สศช.ผนึกฮ่องกงดัน 'เอสอีซี' หนุนร่วมลงทุนพัฒนาพื้นที่ภาคใต้
โครงการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (SEC) เป็นอีกโครงการที่รัฐบาลให้ความสำคัญ เพื่อเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจเชิงพื้นที่ต่อเนื่องกับ เขตพัฒนาพื้นที่พิเศษภาคตะวันออก (EEC) รวมถึงมีการวางแผนให้เขตเศรษฐกิจพิเศษทั้ัง 2 มีส่วนเชื่อมกัน
รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า สศช.ได้หารือกับองค์การสภาพัฒนาการค้าฮ่องกง (Hong Kong Trade Development : HKTDC) นำโดยนายซันนี่ เชาว์ ผู้อำนวยการองค์การสภาพัฒนาการค้าฮ่องกง ประจำประเทศไทยและเอเชียใต้
การหารือครั้งนี้ นายเอนก มีมงคล รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจละสังคมแห่งชาติ (สศช.) เป็นประธานการประชุมหารือพร้อมด้วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคใต้ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ และผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์การพัฒนาเมือง
ทั้งนี้ สศช.และ HKTDC ในเรื่องโครงการการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ของประเทศไทย โดยสศช.ได้ให้ข้อมูลว่าเป็นรูปแบบการพัฒนาเชิงพื้นที่และฐานเศรษฐกิจใหม่ของไทย ประกอบด้วย 4 จังหวัดภาคใต้ตอนบน ได้แก่ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช เพื่อพัฒนาเป็นพื้นที่เศรษฐกิจใหม่และทางออกทางทะเลของภาคใต้ตอนบน
โดย สศช.ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษของประเทศไทย แนวคิดการพัฒนา ความก้าวหน้าการดำเนินงาน และทิศทางการขับเคลื่อนของโครงการในระยะต่อไป โดยมีการหารือถึงแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจของทั้ง 2 ฝ่ายในระยะต่อไปด้วย
นายซันนี่ เชาว์ ผู้อำนวยการ HKTDC ประจำประเทศไทยและเอเชียใต้ ได้ให้ความสำคัญกับการผลักดันความร่วมมือระหว่างไทยกับฮ่องกงในพื้นที่ SEC เพื่อสนับสนุนและดึงดูดให้เกิดการลงทุนจากต่างชาติ เนื่องจาก HKTDC เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจของฮ่องกง มีภารกิจในการส่งเสริมการค้านอกประเทศทั้งสินค้าและบริการ และการลงทุนเพื่อขยายธุรกิจในตลาดสากลและเพิ่มจำนวนบริษัทนานาชาติที่ใช้ฮ่องกงเป็นเวทีทางการค้าในรูปแบบต่างๆ
นอกจากนี้ HKTDC ได้ขอความร่วมมือกับ สศช.ในการนำเสนอข้อมูลการพัฒนา SEC และความก้าวหน้าการดำเนินงานให้แก่นักลงทุนชาวฮ่องกงที่สนใจโครงการนี่้ในระยะต่อไปได้รับทราบข้อมูลของโครงการนี้อย่างรอบด้านด้วย
สำหรับแผนการพัฒนาพื้นที่ SEC ตามนโยยายและแนวทางที่ได้กำหนดไว้ในยุทธศาตร์ชาติ โดยมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ ให้พัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ และทางออกทางทะเลของภาคใต้ตอนบน โดยใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นที่ผสานกับเทคโนโลยีและ นวัตกรรม และความได้เปรียบทางกายภาพและที่ตั้งของพื้นที่ รวมทั้งอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม
โดยรูปแบบการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ครอบคลุมพื้นที่ จังหวัดชุมพร-ระนอง และพื้นที่จังหวัด สุราษฎร์ธานี-นครศรีธรรมราช ตามกรอบแนวทางการพัฒนา
ประกอบด้วย การพัฒนาประตูการค้าฝั่งตะวันตก ให้สามารถเชื่อมโยงโครงข่ายและใช้ประโยชน์ในการเป็นประตูส่งออกสินค้าฝั่งตะวันตกเพื่อเชื่อมโยง กับกลุ่มประเทศความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอล เป็นการเปิดประตูการค้าทางเศรษฐกิจของไทยที่เชื่อมกับ EEC
รวมถึงการพัฒนาประตูสู่การท่องเที่ยวอ่าวไทยและอันดามัน พัฒนาการเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ฝั่งอันดามันต่อเนื่องไปจนถึงฝั่งอ่าวไทยตอนบนบริเวณหัวหิน ชะอำให้เป็นแนวการท่องเที่ยวชั้นนำแห่งใหม่ และพัฒนาเป็นพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวคุณภาพ
นอกจากนี้ จะการพัฒนาอุตสาหกรรมฐานชีวภาพและการแปรรูปการเกษตรมูลค่าจาก การใช้ทรัพยากรการผลิตทั้งในพื้นที่และประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์กลางการแปรรูปการเกษตร และการประมงในภาคใต้ และอนุรักษ์ทรัพยากรและวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวและการเรียนรู้ด้วย
สศช.ยังวางแผนให้โครงการ SEC เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจใหม่ของการแปรรูปการเกษตรและการประมงในภาคใต้ รวมถึงผลิตภัณฑ์ทาง ทะเล เช่น การพัฒนาการเพาะพันธุ์และการเลี้ยงกุ้งมังกร กุ้งทะเล และหอยมุก โดยยกระดับเกษตรกรรายย่อย ให้มีความสามารถในการผลิตและแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
ส่วนการพัฒนาอุตสาหกรรมฐานชีวภาพและการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อยอดจากการผลิตน้ำมันปาล์มในพื้นที่ จะวางแผนให้เป็นสินค้าที่มีมูลค่าสูง ยกระดับสถาบันการศึกษาในพื้นที่ให้เป็นศูนย์กลางการพัฒนาและการเรียนรู้ด้าน เทคโนโลยีนวัตกรรมเกี่ยวกับปาล์มและยางพารา และศึกษาแนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล ป่าไม้และ ป่าชายเลน ให้มีความอุดมสมบูรณ์และสวยงาม
ขณะเดียวกันการพัฒนา SEC ยังมุ่งที่จะรักษาและเผยแพร่วัฒนธรรมพื้นบ้านและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชั้นนำแห่งใหม่กับแหล่ง ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงเลียบชายฝั่งทะเลอ่าวไทย เชื่อมโยงฝั่งอันดามัน และพัฒนาเป็นพื้นที่เศรษฐกิจใหม่
ด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวคุณภาพ พัฒนาเมืองในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ให้เป็นเมืองน่าอยู่ และเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการลงทุนและเศรษฐกิจ
สอดคล้องกับนโยบายขับเคลื่อนระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ โดย จัดทำแผนพัฒนาพื้นที่ศูนย์กลางความเจริญของแต่ละเมือง จัดทำแผนการใช้ ประโยชน์ที่ดินของศูนย์เศรษฐกิจ แหล่งที่อยู่อาศัยและพื้นที่เฉพาะในเมือง เช่น เขตอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ จัดเป็นพื้นที่อนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม