ข่าวดี! ไทยผลิต 'วัคซีนโควิด' แล้วอยู่ขั้นทดลองในสัตว์

ข่าวดี! ไทยผลิต 'วัคซีนโควิด' แล้วอยู่ขั้นทดลองในสัตว์

คืบหน้าการผลิต "วัคซีน" ในไทยคณะแพทย์ จุฬาฯร่วมกับบริษัท ไบโอเนท เอเชีย ทดลองในลิงหรือหนูแล้ว รอผลวิเคราะห์กรมวิทยาศาสตร์ฯหากปลอดภัยนำไปทดลองในคนต่ออีก 3 ระยะ ก่อนนำไปขึ้นทะเบียนวัคซีนต่อไป

เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2563 ที่กระทรวงสาธารณสุข(สธ.)ในการแถลงข่าวสถานการณ์ไวรัสโคโรนา 2019 ว่า นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวถึงการผลิตวัคซีนโควิด-19 ในไทย ว่าช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีประเด็นเรื่องวัคซีนค่อนข้างมาก และขณะนี้พี่น้องประชาชนร่วมมือร่วมใจทำให้คุมสถานการณ์โรคได้ จึงเกิดความสงสัยว่าระยะต่อไปจะทำอย่างไร ซึ่งวัคซีนเป็นเรื่องที่คนไทยคุ้นเคย เนื่องจากเป็นยาหรือสิ่งที่ฉีดเข้าไปในร่างกายให้ทุกคนมีภูมิต้านทานโรคได้ โดยในส่วนของประเทศไทยมี 3 ทางเลือกที่จะสามารถทำได้ คือ 1.ผลิตวัคซีนเองตามกระบวนการทดลอง 2.ร่วมมือกับประเทศที่ทำการผลิตวัคซีนสำเร็จแล้ว ซึ่งจะทำให้เราได้วัคซีนเร็วขึ้น และ3.ไม่ต้องทำอะไรรอซื้ออย่างเดียว แต่จะเจอปัญหาคือเราจะไม่รู้ว่าไปซื้อได้เมื่อใด

158729324498

นายแพทย์นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ กล่าวว่าขณะนี้ทีมวัคซีนไทย กำลังดำเนินการคิดค้นวัคซีนโควิด-19 ซึ่งการพัฒนาวัคซีนประเทศไทยได้มีการดำเนินการตามทางเลือกที่ 1 และ 2 โดยทางเลือกที่ 1 นั้น คือการผลิตวัคซีนขึ้นเอง ตอนนี้คณะแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ร่วมกับทางบริษัท ไบโอเนท เอเชีย ได้มีการผลิตวัคซีน และทำการทดลองในลิงหรือหนูแล้ว และกำลังรอผลจากทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ว่าจะสามารถปลอดภัยนำไปสู่การทดลองในคนต่อหรือไม่ ซึ่งการทดลองในคนนั้น จะแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ความปลอดภัย (ทดลองใน30-50 คน) ระยะที่ 2 การกระตุ้นภูมิคุ้มกัน (100-150 คน) และระยะที่ 3 ให้ผลในการป้องกัน (500 คนขึ้นไป) เมื่อได้ผลว่าวัคซีนดังกล่าวป้องกันโควิด-19 ก็ไปสู่กระบวนการขึ้นทะเบียนต่อไป

158729317385

ส่วนทางเลือกที่ 2 ความร่วมมือกับต่างประเทศ ที่มีการผลลิตวัคซีน ซึ่งขณะนี้มีประเทศที่ก้าวหน้ามีการทดลองในคนแล้ว นั่นคือ สหรัฐอเมริกา จีน อังกฤษ ถ้าจะให้ประเทศไทยมีเข้าถึงวัคซีนได้ต้องมีการนำวัคซีนต้นแบบที่มีศักยภาพสูงจากต่างมาทดลองในประเทศ โดยมีแผนรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อการผลิต และข้อตกลงในการเข้าถึงวัคซีน ตอนนี้ในประเทศจีนได้มีการทดลองในคนระยะที่ 2 เพื่อดูว่าวัคซีนสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้หรือไม่ และไทยได้มีการเจรจาทำความร่วมมือกับจีนอยู่ โดยอยู่ในระหว่างการทำ MOU ร่วมกัน ก็จะเป็นอีกด้นที่นอกเหนือจากการพัฒนาวิจัยในประเทศเราเอง

“เป้าหมาย เพื่อการเข้าถึงวัคซีน ให้เร็วที่สุด ในสถานการณ์ของการระบาดจะไม่สงบจนกว่าประชากรมากว่า 60% จะติดเชื้อ และมีภูมิคุ้มกัน ซึ่งจะกินเวลานานมากเกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างประเมินค่าไม่ได้ การซื้อวัคซีนโดยไม่ทำอะไร อาจทำได้ยาก และต้องรอเวลานาน เพราะศักยภาพการผลิตตอนแรกจะไม่เพียงพอ ดังนั้น การพัฒนาศักยภาพการวิจัยพัฒนาเพื่อนไปสู่การผลิตวัคซีนในประเทศ จำเป็นต้องเริ่มดำเนินทันที เนื่องจากหากจะรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี ก็ต้องมีทั้งบุคลากร และโรงงานผลิตวัคซีน ซึ่งไม่สามารถสร้างได้ในเวลาอันสั้น รวมถึงการลงทุนพัฒนานาศักยภาพด้านวัคซีนของประเทศ จะทำให้เราสามารถเข้าถึงวัคซีนได้เร็วขึ้น แม้เพียง 1 เดือนก็นับว่าคุ้มค่า และศักยภาพการวิจัยพัฒนาและการผลิตวัคซีนเมื่อได้เกิดขึ้นแล้ว จะเป็นพื้นฐานสำคัญในการรับมือโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ในอนาคตได้อีกด้วย” นายแพทย์นคร กล่าว

158729332499

158729332410