โดย นายวิรัช รัตนเศรษฐ ประธานวิปรัฐบาล ชี้แจงต่อที่ประชุมถึงผลการหารือร่วมกันของฝ่ายค้านและรัฐบาลว่า มีการตกลงกันว่าจะใช้เวลาในการพิจารณา 1 วัน ฝ่ายค้านใช้เวลา 6 ชม. ส่วนรัฐบาล 4 ชม. จากนั้นจะเป็นการตั้งกรรมาธิการวิสามัญจำนวน 49 คน ซึ่งคาดว่าจะสามารถลงมติในวาระที่ 1 ได้ในเวลาประมาณ 19.00-20.00 น.
'นายกฯ' แจงเอง พ.ร.บ.โอนงบฯ ช่วยแก้ปัญหาโควิด-19 ยันเป็นไปตามระเบียบการเงินการคลัง
"ประยุทธ์" ชี้แจงต่อสภา ร่าง พ.ร.บ.โอนงบฯ ช่วยแก้ไขปัญหาและผลกระทบจากโควิด-19 รวมถึงแก้ไขภัยพิบัติธรรมชาติ ภัยแล้ง และอุทกภัย ยืนยันทุกอย่างเป็นไปตามระเบียบการเงินการคลัง
เมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 63 ประชุมสภาผู้แทนราษฎร เริ่มพิจารณาร่าง พ.ร.บ.โอนงบประมาณรายจ่าย โดยมี นายชวน หลีกภัย ประธานสภาฯ ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่เวลา 09.30 น. โดยมีระเบียบวาระการประชุมที่ต้องติดตามคือ ร่างพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. .... ซึ่งเป็นการโอนงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.2563 ของหน่วยงานรับงบประมาณเป็นบางรายการ ไปตั้งไว้เป็นงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เป็นจำนวน 88,452,597,900 บาท
ขณะที่ นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.จังหวัดเชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ในฐานะเลขานุการวิปฝ่ายค้าน ได้ลุกขึ้น กล่าวว่า เข้าใจดีว่ารัฐบาลต้องการเร่งรัด จะพยายามอยู่ในกรอบเวลาให้จบวันนี้ในวาระที่ 1 แต่ต้องไม่เสียรายละเอียดสาระของ พ.ร.บ. ยืนยันจะใช้เวลาทุกนาทีให้มีประโยชน์ 7 ชั่วโมง อาจจะเกิน 20.00 น.ไปบ้าง
พล.อ.ประยุทธ์ ยืนยันว่า การตราร่าง พ.ร.บ.โอนงบประมาณฉบับนี้ มีความสอดคล้องกับกรอบวินัยการเงินการคลังของรัฐ และยังได้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ 2561 โดยงบประมาณที่ดำเนินการโอนนั้น จะเป็นการโอนงบประมาณรายจ่ายประจำปี 63 ที่ไม่สามารถดำเนินการได้ภายในปีงบประมาณ ซึ่งได้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ในการโอนงบประมาณ อาทิ รายจ่ายประจำในทุกงบรายจ่ายที่ยังไม่มีการเบิกจ่าย สัมมนา ฝึกอบรม การเดินทางไปต่างประเทศ และรายจ่ายลงทุน
โดยกระทรวงที่มีการโอนงบประมาณสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่
1.กระทรวงกลาโหม 17,700,891,000 บาท
2.กระทรวงศึกษาธิการ 4,746,652,900 บาท
3.กระทรวงคมนาคม 3,427,484,400 บาท
4.กระทรวงมหาดไทย 2,057,929,300 บาท
5.กระทรวงสาธารณสุข 1,356,144,300 บาท