ส่ง ‘ชิมช้อปใช้เฟส4’ กระตุ้นท่องเที่ยวสงกรานต์

ส่ง ‘ชิมช้อปใช้เฟส4’ กระตุ้นท่องเที่ยวสงกรานต์

“กระทรวงคลัง”ชงมาตรการ “ชิมช้อปใช้เฟส4” เข้าครม.เดือนมี.ค.นี้ เพื่อให้ใช้ทันช่วงเทศกาลสงกรานต์ หวังช่วยสนับสนุนการท่องเที่ยวในประเทศ กระตุ้นการจับจ่ายใช้สอย  หลังการบริโภคในประเทศ ในปัจจุบันได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 เผยขณะนี้ยังไม่ได้กำหนดวงเงิน 

แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติมาตาการชิมช้อปใช้เฟส4 ภายในเดือนมี.ค.นี้ เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวในช่วงเทสกาลสงกรานต์ ส่วนวงเงินงบประมาณจะเป็นเท่าไหร่นั้น ยังเร็วเกินไปที่จะตอบในขณะนี้ เนื่องจากขึ้นอยู่กับการออกแบบโครงการว่าจะตอบโจทย์อะไรบ้าง

อย่างไรก็ตาม เนื่องสถานการณ์ระบาดไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่(โควิด-19ที่แพร่ระบาดไปทั่วโลกขณะนี้ ส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวของประเทศอย่างรุนแรง ดังนั้นการออกแบบโครงการเฟสที่4ในครั้งนี้ จะคำนึงถึงการเข้าไปสนับสนุนภาคการท่องเที่ยวของประเทศด้วย รวมถึงการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคทั่วไปด้วย

อ่านข่าว
คลังพบทุจริตชิมช้อปใช้



ทั้งนี้ โครงการชิม ช้อป ใช้ ซึ่งเริ่มเมื่อวันที่ 27ก.ย.2562และสิ้นสุดโครงการเมื่อวันที่ 31ม.ค.2563 มีจำนวนคนที่เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น14.35ล้านคน ในจำนวนนี้ มีคนที่ใช้สิทธิ์11.8ล้านคน และมียอดใช้จ่ายผ่าน g-Wallet1 (ช่องที่รัฐบาลเติมเงินให้1พันบาทเพื่อใช้จ่าย) และg-Wallet 2 รวม 2.88 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นการใช้จ่ายผ่านกระเป๋าที่หนึ่ง 1.16หมื่นล้านบาท และกระเป๋าที่สอง 1.71หมื่นล้านบาท โดยมีร้านค้าเข้าร่วมโครงการรวม1.7แสนล้านค้าทั่วไป ส่วนใหญ่เป็นร้านค้าขนาดเล็ก มีร้านค้าขนาดใหญ่เพียง8 %

มาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศ“ชิมช้อปใช้” เป็นมาตรการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศ และสนับสนุนการใช้จ่ายผ่านระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์โดยภาครัฐ (g-Wallet)โดยผู้สนใจเข้าร่วม มาตรการจะต้องมีอายุ18ปีบริบูรณ์ในวันลงทะเบียน และมีบัตรประจำตัวประชาชน สามารถลงทะเบียนเข้าร่วม มาตรการผ่านเว็บไซต์

ทั้งนี้ ผู้ที่ผ่านการลงทะเบียนจะได้รับสิทธิประโยชน์2ส่วนด้วยกัน ได้แก่1.รัฐบาลสนับสนุน วงเงินจำนวน1,000บาท ต่อคน เพื่อเป็นสิทธิในการซื้อสินค้าและบริการจากผู้ประกอบการที่เข้าร่วมมาตรการโดยไม่ สามารถถอนเป็นเงินสดได้ และ2.หากผู้ลงทะเบียนเติมเงินเพิ่มเติมเพื่อใช้จ่ายค่าอาหารและเครื่องดื่ม ค่าที่พัก หรือค่าสินค้าท้องถิ่น จากผู้ประกอบการที่เข้าร่วมมาตรการ รัฐบาลจะสนับสนุนวงเงินชดเชยเป็นจำนวนเท่ากับร้อยละ15ของยอดชำระเงินที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน4,500บาทต่อคน (วงเงินใช้จ่ายไม่เกิน30,000บาทต่อคน) ส่วนที่เหลือ3หมื่นบาทแต่ไม่เกิน5หมื่นบาทจะได้รับคืนอีก20 %เพื่อเป็นการกระจายรายได้สู่ชุมชน

ทั้งนี้ ในการซื้ออสินค้าและบริการดังกล่าวจะต้องเป็นการใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวผ่านแอพพลิเคชั่น“เป๋า ตัง”เพื่อซื้อสินค้าและบริการจากผู้ประกอบการที่รับชำระเงินด้วยแอพพลิเคชัน“ถุงเงิน”