นักวิจัยซีแอตเทิล ชี้ 'ห่างกันสักพัก-ล็อกดาวน์' ช่วยชะลอติด COVID-19 ได้จริง
งานวิจัยเชิงสถิติในซีแอตเทิล ชี้ มาตรการ "เว้นระยะห่างทางสังคม-ล็อกดาวน์ " ชะลอการแพร่โรคโควิด-19 ได้จริง
สถาบัน Disease Modeling (IDM) ในวอชิงตัน ประเมินผลมาตรการล็อกดาวน์ หรือการให้ประชาชนอยู่บ้านและปิดสถานที่ไม่จำเป็น ตลอดจนมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (social distancing) ในเมืองซีแอตเทิล รัฐวอชิงตัน จะช่วยชะลอการแพร่ระบาดไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ ต้นตอเกิดโรคโควิด-19
ทั้งนี้ มีข้อมูลด้านสุขภาพในจุดร้อนไวรัสโรคโควิด-19 ของทางการ และข้อมูลบอกพิกัดบนเฟซบุ๊คแบบนิรนาม ในการคำนวณ พบว่า อัตราการแพร่เชื้อโดยเฉลี่ยลดลงเกือบครึ่ง จาก 1 คนแพร่ต่อ 2.7 % เมื่อสิ้นเดือนก.พ. ลงมาอยู่ที่ 1.4 % ภายใน 18 มี.ค.
สำหรับรัฐวอชิงตัน ที่เมืองซีแอตเทิลตั้งอยู่ เป็นรัฐที่พบผู้ติดเชื้อรายแรกในสหรัฐ และเป็นศูนย์กลางระบาดในช่วงแรก ก่อนเป็นรัฐแรกๆที่เริ่มแบนการรวมตัวของคนหมู่มาก และปิดโรงเรียนช่วงต้นเดือน มี.ค, โดยข้อมูลด้านสุขภาพที่นำมาใช้ในการคำนวณ รวมถึงผลตรวจไวรัสได้ผลบวกและลบ และอัตราการตาย
นอกจากนี้ ผลศึกษาระบุว่า ข้อมูลพิกัดจากเฟซบุ๊คแสดงให้เห็นการเดินทางลดลงต่อเนื่อง กับมีหลักฐานชัดเจนว่าผู้คนอยู่บ้านในระยะเวลาดังกล่าว
ส่วนอัตราการอยู่ในที่พักเพิ่มขึ้น 27% ส่วนการเข้าไปในสถานที่ที่ตั้งออฟฟิศ เช่น ซีแอตเทิลตอนกลาง ลดลง 43%
การศึกษาชิ้นนี้แม้ใช้ข้อมูลไม่มากในการคำนวณ และยังมีค่าความไม่แน่นอนระดับหนึ่ง แต่ยืนยันว่า คำสั่งให้อยู่บ้านออกมาทันการและจำเป็น และจะต้องคงอยู่ต่อไป ยังต้องเห็นความก้าวหน้าเพิ่มอีก
แดเนียล ไคลน์ หนึ่งในหัวหน้าทีมศึกษา กล่าวว่า ประเด็นหลักจากผลศึกษาคือ แม้มีความก้าวหน้าบางประการ แต่ยังเป็นความก้าวหน้าที่ยังต้องระมัดระวัง และยังไม่พอ” เช่นเดียวกับ เจฟฟ์ ดูชิน ผู้อำนวยการสาธารณสุข คิง เคาน์ตี ในซีแอตเทิล กล่าวว่า ได้เห็นผลบวกจากมาตรการรักษาระยะห่างและมาตรการที่นำมาใช้ แต่จำนวนผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตยังเพิ่ม จึงยังต้องใช้มาตรการทุกอย่างต่อไป
มีรายงานผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในคิง เคาน์ตี สะสมรวม 2,330 ราย เสียชีวิต 150 ราย ความเสี่ยงระบาดเพิ่งยังมี และอาจทำให้ระบบสาธารณสุขรับไม่ไหว