ยื่น 'ภาษี' ต้องมี 'เงินได้' เท่าไร
โค้งสุดท้าย ก่อนหมดเขต "ยื่นภาษี" ปี 2562 ผ่านช่องทางออนไลน์ ที่จะหมดเขต 31 สิงหาคม 2563 นี้ มาทบทวนทำความเข้าใจกับวิธีคำนวณ "เงินได้" หรือ "รายได้" กัน!
โค้งสุดท้าย ก่อนหมดเขตยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2562 ผ่านช่องทางออนไลน์ ที่จะหมดเขต 31 สิงหาคม 2563 นี้ มาทบทวนทำความเข้าใจกับวิธีคำนวณ "เงินได้" หรือ "รายได้" กัน!
..เงินเดือน 15,000 ต้องยื่นภาษีไหม
..มีเงินได้เท่าไหร่ถึงต้องเสียภาษี
..มีเงินได้เท่านี้ ต้องเสียภาษีเท่าไหร่
ฯลฯ
และอีกหลายคำถาม เกี่ยวกับการ “ยื่นภาษี” ที่มักจะเกิดขึ้นเมื่อห้วงเวลายื่นภาษี (ปีนี้ 1 มกราคม-31 สิงหาคม 2563) วนมาถึงสำหรับคนที่ยังไม่เคยยื่นภาษี หากจะหาจุดตั้งต้นง่ายๆ ในการคำนวณเงินเพื่อยื่นภาษี น่าจะเริ่มต้นจากสมการนี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
- 'ยื่นภาษี' ปี62 หัก 'ค่าใช้จ่าย' อะไรได้บ้าง
- 'ยื่นภาษี' ปี62 'ลดหย่อน' อะไรได้บ้าง
- วิธีคำนวณ 'เงินได้สุทธิ' ก่อน 'ยื่นภาษี' ปี62
ก่อนที่จะรู้ว่าต้องจ่ายภาษีหรือไม่ ต้องจ่ายเท่าไหร่ หรือจะได้ภาษีคืนไหม จะต้องรู้ก่อนว่าเรามี “เงินได้สุทธิ” เท่าไหร่ วิธีการคำนวณเบื้องต้น สามารถทำได้ง่ายๆ ไล่ไปทีละสเต็ป
สเต็ปแรก คือ การทำความรู้จักกัน “เงินได้” หรือ “รายได้” ของตัวเองเพื่อคำนวณภาษีต่อไป
คำว่า "เงินได้" ณ ที่นี้ หมายถึงเงินได้ตลอดทั้งปีที่แต่ละคนได้รับจากช่องทางต่างๆ โดยเงินได้บุคคลธรรมดาถูกแบ่งออก 8 ประเภท ได้แก่
- เงินได้ประเภทที่ 1
- เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำนาญ
- เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับจากนายจ้าง
- เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้าน ซึ่งนายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า
- เงินที่นายจ้างจ่ายชำระหนี้ใดๆ ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชำระ
- เงินได้ประเภทที่ 2
- ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด
- เงินอุดหนุนในงานที่ทำ เบี้ยประชุม บำเหน็จ โบนัส
- เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับเนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้
- เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้าน ที่ผู้จ่ายเงินได้ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า
- เงินที่ผู้จ่ายเงินได้จ่ายชำระหนี้ใด ๆ ซึ่งผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องชำระ
- เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ ที่ได้เนื่องจากหน้าที่ หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือการรับทำงานให้นั้น ทั้งแบบประจำหรือชั่วคราว
- เงินได้ประเภทที่ 3
- ค่าแห่งกู๊ดวิลล์
- ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น
- เงินปี หรือเงินได้ที่มีลักษณะ เป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล
- เงินได้ประเภทที่ 4
ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร เงินลดทุน เงินเพิ่มทุน ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้น ฯลฯ
- เงินได้ประเภทที่ 5
- การให้เช่าทรัพย์สิน
- การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน
- การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อนซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้นโดยไม่ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว
- เงินได้ประเภทที่ 6
- เงินได้จากวิชาชีพอิสระ เช่น วิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลป วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม หรือวิชาชีพอื่นตามที่พระราชกฤษฎีกากำหนด
- เงินได้ประเภทที่ 7
เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระ ในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ
- เงินได้ประเภทที่ 8
เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ หรือนอกจากที่ระบุไว้ในประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 7
ประเด็นสำคัญที่ต้องรู้ คือ “เงินได้ของเราเป็นเงินได้ประเภทใด” เพื่อนำไปสู่การคำนวณเพื่อลดค่าใช้จ่ายที่สอดคล้องกับประเภทรายได้ และกรอกข้อมูลให้ถูกต้องเมื่อต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในสเต็ปต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :