6 วิกฤติน้ำมันถึงหุ้นไทย ฉุดบรรยากาศลงทุนผันผวน
ข่าวการตอบโตด้วยขีปนาวุธจากอิหร่านไปยังฐานทัพสหรัฐที่อิรัก ยิ่งทำให้อุณภูมิความไม่สงบในโลกตะวันออกลางร้อนระอุมากยิ่งขึ้น เพราะหากมีการตอบโต้กลับจากสหรัฐซึ่งถือว่ามีแสนยานุภาพด้านการทหารและยุทธูปกรเหนือกว่าหลายเท่าตัว ทำให้บรรยากาศเต็มไปด้วยความ
เหตุการณ์ระหว่างสหรัฐ กับ อิหร่าน และอิรัก เรียกได้ว่าพึ่งเริ่มต้น จากการเริ่มโจมตีและมีการตอบโต้ ซึ่งหากจำกัดอยู่เพียงแค่ 3 ประเทศทำให้คาดการณ์ผลกระทบตามมาได้ว่ามีด้านไหน แต่หากศึกษากลุ่มโลกตะวันออกกลางจะพบปัญหาร้าวลึกของแต่ละประเทศหนักหน่วงไม่แพ้กัน
โดยมีสหรัฐเข้าไปให้การสนับสนุนทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังในหลายประเทศในภูมิภาคนี้ จนทำให้ประเทศที่รายล้อมอิหร่านเกือบทุกประเทศแทบจะมีฐานทัพของสหรัฐอยู่เต็มไปหมด
เมื่อพูดถึงโลกตะวันออกกลางแล้วสิ่งที่เป็นเส้นเลือดสำคัญที่สร้างให้โลกอาหรับยิ่งใหญ่ หนีไม่พ้นแหล่งน้ำมันที่เป็นขุมทองให้หลายประเทศในแถบนี้ และยังใช้ต่อรองทางด้านเศรษฐกิจ ด้วยการรวมกลุ่มผู้ค้าน้ำมัน หรือที่เรียก ว่า โอเปก (OPEC)
ปัจจุบันโอเปคผลิตน้ำมันป้อนโลกอยู่ที่ 29.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน (หรือประมาณ 30% ของการผลิตน้ำมันทั่วโลก ) มีผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกคือซาอุดิอาราเบีย จากปริมาณการผลิต น้ำมันดิบของประเทศอยู่ที่ 11.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน
ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุการณ์หรือวิกฤติในตะวันออกกลางจึงสะเทือนไปยังราคาน้ำมันโลกตามมาเป็นโดมิโนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และในช่วงกว่าทศวรรษที่ผ่านมาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในตะวันออกกลางและกระทบราคาน้ำมันดิบครั้งใหญ่มีถึง 6 เหตุการณ์ด้วยกัน
จากการเก็บข้อมูล บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) โนมูระ พัฒนสิน พบว่าเหตุการณ์สงครามอ่าวเปอร์เซีย ในปี 2533 (1990) เกิดขึ้นระหว่างอิรักกับคูเวตมีฉนวนมาแย่งชิงแหล่งน้ำมัน ทำให้เกิดความขัดแย้งจนอิรักปิดล้อมคูเวตกลายเป็นสงครามอ่าวกับกองกำลังผสม 34 ชาตินำโดยสหรัฐ ซึ่งราคาน้ำมันได้รับผลกระทบปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดช่วง 1 เดือน 37.2 % จากซัพพรายที่หายไปถึง 4.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน
หลังจากนั้นนำไปสู่เหตุการณ์วุ่นวายในอิรักทำให้มีการหยุดชะงักชั่วคราวในการส่งออกน้ำมัน ปี 2544 (2001) ส่งผลทำให้ซัพพรายน้ำมันดิบหายไป 2.1ล้านบาร์เรลต่อวัน และราคาน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นในช่วงแรก 1.4 %แต่หลังจาก 1 เดือน ราคาปรับตัวลดลง 11.8 %
ปีถัดมา 2545 (2002) เกิดเหตุกาณ์ประท้วงในเวเนซุเอลาหลังบริษัทน้ำมันรายใหญ่ของประเทศปลดพนักงานจนเกิดการประท้วง กระทบซัพรายน้ำมันหายไป 2.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน และราคาน้ำมันดิบ ปรับตัวเพิ่มขึ้น
ต่อทันทีปี 2546 (2003) สงครามอ่าวเปอร์เซีย 2 เกิดขึ้นระหว่างอิรักกับสหรัฐหลังเหตุการณ์ 911 กลุ่มอัลกออิดะห์จี้เครื่องบินพุ่งชนตึกเวิลด์ เทรดเซนเตอร์ ทำให้เกิดความขัดแย้งจนเป็นสงคราม ซึ่งมีสหรัฐเข้ามาร่วมด้วยและถือว่าเป็นการแผ่ขยายฐานทัพของสหรัฐในภูมิภาคนี้ ซึ่งราคาน้ำมันกลับไม่ได้รับผลกระทบจากช่วง 1 เดือนราคาปรับตัวลดลง 4.8 %
ความขัดแย้งในภูมิภาคนี้เว้นว่างไปจนปี 2554 (2011) เกิดสงครามกลางเมืองซีเรียและการประท้วงลิเบีย จากความขัดแย้งกองกำลังติดอาวุธหลายฝ่ายจนนำไปสู่การเข้าร่วมของต่างชาติ และขยายวงกว้างไปยังชาติอาหรับจนกลายเป็น ‘ อาหรับสปริง ‘ มีผลต่อซัพรายน้ำมันน้อยมาก แต่ราคาน้ำมันดิบกลับปรับตัวเพิ่มขึ้นหลังจาก 1 เดือนถึง 7.6 %
และถึงคราวพี่ใหญ่ในกลุ่มโอเปคซาอุฯ ที่ถูกโดรนโจมตีโรงน้ำมันขนาดใหญ่ 2 แห่งกระทบซัพพรายหายไปมากถึง 5.7 ล้านบาร์เรลต่อวันปี 2562 (2019) ราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้นทันทีในช่วงแรกเกือบ 15 % ก่อนราคาปรับตัวลง 1 เดือน 1.4 %
ปี 2563 (2020) การเปิดฉากโจมตีของสหรัฐในอิรักจนนายพลอิหร่านและผู้บัญชาการอิรักเสียชีวิต ทำให้เกิดความไม่พอใจและโจมตีตอบโต้ ราคาน้ำมันดิบปรับเพิ่มขึ้นมาแล้ว 7.59 % ราคาสูงสุด (Brent) 71.28 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ยังไม่มีใครตอบได้ว่าสถานการณ์จะรุนแรงมากขึ้นหรือคลี่คลายเร็ววัน นั้นจึงทำให้ดัชนีหุ้นไทยยังผันผวนหนักและยังปรับตัวขึ้นได้จำกัดตามไปด้วย