ส่องพฤติกรรม 'Gen Z' หนี้โตกว่า 200% แนวโน้ม 'หนี้เสีย' สูง สะท้อนวิถีทุนนิยม

ส่องพฤติกรรม 'Gen Z' หนี้โตกว่า 200% แนวโน้ม 'หนี้เสีย' สูง สะท้อนวิถีทุนนิยม

ส่องหนี้คนไทย "Gen Z" หรือ "เจนแซด" ที่ตามมากับพฤติกรรมสุดพังตามวิถีทุนนิยม ช้อปตามไลฟ์สไตล์ ท่องเที่ยวไร้ขีดจำกัด เน้นบัตรเครดิต และขาดการวางแผนทางการเงินที่ต้องรีบปรับ

"หนี้ครัวเรือน" เนื้อร้ายก้อนโตสำหรับเศรษฐกิจไทย ที่เป็นปัญหาเรื้อรังมานานในประเทศไทยที่เกิดจากการพฤติกรรมการใช้จ่ายของคนในประเทศ ทว่า การแพร่ระบาดของ "โควิด-19" ที่ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจซึ่งส่งผลต่อความสามารถในการชำระหนี้ของประชาชนไปด้วย

ข้อมูลจาก บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือ "เครดิตบูโร" พบว่า ช่วงวัยต่างๆ มีอัตราการก่อหนี้ที่แตกต่างกันออกไป โดยกลุ่มที่มีการสร้างหนี้มากที่สุด คือกลุ่ม Gen Y โดย ณ สิ้นไตรมาสแรกปี 2563 มีหนี้รวมกันถึง 4 ล้านล้านบาท เป็นหนี้เสีย หรือ NPL คงค้างถึง 2.7 แสนล้านบาท รองลงมาคือกลุ่ม Gen X มีการก่อหนี้ที่ 3.7 ล้านล้านบาท โดยมีหนี้เสียในระบบอยู่ที่ 2.8 แสนล้านบาท ขณะที่ เบบี้บูมเมอร์ มีหนี้สินคงค้างรวม 1.2 ล้านล้านบาท มีเอ็นพีแอลที่ 8.4 หมื่นล้านบาท

  

  •  "Gen Z" มีหนี้แค่ไหน? 

แต่กลุ่มที่น่าเป็นห่วงไม่แพ้กัน คือหนี้ของกลุ่มคน "Gen Z" หรือ "เจนแซด" สาเหตุที่เจนเนอเรชั่นนี้น่าเป็นห่วง เพราะเป็นกลุ่มอายุไม่เกิน 23 ปี เกิดช่วง พ.ศ.2539-2552 ซึ่งเป็นผู้กู้หน้าใหม่​ เริ่มมีหนี้เป็นครั้งแรก ซึ่งกำลังกลายมาเป็นกลุ่มเป้าหมายใหม่ของสถาบันการเงินที่เน้นเรื่องดิจิทัล โดยเฉพาะธุรกรรม​ Digital​ lending ที่ทำให้เข้าถึงแหล่งสินเชื่อแบบง่ายๆ ซึ่งเป็นดาบสองคม ที่อาจทำให้กลายเป็นหนี้เสียได้ง่ายหากไม่มีความเข้าใจ และขาดวินัยทางการเงิน

ปัจจุบัน Gen Z กลายเป็นช่วงวัยที่มีหนี้สินรวม 2.5 หมื่นล้านบาท และเป็นเอ็นพีแอลแล้ว 1.2 พันล้านบาท โดย หนี้เสีย ของ Gen Z กระจุกตัวในสินเชื่อรถยนต์ และสินเชื่อเช่าซื้อที่ไม่ใช่รถยนต์ เช่น การเริ่มเป็นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์​ที่มีระดมทุนกันเองหรือจากครอบครัวมาทำธุรกิจ​ในช่วงแรก และต่อยอดด้วยการกู้​ business loan เมื่อมีประสบการณ์มากขึ้น

   

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง:

  

ปัจจุบัน Gen Z กลายเป็นช่วงวัยที่มีหนี้สินรวม 2.5 หมื่นล้านบาท และเป็นเอ็นพีแอลแล้ว 1.2 พันล้านบาท โดย เอ็นพีแอล ของ เจนแซด กระจุกตัวในสินเชื่อรถยนต์ และสินเชื่อเช่าซื้อที่ไม่ใช่รถยนต์

159222333778

ในภาพรวมการซื้อสินค้า 70-80% ที่กลุ่มคนรุ่นใหม่และคนวัยทำงานซื้อนั้นจะเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย เนื่องด้วยพฤติกรรมของคนรุ่นใหม่ และคนวัยทำงาน จะเป็นไปตามกระแสของสังคม เทรนด์แฟชั่นที่เกิดขึ้น อีกทั้งคนกลุ่มนี้จะติดนิสัยการใช้จ่ายผ่านบัตร การใช้จ่ายโดยเงินในอนาคต แบบไม่ใช่เงินสด

  

  •  แนวโน้มหนี้เสียของ "Gen Z"  

สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากกว่าการเป็น "หนี้" คือแนวโน้ม "หนี้เสีย" ในระดับที่สูงพอควร​ โดยการก่อหนี้มีอัตราเร่งที่สูงมากในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา โดย ช่วงไตรมาสแรกปี 2563 หนี้กลุ่ม Gen Z มีอัตราการเติบโตของหนี้ค่อนข้างไว เฉลี่ยเดือนละ 7% นับตั้งแต่เดือน ธ.ค. 2562 และเติบโตขึ้นกว่า 200%

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ส่วนยอดหนี้รวมของคนกลุ่มนี้ ณ สิ้นไตรมาสแรกอยู่ที่ 3.2 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดเมื่อเทียบกับสิ้นปี 2562 ซึ่งอยู่ที่ 2.6 หมื่นล้านบาท

สาเหตุของหนี้เสีย Gen Z สะท้อนจากผลการวิจัยเรื่อง "พฤติกรรมการใช้เงิน การดำเนินชีวิต และความคิดเห็นที่มีต่อการทำงานของคนรุ่นใหม่ยุค 4.0" โดย แมนพาวเวอร์ กรุ๊ป

ผลสำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง 1,515 คน ที่ส่วนใหญ่อายุระหว่าง 21-38 ปี พบว่า พฤติกรรมการดำเนินชีวิตกลุ่มคนยุคใหม่ ส่วนใหญ่ชอบความสนุกสนานและความบันเทิง (Entertainment) 28% รองลงมา ชอบการมีอิสระทางความคิดและการดำเนินชีวิต (Freedom) 20% ชื่นชอบเทคโนโลยี 13% ชอบความสะดวกสบาย ทำให้ชีวิตตัวเองดูดีมีระดับ 7%

สนใจที่จะศึกษาเล่าเรียนในระดับที่สูงขึ้น 6% ให้ความสนใจเกี่ยวกับกิจกรรมอันเป็นสาธารณสังคม 6% ชอบทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน 4% เป็นผู้นำแฟชั่นรวมถึงผู้ตามแฟชั่นลำดับแรกๆ 3% แต่มีเพียง 13% เท่านั้นที่มีการวางแผนการใช้ชีวิตในอนาคตของตนเอง​

ในภาพรวมการซื้อสินค้า 70-80% ที่กลุ่มคนรุ่นใหม่และคนวัยทำงานซื้อนั้นจะเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย เนื่องด้วยพฤติกรรมของคนรุ่นใหม่ และคนวัยทำงาน จะเป็นไปตามกระแสของสังคม เทรนด์แฟชั่นที่เกิดขึ้น อีกทั้งคนกลุ่มนี้จะติดนิสัยการใช้จ่ายผ่านบัตร การใช้จ่ายโดยเงินในอนาคต แบบไม่ใช่เงินสด และซื้อสินค้าออนไลน์เป็นหลัก ซึ่งการใช้โดยไม่ระมัดระวัง จึงทำให้คนรุ่นใหม่และคนวัยทำงานเป็นหนี้สะสม หนี้สูญมากขึ้นเรื่อยๆ นั่นเอง

159222330976

  •  พฤติกรรมทางการเงินสุดพังของ "Gen Z" 

นางสาวสุธิดา กาญจนกันติกุล ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท แมนพาวเวอร์ กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด อธิบายว่า กลุ่ม Gen Y และ Gen Z ซึ่งมีอายุอยู่ในช่วง 20–40 ปี ไทยมีประชากรใน 2 กลุ่มนี้ ในปี 2562 อยู่ประมาณเกือบ 20 ล้านคน ถือเป็นสัดส่วน 30% หรือเกือบ 1 ใน 3 ของประเทศ ซึ่งมีปัญหาในเรื่องของการบริหารจัดการเรื่องการเงิน และปัญหารายได้ไม่พอกับค่าใช้จ่าย จากข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2562 พบว่า รายได้ครัวเรือนทั่วประเทศเฉลี่ย 26,018 บาทต่อเดือน

ส่วนค่าใช้จ่ายของครัวเรือนมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 20,742 บาท หนี้สินเฉลี่ย 164,055 บาทต่อครัวเรือน จะเห็นว่าทิศทางของรายได้กับรายจ่ายเฉียดๆ ให้ผลสะท้อนกลับมาในทิศทางเดียวกับที่แมนพาวเวอร์เคยทำการสำรวจ ซึ่งพบปัญหารายได้ไม่พอกับค่าใช้จ่าย และปัญหาการบริหารจัดการเรื่องการเงินส่วนบุคคล

"เราต้องยอมรับว่า คนรุ่นใหม่มีค่าใช้จ่ายที่สูง ทำให้รายได้ไม่พอ ส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับตนเอง อันดับ 1 คือ ค่าใช้จ่ายที่อยู่อาศัย 51% ถัดมาคือ ท่องเที่ยว 47% ความบันเทิง 39% ความสวยความงาม 38% และแฟชั่น 36% สอดคล้องกับตัวเลขของสถิติแห่งชาติที่ได้กล่าวมา จุดที่สอง เราพบว่าคนรุ่นใหม่โดยเฉพาะ Gen Y และ Gen Z น่าจะมีปัญหาเรื่องการบริหารจัดการการเงินส่วนบุคคล ซึ่งแน่นอนว่า อันดับแรก อาจเป็นผลพวงมาจากการขาดวินัยด้านการออม" 

  

  •  "Gen Z" ต้องเรียนรู้ "การเงิน" มากกว่าที่เคย  

นายพีรพงษ์ ฟูศิริ คณบดีวิทยาลัยผู้ประกอบ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่าถึงการดำรงชีวิตของผู้คนจะแตกต่างไปจากช่วงก่อนที่เกิด "โควิด-19" ไม่ได้ทำให้พฤติกรรมการใช้จ่ายของทุกคนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่และวัยทำงานที่ยังคงใช้จ่ายเท่าเดิม หรือบางคนอาจจะใช้จ่ายมากขึ้นเพราะสามารถเข้าไปจับจ่ายใช้สอยสินค้าออนไลน์ได้สะดวกมากขึ้น ทำให้เมื่อดูรายจ่ายของคนรุ่นใหม่ หรือคนวัยทำงาน จะเห็นได้ว่ารายจ่ายเท่าเดิมหรือมากกว่า แต่รายรับกลับน้อยลง หรือรายรับกับรายจ่ายไม่สมดุลกัน

ทั้งนี้ นายพีรพงษ์ ได้แนะนำด้วยว่า "คนรุ่นใหม่ คนวัยทำงาน หรือการใช้ชีวิตของคนไทยต้องยอมรับว่าต่อให้มีการสอนเรื่องการออม การวางแผนการเงิน แต่เชื่อว่ามีคนจำนวนน้อยเท่านั้นที่จะทำรายรับรายจ่ายในแต่ละวัน หรือวางแผน มีวินัยทางการเงิน และเมื่อทางสถาบันการเงินต่างๆ มีโปรโมชั่น ช่องทางให้พวกเขาได้จับจ่ายใช้สอย ซื้อสินค้าแล้วผ่อนทีหลัง หรือผ่อน 0% ล้วนกระตุ้นให้ทุกคนซื้อโดยไม่ได้หยุดคิดว่าตนเองมีภาระหนี้อย่างอื่นอีกหรือไม่ ขณะเดียวกันสินค้าที่นิยมก็ไม่ได้เป็นสินค้าที่จะสร้างกำไร หรือรายได้ในอนาคต แต่เป็นสินค้าฟุ่มเฟือย เมื่อรายจ่ายมากขึ้น รายได้น้อยลง และสินค้าที่ซื้อมาก็ไม่ได้ก่อประโยชน์"