กทม.เช้านี้ อากาศแย่อันดับ 7 โลก ชี้ 21 พื้นที่ PM2.5 พุ่งเกินมาตรฐาน
กระทบสุขภาพชาวกรุง เผย กทม. เช้านี้ อากาศแย่อันดับ 7 โลก ชี้ 21 พื้นที่ PM2.5 พุ่งเกินมาตรฐาน
กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมพลพิษ รายงาน (08.00 น.) สถานการณ์คุณภาพอากาศ พื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล คุณภาพอากาศอยู่ในระดับ คุณภาพปานกลางถึงเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
สารมลพิษทางอากาศที่ตรวจพบเกินมาตรฐานได้แก่ ฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ตรวจพบค่าระหว่าง 42 - 77 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (µg/m3) เกินมาตรฐานที่บริเวณ เกินมาตรฐานที่บริเวณแขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรี กรุงเทพฯ, ริมถนนกาญจนาภิเษก เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ, แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ, แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ, แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ, แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพฯ, ริมถนนพระราม 4 เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ, ริมถนนอินทรพิทักษ์ เขตธนบุรี กรุงเทพฯ, ริมถนนลาดพร้าว เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ, ริมถนนดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ, แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ, แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ, ต.บางกรวย อ.บางกรวย นนทบุรี, ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด นนทบุรี, ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง ปทุมธานี, ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง สมุทรปราการ, ต.บางโปรง อ.เมือง สมุทรปราการ, ต.ตลาด อ.พระประแดง สมุทรปราการ, ต.ปากน้ำ อ.เมือง สมุทรปราการ, ต.อ้อมน้อย อ.กระทุ่มแบน สมุทรสาคร
ฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) ตรวจพบค่าระหว่าง 67 - 123 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (µg/m3) เกินมาตรฐานที่บริเวณ เกินมาตรฐานที่บริเวณแขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรี กรุงเทพฯ
เมื่อเวลา 08.38 น. ข้อมูลจากแอปพลิเคชั่น Air Visual ระบุว่า สภาพอากาศโดยทั่วไปของกรุงเทพมหานคร ตามมาตรฐาน US AQI อยู่ที่ 177 (PM 2.5 อยู่ที่ 57.8 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร) ติดอันดับที่ 7 เมืองที่มีคุณภาพอากาศแย่ที่สุดในโลก
ทั้งนี้ ดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) คือระบบสำหรับการรายงานความรุนแรงของระดับคุณภาพอากาศ โดยระดับ 0-50 แสดงถึงอากาศดี ระดับ 51-100 ปานกลาง 101-150 ไม่ดีต่อสุขภาพสำหรับกลุ่มที่อ่อนไหว 151 – 200 ไม่ดีต่อสุขภาพ 201 – 300 ไม่ดีต่อสุขภาพมาก และ 301 – 500 เป็นอันตราย
กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร เผยผลการตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) วันที่ 3 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2563 เวลา 07.00 น ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง พบว่าเกินค่ามาตรฐานจำนวน 33 พื้นที่ คือ เขตสัมพันธวงศ์ เขตพญาไท เขตปทุมวัน เขตบางรัก เขตยานนาวา เขตจตุจักร เขตบางกะปิ เขตลาดกระบัง เขตธนบุรี เขตคลองสาน เขตบางกอกน้อย เขตภาษีเจริญ เขตบางเขน เขตบางพลัด เขตบางขุนเทียน เขตพระนคร เขตสาทร เขตคลองเตย เขตบางซื่อ เขตหลักสี่ เขตบึงกุ่ม เขตสวนหลวง เขตลาดพร้าว เขตคลองสามวา เขตห้วยขวาง เขตสะพานสูง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตบางแค เขตจอมทอง เขตดอนเมือง เขตดินแดง เขตพระโขนง และเขตราษฎร์บูรณะ โดยตรวจวัดได้ในช่วง 54-77 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) (ค่ามาตรฐานเฉลี่ย 24 ชั่วโมงอยู่ที่ 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) คิดเป็นร้อยละ 89.19 จากจำนวนเขตที่มีสถานีตรวจวัดทั้งหมด
คุณภาพอากาศส่วนใหญ่อยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ค่า PM2.5 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
คำแนะนำในการปฏิบัติตน ให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ที่คุณภาพอากาศอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ-มีผลกระทบต่อสุขภาพ ให้เฝ้าระวังสุขภาพ หากมีอาการเบื้องต้น เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้งโดยเฉพาะ ผู้สูงอายุ เด็กและผู้ป่วยทางเดินหายใจ และใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากเกิดความจำเป็น