ทำไมต้องบริจาค ‘เลือด’ หรือ ‘พลาสม่า’ ในวิกฤติ โควิด-19 ที่สภากาชาด

ทำไมต้องบริจาค ‘เลือด’ หรือ ‘พลาสม่า’ ในวิกฤติ โควิด-19 ที่สภากาชาด

วิกฤติ “เลือด” ไม่เพียงพอ เนื่องจากสถานการณ์ “โควิด-19“ ทำให้ “สภากาชาดไทย” ได้ประกาศว่า ขอเชิญผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง ไม่เข้าข่ายผู้มีความเสี่ยงติดโรคโควิด-19 มาบริจาคโลหิต และผู้ที่หายป่วยจาก โควิด-19 มาบริจาค “พลาสม่า” ได้ที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ

ในช่วงสถานการณ์ โควิด-19 นี้ก็ทำให้เลือดในคลังไม่พอ เนื่องจากคนต่างกลัว และไปบริจาคเลือดกันน้อยลง ดังนั้นสภากาชาดไทย จึงได้ประกาศว่า วิกฤติโลหิตไม่เพียงพอ เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ขอเชิญผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง ไม่เข้าข่ายผู้มีความเสี่ยงติดโรคโควิด-19 มา บริจาคเลือด หรือผู้ที่หายจาก โควิด-19 แล้ว บริจาค พลาสม่า หรือเกล็ดเลือด เพื่อนำไปพัฒนาเป็นยาต่อไป โดยบริจาคได้ที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ภาคบริการโลหิตแห่งชาติ และหน่วยรับบริจาคโลหิตทุกแห่ง เพื่อส่งต่อโลหิตที่ปลอดภัยให้กับผู้ป่วยทั่วประเทศ

เลือด คือของเหลวสีแดงที่ไหลอยู่ในร่างกาย และในปัจจุบันก็ยังไม่สามารถหาสารประกอบใดที่จะใช้ทดแทนโลหิตได้ ดังนั้นการบริจาคเลือดถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญมาก แต่ไม่ใช่ว่าใครก็สามารถไปบริจาคเลือดก็ได้ เพราะว่าก่อนการบริจาคก็จะมีการคัดกรองผู้ให้บริจาคเบื้องต้นก่อน หลังจากผ่านการคัดกรองและให้เลือดแล้ว หลังจากนั้นก็ยังมีกระบวนการต่างๆ อีกมากก่อนส่งไปให้ผู้ป่วยได้ใช้ 

คนที่เคยบริจาคเลือดคงจะรู้อยู่แล้วว่า ผู้ที่จะบริจาคเลือดได้ต้องเป็นผู้ที่อายุ 17-70 ปี มีน้ำหนัก 45 กิโลกรัมขึ้นไป สุขภาพร่างกายแข็งแรง ต้องนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ต้องไม่มีประวัติโรคหัวใจ โรคตับ โรคปอด โรคเลือด โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน หรือมีภาวะเลือดออกง่ายและหยุดยาก และต้องไม่มีอาการท้องเสียใน 7 วันที่ผ่านมา และไม่ควรรับประทานยาใดโดยเฉพาะยาแอสไพริน หรือยาต้านการแข็งตัวของเลือด 

ทั้งการบริจาคเลือดเป็นสิ่งที่ทำให้เราได้ช่วยเหลือผู้อื่น แต่รู้ไหมว่าไม่ใช่เพียงแค่เดินเข้าไปบริจาคแล้วเลือดเราจะถูกนำไปให้ผู้ป่วยได้เลย แต่เลือดของเรานั้นต้องผ่านกระบวนการตรวจคุณภาพของเลือดเพื่อดูว่าเลือดที่ได้รับบริจาคมาใช้ได้หรือไม่ และก่อนที่นำไปให้ผู้ป่วย โลหิตทุกถุงจะได้รับการตรวจหมู่เลือด ตรวจเชื้อซิฟิลิส เอชไอวี ไวรัสตับอักเสบบีและซี ตรวจความเข้ากันได้ระหว่างเลือดที่บริจาคและผู้ป่วย ถ้าผลออกมาว่าปลอดเชื้อและเข้ากันจึงจะนำไปให้ผู้ป่วย 

ปัจจุบันศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ต้องการจัดหาโลหิตให้ได้วันละ 1,800-2,000 ยูนิต เดือนหนึ่งไม่ต่ำกว่า 58,000 ยูนิต เพื่อให้เพียงพอกับผู้ป่วย และความจำเป็นในการใช้โลหิต โดยโลหิต 77% ที่ได้รับบริจาคถูกนำไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆ  เช่น อุบัติเหตุ การผ่าตัด เป็นต้น และโลหิตอีก 23% ถูกนำไปใช้เฉพาะที่เกี่ยวกับโรคเลือด 

ซึ่งโลหิต 1 ถุง สามารถแยกเป็นส่วนประกอบของโลหิต 3 ชนิด ได้แก่ เม็ดเลือดแดง เกล็ดเลือดและพลาสมา ดังนั้นโลหิต 1 ถุงจะสามารถนำไปช่วยผู้ป่วยได้ถึง 3 คน และร่างกายผู้บริจาคเองก็จะสามารถสร้างเลือดทดแทนส่วนที่บริจาคไปได้อย่างรวดเร็ว และสามารถให้บริจาคเลือดซ้ำได้ในอีก 90 วัน แต่อย่างไรก็ดีเลือดหนึ่งถุงที่ได้รับบริจาคมาจะอยู่ได้ 3 เดือนเท่านั้น ถ้าภายใน 3 เดือนเลือดยังไม่ถูกใช้ก็จะต้องทำลายทิ้ง 

จากข้อมูลของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาดชาดไทยปริมาณเลือดในคลัง ในวันที่ 2 เมษายน 2563 เผยให้เห็นว่าความต้องการโลหิตและโลหิตที่ได้รับนั้นมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ

158606468189

158606469965

และหลังจากนั้นในโซเชียลได้มีการติดแฮชแท็ก #กาชาดขาดเลือดหนักมาก #ชวนเพื่อนไปบริจาคเลือด เพื่อชวนให้ไปบริจาคเลือด เพื่อเป็นคลังสำรองสำหรับผู้ป่วยฉุกเฉิน และผู้ป่วยที่ต้องการใช้เลือดทุกคน 





ที่มา การบริจาคโลหิต การบริจาคโลหิตลดลง 50 % ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยโรคเลือด ศูนย์บริจาคโลหิต สมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย

งานวิจัยการบริหารจดการโลหิตของศนยู์บรรการโลหิตแห่งชาติสภากาชาดไทย