บริษัทไทยจ่าฝูงทำ 'ดีลควบกิจการ' ในอาเซียน

บริษัทไทยจ่าฝูงทำ 'ดีลควบกิจการ' ในอาเซียน

บ.ไทยจ่าฝูงอาเซียนทำดีลควบรวมกิจการขณะบริษัทในเวียดนามและอินโดนีเซียเป็นเป้าหมายของกิจกรรมเอ็มแอนด์เอในช่วงปี 2561 และปี2562

บรรดาผู้ประกอบการไทย เป็นจ่าฝูงทำกิจกรรมผนวกและควบรวมกิจการในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ท่ามกลางภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่พลอยทำให้เศรษฐกิจในเอเชียซึมไปด้วย โดยมีบริษัทในอินโดนีเซียและเวียดนามเป็นเป้าหมายของการทำข้อตกลง

บริษัทดีลลอจิก ซึ่งมีฐานดำเนินงานอยู่ในสหราชอาณาจักร ได้ทำการสำรวจและรวบรวมข้อมูลพบว่า มีการเข้าซื้อและควบรวมกิจการข้ามพรมแดนภายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 67 ข้อตกลงด้วยกันนับจนถึงวันที่ 16 ธ.ค.ปีนี้ มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 9.6 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าของเมื่อปี 2561 ที่มีการทำข้อตกลงรวมมูลค่า 3.5 พันล้านดอลลาร์ และเมื่อคำนวณอย่างละเอียดแล้วพบว่าข้อตกลงโดยเฉลี่ยมีมูลค่า 144 ล้านดอลลาร์ถือว่าเป็นการทำข้อตกลงมูลค่าสูงที่สุดในรอบ 10 ปี

การทำข้อตกลงผนวกและควบรวมกิจการ (เอ็มแอนด์เอ) ในอาเซียนที่คึกคักเกิดขึ้นในช่วงที่อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของหลายประเทศในภูมิภาคลดความร้อนแรงลงไป และเกิดความไม่สงบเรียบร้อยทางการเมืองในหลายประเทศของโลก หมายความว่าหลายประเทศในภูมิภาคที่เศรษฐกิจเดินมาถึงจุดอิ่มตัวแล้ว กำลังใช้กิจกรรมเอ็มแอนด์เอเป็นเครื่องมือรับมือกับความท้าทายทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น

157775221615

เริ่มจากธนาคารกรุเทพจำกัด (มหาชน) BBLได้ประกาศการเข้าซื้อกิจการธนาคารในอินโดนีเซียชื่อแบงก์ เพอร์มาตา ซึ่งมีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดอยู่ที่ประมาณ2.25พันล้านดอลลาร์หรือประมาณ6.75หมื่นล้านบาท ถือเป็นก้าวย่างครั้งสำคัญของธนาคาร เพื่อตอกย้ำความเป็นผู้นำแห่งภูมิภาคโดยการเข้าซื้อกิจการครั้งนี้จะนำมาซึ่งโอกาสและประโยชน์สูงสุดแก่ลูกค้าทั่วภูมิภาค

เพอร์มาตา เป็นธนคารพาณิชย์ชั้นนำของอินโดนีเชีย ก่อตั้งเมื่อปี2498 ประกอบกิจการเสนอขายผลิตภัณฑ์และให้บริการด้านการธนาคารอย่างเต็มรูปแบบ มีลูกค้ารายย่อย ลูกค้าธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และลูกค้องค์กร รวมกว่า 3.5 ล้านราย ได้รับการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซีย

เพอร์มาตา มีสำนักงานรวม 332 แห่ง มีเครื่องบริการเบิก-ถอนงินสดอัตในมัติ(เอทีเอ็ม) รวม 989 เครื่อง ใน 62 เมืองทั่วประเทศอินโดนีเซีย และนับจนถึงวันที่ 30 ก.ย. 2562 เพอร์มาตามีงินให้สินเชื่อจำนวน 108 ล้านล้านรูเปีย(เทียบเท่ากับ 7.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 234,000 ล้านบาท‘ โดยประมาณ) มีงินรับฝาก 120 ล้านล้านรูเปีย (เทียบเท่ากับ 8.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 259,000 ล้านบาท’ โดยประมาณ) และมีพนักงานรวมทั้งสิ้น 7,670 คน

การเข้าซื้อกิจการของเพอร์มาตาครั้งนี้ ทำให้ธนาคารกรุงเทพ สามารถเข้าถึงตลาดอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน มีผลิตภัณฑ์มวลรวม(จีดีพี)ในประเทศถึง 1.04 ล้านล้านดอลาร์ มีประชากรรวม 267 ล้านคน ที่ประกอบไปด้วยประชากรวัยทำงานที่มีอายุน้อยจำนวนมาก มีจำนวนประชากรที่มีรายได้ระดับปานกลางและสูงที่เพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ อินโดนีเซีย ยังมีอัตราการเริ่มใช้งานระบบดิจิทอลที่เติบโตอย่างรวดเร็ว มีอัตราการเติบโตของสินเชื่อที่สูง และมีประชากรที่ยังไม่ได้ใช้บริการของธนาคารใดๆ เป็นจำนวนมาก"

รายงานของดีลลอจิก ระบุว่า กิจกรรมเอ็มแอนด์เอในภูมิภาคนำโดยบริษัทในประเทศเศรษฐกิจก้าวหน้า โดยมีการเข้าซื้อกิจการจากบริษัทในไทยในสัดส่วน 38% ของการทำข้อตกลงโดยรวมในช่วงปี 2553 และ2562 ตามมาด้วยบริษัทในสิงคโปร์ 32% และบริษัทในมาเลเซีย 23% แต่การเข้าซื้อกิจการของบริษัทไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปีนี้ มีมูลค่ารวมสูงถึง 6.4 พันล้านดอลลาร์ หรือ 67% ของมูลค่ารวมของเอ็มแอนด์เอทั้งภูมิภาค

157775223384

นอกจากนี้ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. ได้เข้าซื้อกิจการของ เมอร์ฟี่ ออยล์ คอร์ปอเรชั่น ในประเทศมาเลเซีย โดยมีมูลค่าการซื้อขาย 2,127 ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา (สรอ.) ซึ่งคาดว่าจะสามารถเพิ่มปริมาณขายปิโตรเลียมได้ประมาณ 15% สร้างผลตอบแทนการลงทุนได้ทันที และยังชนะการประมูลสิทธิการสำรวจปิโตรเลียมในมาเลเซียอีก 2 แปลง ซึ่งถือเป็นความก้าวหน้าทางธุรกิจครั้งใหญ่ของ ปตท.สผ. ในมาเลเซีย

เช่นเดียวกับบริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือเอสซีจี ที่เข้าไปถือหุ้นใหญ่ในสัดส่วน 55% ในบริษัทพีที ฟาร์จา เซอร์ยา วิเซซา (Fajar Surya Wisesa)เมื่อเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา โดยบริษัทอินโดนีเซียรายนี้ เป็นผู้นำธุรกิจกระดาษบรรจุภัณฑ์ จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซีย คิดเป็นมูลค่าประมาณ 9.6 ล้านล้านรูเปี๊ยะห์ หรือประมาณ 21,150 ล้านบาท

ขณะที่บริษัทไทยกว้านซื้อกิจการในช่วงที่เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจในภูมิภาคอยู่ในช่วงขาลง บริษัทในเวียดนามและอินโดนีเซียก็เป็นเป้าหมายของกิจกรรมเอ็มแอนด์เอในช่วงปี2561 และปี2562 ด้วยเช่นกัน โดยข้อมูลจากดีลลอจิก ระบุว่า ทั้ง2ประเทศดึงดูดความสนใจด้านการลงทุนมาตั้งแต่ช่วงกลางปี 2553 แล้วในฐานะที่มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและเป็นตลาดขนาดใหญ่ มีผู้บริโภคจำนวนมาก

ส่วนบริษัทชั้นนำสัญชาติฟิลิปปินส์อย่างกลุ่มบริษัทอยาลา คอร์ป ได้เข้าไปในลงทุนในบริษัทโยมา กรุ๊ปของเมียนมาในวงเงิน 237.5 ล้านดอลลาร์ เมื่อเดือนพ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งกลุ่มบริษัทอยาลา มีแผนที่จะลงทุนผ่านการเข้าซื้อหรือควบรวมกิจการในประเทศอื่นด้วยเช่นกัน

ขณะที่บรรดาบริษัทสตาร์ทอัพใหญ่ๆในอาเซียนที่ได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุนอย่างมากมายมหาศาลเริ่มมีส่วนรวมกับกิจกรรมเอ็มแอนด์เอในระดับภูมิภาค เช่น โกเจ็ก สตาร์ทอัพยูนิคอร์นของอินโดนีเซียที่เข้าซื้อสตาร์ทอัพเพย์เมนท์สัญชาติฟิลิปปินส์ในวงเงิน 72 ล้านดอลลาร์เมื่อเดือนม.ค.เป็นส่วนหนึ่งของแผนขยายธุรกิจให้ครอบคลุมทั่วภูมิภาค