ไทยแจก 2,000 บาท แล้วต่างชาติรับมือ 'COVID-19' อย่างไร?
รวมมาตรการการกระตุ้นเศรษฐกิจของต่างประเทศ ในช่วง COVID-19 ระบาดไปหลายประเทศทั่วโลก
สถานการณ์การระบาดโรคโควิด -19 ยังคงส่งผลกระทบต่อเนื่องทั้งในประเทศและต่างประเทศ ล่าสุดรัฐบาลไทยมีมาตรการการแจกเงินเพื่อหวังพยุงเศรษฐกิจไทย
ทั้งนี้การแจกเงินไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด เพราะในปี 2552 เคยมีมาตรการในลักษณะเดียวกันออกมาแล้ว
นอกจากนี้ต่างชาติอย่างเขตปกครองพิเศษฮ่องกงก็มีมาตรการรับมือโควิด -19 ด้วยการแจกเงินเช่นเดียวกัน กรุงเทพธุรกิออนไลน์ จึงรวบรวมมาตรการการกระตุ้นเศรษฐกิจของต่างประเทศ ในช่วง COVID-19 ว่ามีมาตรการที่น่าสนใจอย่างบ้าง
- สาธารณรัฐประชาชนจีน
ถือประเทศที่วิกฤตที่สุด เพราะต้นตอไวรัสโคโรน่าสายพันธ์ใหม่2019 นั้นถูกแพร่ระบาดมาจากจัวหวัดอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ ภาคกลางของจีน ทั้งนี้มาตรการการกระตุ้นเศรษฐกิจในด้านกระทรวงการคลัง มีการอนุมัติงบประมาณจำนวน 47 พันล้านหยวน เพื่อสนับสนุนการป้องกันและควบคุม COVID-19
มาตรการช่วยเหลือสภาพคล่อง PBoC (People’s Bank of China) ธนาคารกลางจีนได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ย Medium-term Lending Facility (MLF) ] ลงเหลือ 3.15% และปรับลดอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตร (Reverse Repo) อายุ 7 วันและ 14 วันลง 10 bps และอัดฉีดสภาพคล่องมูลค่า 1.2 ล้านล้านหยวนเข้าสู่ตลาดการเงิน
มาตรการเพื่อสนับสนุน SMEs แบ่งเป็น การงดเว้นการจ่ายเงินประกันสังคมของ SMEs แก่ลูกจ้างในช่วง ม.ค. – มิ.ย. (18 ก.พ. 2563) ขยายเวลาชำระเงินกู้คืน ลดต้นทุนทางการเงิน ด้วยเงินกู้อัตราต่ำพิเศษ (LPR) และ ขยายช่องทางการจัดหาเงินทุนโดยตรงแก่ SMEs นอกจากนี้ยังลดค่าเช่าสำหรับ SMEs ที่ต้องหยุดการผลิตตามคำสั่งของรัฐ โดยมีเงื่อนไขว่า SMEs ต้องไม่เลิกจ้างพนักงาน โดยจะได้รับงดเว้นค่าเช่าในเดือน ก.พ. สำหรับค่าเช่าสำนักงานจะได้รับงดเว้นร้อยละ 50 งดเว้นการจัดเก็บค่าธรรมเนียมบางส่วนสำหรับ SMEs ซึ่งรวมถึงค่าตรวจสอบอุปกรณ์พิเศษ ค่าบำบัดน้ำเสีย และค่าธรรมเนียมการใช้ถนน และจ่ายเงินชดเชยให้แก่บริษัทประกันที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 โดยมีเงื่อนไขว่า ต้องไม่เลิกจ้างพนักงานหรือเลิกจ้างพนักงานให้น้อยที่สุด
มาตรการทางภาษี มีการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งรวมถึงเงินโบนัสจากการทำงานที่เกี่ยวข้องกับงานป้องกันแพร่ ระบาด และอุปกรณ์ป้องกันทางการแพทย์ที่พนักงานได้รับสนับสนุนจากบริษัท และให้เงินคืนเต็มจำนวนสำหรับบริษัทที่จัดหาวัสดุสำคัญสำหรับการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค
รวมถึงยกเลิกภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการขนส่งพัสดุเพื่อการควบคุมโรคระบาด สำหรับบริษัทที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาด อนุญาตให้ขยายเวลาการลดหย่อน ค่าความเสียหายจาก 1 ปี เป็น 8 ปี และยกเว้นภาษีการนำเข้าสำหรับสินค้าจำเป็นที่ใช้ในการควบคุมโรคระบาดโดยตรงซึ่งจะครอบคลุมการบริจาคจากต่างประเทศ
- เขตปกครองพิเศษฮ่องกง
มาตรการทางการคลัง อนุมัติ Hong Kong Relief Package งบ 120 พันล้านดอลลาร์ฮ่องกง แบ่งเป็น
-แจกเงินสด 10,000 ดอลลาร์ฮ่องกง (ประมาณ 40,500บาท) โดยมีกลุ่มเป้าหมาย (ประมาณ 7 ล้านคน) คือ 1.ประชาชนที่อาศัยอยู่ที่ฮ่องกงเป็นการถาวร 2.มีอายุมากกว่า 18 ปีบริบูรณ์เป็นต้นไป
- ลดภาษีเงินได้สำหรับการประเมินปี 2019-2020 แต่ไม่เกิน 2000 ดอลลาร์ฮ่องกง
- ยกเว้นอัตราทรัพย์สินในประเทศสำหรับปี 2020-2021 แต่ไม่เกิน 1,500 ในแต่ละไตรมาส
- สนับสนุนค่าใช้จ่ายพิเศษ 1 เดือน สำหรับ standard CSSA payment (ค่าเบี้ยเลี้ยงผู้สูงอายุ ค่าครองชีพสาหรับผู้สูงอายุหรือพิการ และรายจ่ายอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน)
มาตรการบรรเทาผลกระทบจากธนาคารพานิชย์ แบ่งเป็น StandardChartered จะช่วยให้ลูกค้าที่มีประวัติการชำระหนี้ที่ดีโดยให้ชำระเพียงดอกเบี้ย (งดเว้นการจ่ายเงินต้น) สำหรับสินเชื่ออสังหาฯ เป็นเวลา 6 เดือน และเลื่อนการชำระหนี้เงินต้นสำหรับสินเชื่อเพื่อการพาณิชย์ และ HSBC จัดเตรียมเงินมากกว่า 30 พันล้านดอลลาร์ฮ่องกง (3.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพื่อบรรเทา ปัญหาสภาพคล่องสำหรับธุรกิจ ซึ่งรวมถึงวงเงินช่วยเหลือจำนวน 10 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง ในการสนับสนุนกระแสเงินสดสำหรับลูกค้าสินเชื่อเพื่อการค้าและประกาศพักชำระหนี้เงินต้นสำหรับสินเชื่อเพื่อการค้าที่มีหลักประกัน นอกจากนี้ได้ขยายระยะเวลาชำระคืนเงินกู้การค้าสำหรับธุรกิจนำเข้าเป็นเวลา 30 วัน และการเลื่อนการชำระหนี้ให้แก่แท็กซี่และสินเชื่อรถบัสสาธารณะและ สินเชื่อเพื่อการพาณิชย์ที่มีหลักประกัน
- ประเทศสิงคโปร์
รัฐบาลอนุมัติงบ 800 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ให้กับกระทรวงสุขภาพ (Ministry of Health) ซึ่งสูงกว่างบที่เคยอนุมัติกรณีโรค SARS ในปี 2003 ที่มีงบประมาณอยู่ที่ 800 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ โดยงบครอบคลุมถึงมาตรการ 2 ส่วน
1. The Stabilisaiton and Support Package (4 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์) โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือกลุ่มผู้ใช้แรงงานให้ยังมีงานทำและกลุ่มบริษัทให้มีสภาพคล่อง
2. The Care and Support Package (1.6 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์) เพื่อช่วยเหลือค่าใช้จ่ายของภาคครัวเรือน โดยกำหนดหลักเกณฑ์การช่วยเหลือคือ
-จ่ายเงินสด (ครั้งเดียว) ให้กับประชาชนทุกคนที่มีอายุ 21 ปีขึ้นไป โดยจ่ายระหว่าง 100 ถึง 300 ดอลลาร์สิงคโปร์ขึ้นอยู่กับระดับรายได้ (ประมาณ 3,000 ถึง 7,000 บาท) โดยมีเงื่อนไข ดังนี้
ผู้ที่มีรายได้ 28,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ได้รับ 300 ดอลลาร์สิงคโปร์
ผู้ที่มีรายได้ 28,001- 100,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ ได้รับ 200 ดอลลาร์สิงคโปร์
ผู้ที่มีรายได้มากกว่า 100,000 ดอลลาร์สิงคโปร์หรือมีทรัพย์สินมากกว่าหนึ่งแห่งจะได้รับ 100 ดอลลาร์สิงคโปร์
-จ่ายเงินสดเพิ่มอีก 100 ดอลลาร์สิงคโปร์สำหรับผู้ปกครองที่มีบุตรอายุไม่เกิน 20 ปี
-รมว. คลังประกาศว่ารัฐบาลจะมอบบัตร PAssion ให้ชาวสิงคโปร์ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป เงินนี้สามารถนำไปใช้จ่ายค่าซื้อของได้ตามซูปเปอร์มาร์เก็ตที่รัฐบาลกำหนดได้
นอกจากนี้ยังมีมาตรการบรรเทาความเดือดร้อนให้กับภาคธุรกิจในภาคค้าปลีกและโรงแรม โดย Singapore Tourism Board จะสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการทำความสะอาดในอัตราร้อยละ 50 ของที่จ่ายจริง แต่กำหนดเพดานขั้นสูงไว้ที่ 20,000 ดอลลาร์สิงคโปร์สำหรับโรงแรมที่ได้รับการยืนยันว่ามีการติดเชื้อ และ 10,000 ดอลลาร์สิงคโปร์สำหรับโรงแรมที่ต้องสงสัยว่ามีการติดเชื้อ และให้ส่วนลดภาษีอสังหาริมทรัพย์ (Property tax) ให้แก่ภาคธุรกิจในภาคค้าปลีกและโรงแรม รวมถึงปรับลดความเข้มงวดสำหรับหลักเกณฑ์การจ้างแรงงานต่างชาติสำหรับภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว
รวมถึงออกมาตรการบรรเทาผลกระทบจากธนาคารพาณิชย์ด้วยการพักชำระหนี้เงินต้น 6-12 เดือน ขยายเวลาชำระเงิน 60 วัน แก่ SMEs และ ลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ และ ขยายกำหนดเวลาการเรียกเก็บเงินเพิ่มเติม 3 เดือน สำหรับลูกค้าท่ีมีปัญหาได้รับ ชำระเงินล่าช้า และยกเว้นค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องเป็นเวลา 6 เดือน
- ประเทศญี่ปุ่น
มีประกาศมาตรการฉุกเฉิน (มูลค่ารวม 15.3 พันล้านเยน) และครม. อนุมัติงบ 10.3 พันล้านเยนเพื่อมาตรการฉุกเฉินกับการแพร่กระจายของ COVID-19 เพื่อใช้เป็นเงินทุนสำหรับมาตรการฉุกเฉินเพื่อต่อสู้กับการแพร่กระจายของ COVID-19 แบ่งเป็น
- พัฒนาชุดทดสอบโรค (แบบเร่งด่วน) วัคซีน และตั้งคลินิคใหม่ ศูนย์ให้คำปรึกษา 47 จังหวัด
- สนับสนุนการกักกันโรคในผู้ที่เดินทางจากต่างประเทศ และเสริมสร้างการดูแลควบคุม การผ่านแดน
- ช่วยเหลือธุรกิจขนาดเล็กที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาด (รายได้ต่ากว่า 500 ล้านเยน) โดย การออกสินเชื่อฉุกเฉินและค้าประกันเงินกู้โดย Japan Finance Corp.
- ให้เงินอุดหนุนแก่ผู้ผลิตหน้ากากเพื่อเพิ่มกำลังการผลิต 500 ล้านเยน
- ประเทศมาเลเซีย
มาตรการบรรเทาผลกระทบจากธนาคารพานิชย์ แบ่งเป็น Standard Chartered ให้ลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจ่ายเฉพาะดอกเบี้ยสำหรับการผ่อนชำระเป็น เวลา 6 เดือน และ OCBC Bank (Malaysia) Bhd อยู่ระหว่างพิจาราณาช่วยเหลือธุรกิจและลูกค้าบุคคลที่ ได้รับผลกระทบ
มาตรการบรรเทาภาคท่องเที่ยว คือTourism, Art and Culture Ministry เสนอรัฐบาล เลื่อนการพิจารณาปรับขึ้นค่าจ้างขั้นตำ่ในปีนี้
- สาธารณรัฐเกาหลี
มาตรการการคลัง อนมัติงบ 20.8 พันล้านวอน (17.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ) เพื่อใช้ต่อต้านการแพร่ระบาดของโรค และสำรองเงินช่วยเหลือ SMEs ในกรณีฉุกเฉิน 2 พันล้านวอน
- ประเทศอินโดนีเซีย
มาตรการการคลัง มีการอนุมัติงบ 10.3 ล้านล้านริงกิต (742 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) เพื่อลดผลกระทบจาก COVID-19 แบ่งเป็น
-รัฐบาลกลางให้เงินแก่รัฐบาลท้องถิ่นจำนวน 3.3 ล้านล้านริงกิต เพื่อชดเชยกับรายได้การ ท่องเที่ยวที่จะหายไป
-งดภาษี 3 เดือนแก่โรงแรมและภัตราคารใน 10 เมืองหลักการท่องเที่ยว
-สั่งให้รัฐวิสาหกิจด้านพลังงานลดราคาเชื้อเพลิงที่ขายให้กับสายการบิน 30% (เทียบเท่ากับ 265.5 พันล้านริงกิต)
-ปรับลดภาษีสนามบินลงร้อยละ 20 เป็นเวลา 3 เดือน มูลค่าประมาณ 265.6 พันล้านริงกิต
-สนับสนุนเงินกองทุนประกันสังคมมูลค่า 4.6 ล้านล้านริงกิต (สำหรับผู้รับผลประโยชน์จำนวน 15.2 ล้านคน) เพื่อส่งเสริมการบริโภคของประชาชน
-สนับสนุนเงินช่วยดอกเบี้ยและเงินดาวน์ในสินเชื่อบ้านผู้มีรายได้น้อย (มูลค่ารวม 1.5 ล้านล้านริงกิต)
- ไต้หวัน
รัฐบาลอยู่ระหว่างการพิจารณามาตรการสนับสนุนอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบ เช่น อุดหนุนงบประมาณ หรือออกกฎหมายพิเศษเพื่อช่วยในการต่อสู้กับโรคระบาด