กลยุทธ์ชิงดำคลื่น 5G กดดันเชิงลบกลุ่มสื่อสาร

 กลยุทธ์ชิงดำคลื่น 5G กดดันเชิงลบกลุ่มสื่อสาร

เปิดศึกชิงดำจากผลการประมูลคลื่น 5G ในวันที่ 16 ก.พ. ว่ารายไหนจะได้ใบอนุญาตตรงตามที่ต้องการไว้หรือไม่ หลังจากที่ 3 โอเปอเรเตอร์รายใหญ่ และ ผู้ให้บริการคลื่นสาธารณะเปิดเผยออกมาแล้วว่าต้องการประมูลคลื่นไหนกันบ้าง 

จากคลื่นที่ประมูลทั้งหมด 4 คลื่น ประกอบไปด้วย คลื่น 700 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 15 เมกะเฮิรตซ์ ราคาประมูลขั้นต่ำ 8,792 ล้านบาท , คลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 35 เมกะเฮิรตซ์ ราคาประมูลขั้นต่ำ 12,486 ล้านบาท ,คลื่น 2600 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 190 เมกะเฮิรตซ์ ราคาประมูลขั้นต่ำ 1,862 ล้านบาท และ คลื่น 26 กิ๊กกะเฮิรตซ์ จำนวน 27 กิ๊กกะเฮิรตซ์ ราคาประมูลขั้นต่ำ 423 ล้านบาท

ผลออกมาผิดจากคาดการณ์ เพราะมองว่าคลื่น 2600 จะเป็นคลื่นเนื้อหอมที่สุดจะมีผู้ประกอบการทั้ง 5 จะตบเท้าเข้าร่วมประมูลพร้อมเพรียง แต่กลับกลายเป็นมีการเข้าไปชิงคลื่น 700 เมกะเฮิรตซ์ และ คลื่น 26 กิ๊กกะเฮิรตซ์ แทน เมื่อประเมินจากความสนใจในคลื่นดังกล่าวแล้วทำให้มีความเป็นไปได้ คลื่น 700 เมกะเฮิรตซ์ และคลื่น 26กิ๊กกะเฮิรตซ์ น่าจะมีราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุด

หากแต่ที่น่าสนใจไปกว่านั้นคือการแข่งประมูลกันของ 3 กลุ่ม คือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ ADVANC , บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE  และ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด หรือ CAT เนื่องจากทั้ง 3 กลุ่มต่างใจตรงกันอย่างตั้งใจเพื่อวางกลยุทธ์ดึงราคาประมูลสูงเพราะลงชิงคลื่น 700 และ 2600  ด้วยกันทั้งหมด

เนื่องจากก่อนหน้านี้ CAT ประกาศชัดเจนต้องการได้คลื่นความถี่ต่ำ 700 เมกะเฮิรตซ์ เพราะยังไม่มีคลื่นนี้อยู่ในมือ เหมือนโอเปอเรเตอร์ 3 รายที่มีครบและเพียงพอหมดแล้ว   รวมทั้งราคาประมูลขั้นต่ำอยู่ที่  8,792 ล้านบาท  มีทั้งสิ้น 15 เมกะเฮิรตซ์ หรือ 3 ชุด ซึ่งผู้เข้าร่วมการประมูลสามารถประมูลได้สูงสุด 3 ชุด ถ้า CAT ต้องการอยากได้คลื่นนี้จริงเหมา 3 ชุดจะได้เห็นการวางหมากกดดันให้เกิดการสู้ราคาเพื่อชิงคลื่นนี้ไปให้ได้

ส่วนคลื่น 2600 เมกะเฮิรตซ์ถือว่าตอบโจทย์ 5G มากที่สุด เพราะเป็นคลื่นลูกครึ่งระหว่าง 4G และ 5 G สามารถนำไปพัฒนาโครงข่ายได้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งการได้คลื่นนี้ไปผู้ชนะต้องมีการขยายโครงข่ายให้ครอบคลุม 50% ของพื้นที่อีอีซีภายใน 1 ปี และครอบคลุม 50% ของจำนวนประชากรของ Smart City ภายใน 4 ปี ที่สำคัญคลื่นดังกล่าวสามารถเชื่อมกับคลื่นเดิมที่มีอยู่ในกลุ่มคลื่นความถี่ระดับกลาง ซึ่งตามความเหมาะสมระดับจำนวนคลื่นที่ควรมีอยู่ที่ 80-100 เมกะเฮิรตซ์

 ปัจจุบัน ADVANC มีจำนวนคลื่นความถี่ระดับกลางอยู่ที่ 120 เมกะเฮิรตซ์ , TRUE มีจำนวนคลื่นความถี่ระดับกลางอยู่ที่ 110 เมกะเฮิรตซ์ เท่ากับ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC อยู่ที่ 110 เมกะเฮิรตซ์

 หากแต่ความต้องการคลื่นดังกล่าวยังมีตัวแปรที่สำคัญ CAT ที่โดดมาประมูลร่วมด้วยสนใจลงประมูลคลื่นนี้ด้วยแม้ว่าหลายฝ่ายจะวิเคราะห์ยังไม่เห็นโอกาสทางธุรกิจมากพอหากได้คลื่นนี้ไป จึงทำให้คลื่นดังกล่าวมีโอกาสที่ราคาจะปรับตัวขึ้นไปสูงกกว่ากว่าคลื่นอื่น

 รวมทั้งการที่ DTAC ตัดสินใจไม่เข้าประมูลในคลื่นนี้ทำให้เริ่มมีการมองแล้วว่าประวัติศาสตร์จะซ้ำรอยเหมือนรอบประมูล4 G ปี 2558 ที่ DTAC ไม่ได้คลื่นอะไรติดมือไปเลยจนต้องเผชิญการสูญเสียฐานลูกค้าและตำแหน่งทางการตลาดในที่สุด 

ทางกลับกันคลื่น 26 เมกะเฮิรตซ์ ที่ดูจะคึกคักเพราะมีผู้ร่วมประมูลทั้ง ADVANC-TRUE-DTAC และ บริษัท ทีโอที จำกัด หรือ TOT แต่ไม่น่าจะเป็นปัญหาด้านภาระการเงินให้กับเหล่าผู้ประกอบการเพราะราคาประมูลขั้นต่ำอยู่ที่ 423 ล้านบาท มี 27 ชุดและคลื่นดังกล่าวเป็นคลื่นเสริม5G ยังไม่สำคัญเท่ากับการมีคลื่น 2600 เมกะเฮิรตซ์ ในมือ 

เมื่อดูฐานะทางการเงินและศักยภาพในการหาแหล่งเงินทุนยังต้องยกให้ ADVANC มีสถานะดีที่สุด จากงบปี 2562 มีเงินสดในมือเกือบ 20,000 ล้านบาท มีเงินสดจากการดำเนินธุรกิจ 76,627 ล้านบาท มีงบลงทุนต่อปีอยู่ที่ 20,000 ล้านบาท

ส่วน DTAC เงินสดในมือ 8,528 ล้านบาท เงินสดจากการดำเนินธุรกิจ ราว 17,597 ล้านบาท มีงบลงทุนต่อปีที่ 13,000-15,000 ล้านบาท ด้านทรูในงวด 9 เดือนปี 2562 แม้จะมีเงินสดในมือ 23,199 ล้านบาท แต่มีมีการลงทุนเกือบ 30,000 ล้านบาท ภาระด้านหนี้สินระยะเวลา 1 ปี สูงถึงระดับ 30,000 ล้านบาทเช่นกัน

158157232254