‘SCB’ ผนึก ‘SCBLIFE’ คลอดประกันโรคร้ายแรงใหม่ ไม่เคลมคืนเบี้ย

‘SCB’ ผนึก ‘SCBLIFE’ คลอดประกันโรคร้ายแรงใหม่ ไม่เคลมคืนเบี้ย

ไทยพาณิชย์ มั่นใจปี63เบี้ยจากธุรกิจแบงก์แอวชัวรันส์โตต่อเนื่องมากกว่า20% ล่าสุด ผนึก SCBLIFE คลอดประกันโรคร้ายใหม่ “เคลมคุ้มกลุ่มโรคร้าย” ชุจุดเด่นรับเบี้ยคืนเต็มจำนวนหลังครบสัญญาหากไม่เจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง

นางอภิพันธ์ เจริญอนุสรณ์ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์จำกัด(มหาชน) หรือSCB เปิดเผยว่า ภาพรวมธุรกิจแบงก์แอสชัวรันส์ของธนาคารในปี2563 คาดว่ายังมีการเติบโตของเบี้ยประกันภัยอย่างต่อเนื่องมากกว่า20% และเป็นส่วนสำคัญในการสร้างรายได้ค่าธรรมเนียม(ค่าฟี)ให้กับธนาคารในภาวะที่ธุรกิจธนาคารเผชิญภาวะค่าฟีลดลง

ล่าสุด ธนาคารร่วมกับบริษัทไทยพาณิชย์ประกันชีวิตจำกัด(มหาชน) หรือSCBLIFE บริษัทในเครือกลุ่มเอฟดีบบลิวดีเปิดตัวSCB Muilti Care Multi Claims “เคลมคุ้มกลุ่มโรคร้าย  (MCCI) เป็นผลิตภัณฑ์ประกันตัวแรกหลักจากประกาศความร่วมมือระหว่างธนาคารกับกลุ่มเอฟดับบลิวดี  หลังจากเริ่มขายผ่านช่องทางสาขาของธนาคารเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมานี้มียอดขายจำนวน300 กรมธรรม์แล้วคาดว่าจะตลาดรับอย่างดี

เนื่องจากอัตราการถือครองกรมธรรม์ของคนไทยยังเป็นสัดส่วนที่น้อยเป็นโอกาสสร้างการเติบโตและด้วยจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ใหม่อินไซด์มาจากความต้องการของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายหลักอายุ30-50ปีที่ต้องการความคุ้มครองและช่วยเหลือด้านค่าใช่จ่ายหากไม่เจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงจนครบสัญญามีสิทธิ์รับเบี้ยประกันที่จ่ายมาทั้งหมดคืนนอกจากนี้เมื่อเป็นโรคร้ายแรงยังเคลมได้หลายครั้งและหยุดจ่ายเบี้ยประกันเมื่อเจอเคลมใหญ่แต่คุ้มครองต่อจนครบสัญญา  ที่สำคัญยังแบ่งเบาภาระระหว่างการเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงระดับรุนแรงเช่นบริการทางการแพทย์ถึงบ้านบริการทำความบ้านบริการช่วยเหลือใช้จ่ายการสอนพิเศษบุตรบริการช่วยเหลือค่าใช้จ่ายจัดหาวิกผมให้คำปรึกษาเชิงจิตวิทยาและให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย

ตัวอย่างผู้ชายอายุ35 ปีทุนประกัน300,000 บาท(ทุนประกันเริ่มต้น) แบ่งชำระเบี้ยประกัน20 ปีค่าเบี้ยประกันเฉลี่ยประมาณ14,000บาทต่อปี

อย่างไรก็ตามปัจจุบันสัดส่วนประกันชีวิตผ่านช่องทางธนาคารส่วนใหญ่ยังคงเป็นประเภทสะสมทรัพย์หลังจากนี้จะมีผลิตภัณฑ์ประเภทความคุ้มครองทั้งชีวิตและสุขภาพออกมาทำตลาดเพิ่มมากขึ้น

นายเดวิช โครูนิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทไทยพาณิชย์ประกันชีวิตจำกัด(มหาชน) หรือSCBLIFE เปิดเผยว่า ปัจจุบันสัดส่วน90%ของพอร์ตรับประกันเป็นประเภทสะสมทรัพย์  ที่เหลืออีก10% เป็นประเภทความคุ้มครองคาดหวังว่าปรับสัดส่วนพอร์ตการรับประกันแบบกลับทิศทางมาเน้นประเภทความคุ้มครองเป็นหลักเนื่องจากภายใต้ภาวะดอกเบี้ยต่ำต้องบริหารจัดการต้นทุนให้สอกคล้องซึ่งปัจจุบันยังสามารถบริการจัดการได้ดี  และมีความตั้งใจที่จะเปลี่ยนมุมมองที่ผู้คนมีต่อการประกันชีวิตด้วยการเริ่มต้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เคลมคุ้มกลุ่มโรคร้ายที่จะตอบโจทย์ความต้องการและไลฟ์สไตล์ลูกค้าในแบบที่ไม่เคยในตลาดมาก่อน