3 เหตุผลที่ ‘เด็กจบใหม่’ ต้องรีบเตรียมเงินเกษียณ

3 เหตุผลที่ ‘เด็กจบใหม่’ ต้องรีบเตรียมเงินเกษียณ

ทำความเข้าใจ 3 เหตุผลที่ทำให้การ "เตรียมเกษียณ" ที่ไม่ใช่แค่เรื่องของ "คนวัยใกล้เกษียณ" ยิ่งเตรียมไว ยิ่งได้เปรียบ

ใครว่าเรื่องเกษียณ เป็นเรื่องของคนแก่ ต้องคิดใหม่! เพราะความเป็นจริงแล้ว การเตรียมเกษียณเป็นเรื่องของทุกคนโดยเฉพาะ เด็กจบใหม่” “คนที่เพิ่มเริ่มทำงาน ที่จำเป็นต้องศึกษาหาความรู้ในการเตรียมความพร้อมสู่วัยเกษียณ ทั้งเตรียมเงิน เตรียมใจ ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อให้สามารถสามารถวางแผนได้ทัน

ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) พบว่า มีผู้สูงอายุเพียง 5% ที่มีเงินเพียงพอสำหรับการใช้ชีวิตในวัยเกษียณ อีก 5% ยังต้องทำงานอยู่ 36% มีอายุยืนไม่ถึง 65 ปี และมากกว่าครึ่งหรือ 54% ต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่น

ที่น่าเป็นห่วงต่อไปเป็นลูกโซ่ คือ กลุ่มคนไทย วัยทำงาน วัยกลางคน และวัยใกล้เกษียณในตอนนี้ที่ยังไม่ได้วางแผนทางการเงินสำหรับชีวิตในวัยเกษียณไว้เลย และพวกเขาเหล่านี้มีแนวโน้มที่เข้าสู่ชีวิตเกษียณที่ลำบาก

มีผู้สูงอายุเพียง 5% ที่มีเงินเพียงพอสำหรับการใช้ชีวิตในวัยเกษียณ อีก 5%
ยังต้องทำงานอยู่ 36% มีอายุยืนไม่ถึง 65 ปี และมากกว่าครึ่งหรือ 54% ต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่น

ถ้าไม่อยาก "เกษียณจน" ต้องทำยังไง?

จากสถิติด้านการวางแผนทางการเงินย้อนหลังพบว่า การวางแผนเกษียณตั้งแต่เริ่มต้นทำงาน มีโอกาสประสบความสำเร็จทางการเงินได้มากกว่าการเริ่มต้นช่วงวัยกลางคน หรือวัยใกล้เกษียณ เนื่องจากมีข้อได้เปรียบมากกว่า 3 ประการหลัก ที่เป็นอานิสงส์จากห้วงเวลาการวางแผนที่ยาวนานกว่า ดังนี้

  •  เหตุผลที่ 1 : "วางแผนก่อน รัดกุมกว่า" 

หลายคนมองว่าช่วงอายุของเด็กจบใหม่วัย 20 ต้นๆ ช่างห่างไกลกับวัยเกษียณ 60 ปี เหลือเกิน จะรีบเตรียมเกษียณไปทำไม แต่หากมองในมุมกลับ ช่วงเวลาร่วม 40 ปีตั้งแต่เรียนจบ หรือเริ่มต้นทำงานนั่นแหละคือวัตถุดิบชั้นดีในการวางแผนเกษียณที่ทำให้มีโอกาสเข้าใกล้ เป้าหมาย เกษียณสุข” “เกษียณรวย ได้ง่ายขึ้น

การเตรียมเกษียณที่จะกล่าวถึงนี้ หมายความรวมถึงการเตรียมตัวด้านสุขภาพ เตรียมใจรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในชีวิต และเตรียมวางแผนการเงินให้เพียงพอกับความต้องการใช้เงินในช่วงหลังเกษียณอายุ

การเตรียมตัวเตรียมใจทุกมิติตั้งแต่เนิ่นๆ ทำให้มีโอกาสในการมองหาสิ่งที่เหมาะสมกับตัวเองได้มากกว่าและมีโอกาสปรับเปลี่ยนแผนเมื่อเจออุปสรรคระหว่างทาง

- วางแผนเรื่องความรู้ ความเข้าใจให้รอบด้าน เพราะโลกในวันนี้อาจแตกต่างจากโลกในวันที่เราเกษียณอายุไปอย่างสิ้นเชิง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี การหารายได้ หรือแม้แต่การหาความรู้เรื่องการลงทุน ดังนั้น การพยายามเรียนรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นนับตั้งแต่เริ่มทำงาน สั่งสมประสบการณ์ต่อเนื่องหลายสิบปี มีส่วนช่วยทำให้ เด็กจบใหม่ หรือคนเพิ่งเริ่มทำงาน มีโอกาสสร้างรากฐานการเกษียณได้อัตโนมัติ

- วางแผนเรื่องสุขภาพ ไม่ใช่แค่การพยายามดูแลจิตใจและร่างกายอย่างเหมาะสม ทั้งด้านอาหาร การออกกำลังกาย หลีกเลี่ยงจากสิ่งแวดล้อมที่ทำลายสุขภาพ แต่หมายความรวมถึงการวางแผนดูแลสุขภาพ เช่น การวางแผนซื้อประกันสุขภาพ หากสามารถวางแผนได้ตั้งแต่อายุยังน้อย สุขภาพยังแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัวหรือโรคร้าย เบี้ยประกันจะราคาที่ต่ำกว่า ซึ่งทำให้ใช้ต้นทุนถูกกว่า มีโอกาสเลือกลักษณะการคุ้มครองได้มากกว่า

จะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสุขภาพ การทำงาน ยิ่งตระหนักเร็ว ยิ่งวางแผนรับมือไว ยิ่งรัดกุม และมีโอกาสไปถึงเป้าหมายเกษียณอายุได้มากกว่า เช่นเดียวกับการวางแผนทางการเงินที่ยิ่งเตรียมก่อน ยิ่งสบาย

  •  เหตุผลที่ 2 : "มีโอกาสทำกำไรจากการลงทุนระยะยาวได้มากกว่า" 

ออมก่อน รวยกว่า วลีที่มักหยิบมาโน้มน้าวให้เห็นความสำคัญของการวางแผนการเงินในระยะยาว ที่เมื่อมองในมุมสถิติที่เกิดขึ้นแล้ว ก็พบว่า ยิ่งเริ่มต้นวางแผนการเงินก่อน มีโอกาสรวยกว่าจริง จากการสะสมเงินออม/ลงทุน ในแหล่งสินทรัพย์ที่งอกเงยโดย ไม่ได้ถูกนำเบิกออกมาใช้ ทำให้เงินต้นที่ค่อยๆ เติบโตแบบดอกเบี้ยทบต้น จนสามารถเปลี่ยนเงินก้อนเล็กๆ เป็นเงินหลักล้าน หรือสิบล้านได้เลยทีเดียว

การเริ่มต้นวางแผนการเงินตั้งแต่เพิ่งทำงานเพื่อเตรียมเกษียณ มีระยะเวลาให้เงินทำงานมากถึง 30-40 ปี ทำให้เงินมีโอกาสได้ทำงานไปพร้อมๆ กับการทำงานของเรา และจะกลายเป็นเงินก้อนสำคัญที่เอาไว้ใช้หลังเกษียณอายุได้

การเริ่มต้นวางแผนการเงินตั้งแต่เพิ่งทำงานเพื่อเตรียมเกษียณ มีระยะเวลาให้เงินทำงานมากถึง 30-40 ปี ทำให้เงินมีโอกาสได้ทำงานไปพร้อมๆ กับการทำงานของเรา และจะกลายเป็นเงินก้อนสำคัญที่เอาไว้ใช้หลังเกษียณอายุได้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

158021565221

ตัวเลขในตารางสะท้อนว่าการสะสมเงินลงทุนอย่างสม่ำเสมอ (DCA: Dollar Cost Average) ทำให้เงินจำนวนน้อยๆ ทวีคูณขึ้นไปตามระยะเวลา

อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง
: ทางเลือกเก็บเงินก้อนใหญ่ไว้ใช้บน 'คาน'

158021565140

ช่องทางการสร้างผลตอบแทนในระยะยาว สามารถทำได้หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับความรู้ความเข้าใจและความเสี่ยงที่แต่ละคนรับได้ 

  • หุ้น มีโอกาสรับผลตอบแทนสูง 10% หรือขาดทุนสูง ขึ้นอยู่กับสภาวะตลาด และความเสี่ยงของสินทรัพย์ที่ลงทุน
  • กองทุนรวม มีโอกาสรับผลตอบตั้งแต่ 2-10% ตามลักษณะของสินทรัพย์ที่ลงทุน สภาวะตลาด มีความเสี่ยงขาดทุนตามลักษณะกองทุนที่เลือก
  • ตราสารหนี้ มีโอกาสรับผลตอบแทน 1-3% ความเสี่ยงต่ำกว่าหุ้น
  • ฝากเงิน ความเสี่ยงต่ำมากหรือแทบไม่มี ซึ่งมีผลตอบแทนต่ำมากเช่นเดียวกัน ปัจจุบัน (มกราคม 2563) อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภทออมทรัพย์ทุกธนาคารเฉลี่ยอยู่ที่ 0.05-2.25%
  • กองทุนประกันสังคม, กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) 
  • ฯลฯ

ทั้งนี้ แต่ละคนสามารถเลือกวิธีการสะสมเงินที่แตกต่างกัน ไปตามความเสี่ยงที่รับได้ ซึ่งแน่นอนว่าทุกคนรับความเสี่ยงได้ต่างกัน โดยสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ต้องตระหนักอยู่เสมอคือ การลงทุนใดๆ ก็ตาม จำเป็นที่จะต้องศึกษาเรียนรู้ ทำความเข้าใจก่อนตัดสินใจ

  •  เหตุผลที่ 3 : "เหนื่อยน้อยกว่า" 

จาก 2 เหตุผลที่กล่าวมาในข้างต้น สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่า การเริ่มต้นวางแผนเกษียณทั้งมิติด้านสุขภาพ จิตใจ และการเงิน ช่วยทุ่นแรงได้มากเกินเท่าตัว และเป็นเหตุผลที่ทำให้ได้คนที่เตรียมตัวก่อน เหนื่อยน้อยกว่า

เช่นเดียวกับคติการสร้างวินัยทางการเงินจาก จักรพงษ์ เมษพันธุ์ (The Money Coach) ได้กล่าวไว้ว่า “การใช้จ่ายของเราในวันนี้ คือ ตัวกำหนดอนาคตทางการเงินของเราในอีก 15-20 ปีข้างหน้า”

ทว่า ปัญหาใหญ่ที่สกัดกั้นให้คนส่วนใหญ่ไปไม่ถึงเป้าหมาย “เกษียณสุข เพราะหักห้ามใจตัวเองไม่ได้ และชะล่าใจกับการเกษียณอายุ เพราะคิดว่ายังเหลือเวลาอีกยาวไกล ทำให้ต้องเสี่ยงพบกับความลำบากบั้นปลายชีวิต

“การใช้จ่ายของเราในวันนี้ คือ ตัวกำหนดอนาคตทางการเงินของเราในอีก 15-20 ปีข้างหน้า”

จักรพงษ์ เมษพันธุ์ (The Money Coach)

ฉะนั้น ระหว่างที่ทำงานหาเงิน ใช้เงินส่วนหนึ่งหาความสุขให้ตัวเองแล้ว อย่าลืมแบ่งสัดส่วนเงินเพื่อสะสมสำหรับ เตรียมเกษียณตั้งแต่ “วันนี้” เพราะการเตรียมเกษียณตั้งแต่จบใหม่ ไม่ใช่เรื่องแปลก แต่เป็นเรื่องที่ต้องรีบทำ