่งผลกระทบต่อประชาชแน่นอน เบื้องต้นเราจะติดตามว่าคลื่นที่ปล่อยออกมานั้นสอดคล้องกับมาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้หรือไม่