การเงิน
'ลดหย่อนภาษี' เพิ่ม 2 แสน เมื่อซื้อ 'SSF' ตามมาตรการสร้างความเชื่อมั่น ภายใน มิ.ย. 63
"กรมสรรพากร" เปิดเงื่อนไข ซื้อกองทุนรวมเพื่อการออม หรือ "SSF" (Super Saving Fund) ตามมาตรการสร้างความเชื่อมั่น ลดหย่อนภาษีเพิ่ม 2 แสนบาท ภายในเดือน เม.ย. 63 - มิ.ย. 63
กรมสรรพากร ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนเพื่อออมเงินระยะยาวในกองทุนรวมเพื่อการออม หรือ Super Saving Fund "SSF" ซึ่งเป็นกองทุนรูปแบบใหม่ที่เพิ่งเริ่มเปิดให้ทำการซื้อขายได้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 พ.ค. 63 ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ยังย้ำเตือนให้ผู้ที่ต้องการลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษี ลงทุน SSF ในเดือน เม.ย.63 - มิ.ย.63 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่จะได้รับสิทธิพิเศษในการลดหย่อนภาษี สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
ข้อมูลจาก กรมสรรพากร ระบุถึงเงื่อนไขในการลงทุน กองทุน SSF ที่มีสิทธิ์ได้รับการลดหย่อนภาษีสูงสุด 200,000 บาท ดังนี้
- กองทุน "SSF ตามมาตรการสร้างความเชื่อมั่นในระบบตลาดทุน" จะต้องมีนโยบายการลงทุนในหลักทรัพย์ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ไม่น้อยกว่า 65% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (Net Asset Value หรือ NAV)
- จะสามารถหักลดหย่อนค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน SSF ตามมาตรการสร้างความเชื่อมั่นในระบบตลาดทุนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 200,000 บาท
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :
- กองทุนรวมเพื่อการออม SSFX อย่าพลาด..โค้งสุดท้าย
- รวมลิสต์กองทุน 'SSF' และ 'SSF Extra' เปิดขายแล้ว!
- เทียบชัดๆ! 'SSF' 'SSF Extra' และ 'RMF' ต่างกันอย่างไร
- การหักลดหย่อนค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน SSF ตามมาตรการสร้างความเชื่อมั่นในระบบตลาดทุน จะไม่รวมอยู่ในวงเงินหักลดหย่อนรวมอยู่ในวง 500,000 บาทของวงเงินหักลดหย่อนรวมของ เงินสะสม เงินสมทบ หรือค่าชื่อหน่วยลงทุน ในกองทุนเพื่อการเกษียณอายุ เช่น กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) SSFแบบปกติ และกองทุนรวมบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
- เมื่อซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน SSF ตามมาตรการสร้างความเชื่อมั่นในระบบตลาดทุน จะสามารถโอนหน่วยลงทุนไปยัง SSF อื่นได้ หาก SSF ที่รับโอนมีนโยบายการลงทุนในหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไม่น้อยกว่า 65% ของ NAV เช่นเดียวกับกองทุนเดิม
- สามารถเริ่มซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน SSF ตามมาตรการสร้างความเชื่อมั่นในระบบตลาดทุน เพื่อให้ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้ตั้งแต่ วันที่ 1 เม.ย.63 ถึง 30 มิ.ย. 53
- ต้องถือหน่วยลงทุนในกองทุน SSF ตามมาตรการสร้างความเชื่อมั่นในระบบตลาดทุนไว้ไม่น้อยกว่า 10 ปี (วันชนวัน) เว้นแต่ทุพพลภาพหรือตาย
ที่มา: กรมสรรพากร