ไขปมวุ่นเงินเยียวยา ‘อสมท’ ผลประโยชน์(ต่าง)ลงตัว
จากมติ กสทช. จ่ายเงินเยียวยาการคืนคลื่น 2600 เมกะเฮิรตซ์ ให้ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) หรือ MCOT จนกลายเป็นปมที่สาวลึก และออกกมาแฉข้อมูลกันไปมา จนกลายเป็นที่มาการแบ่งเค้กผลประโยชน์ที่ลงตัวแต่บริษัทกลับเสียเปรีบบไปแทน
ตั้งแต่ปลายปี 2562 บอร์ดกสทช. ได้มีการหารือการชำระเงินดังกล่าวแต่ยังไม่สามารถระบุจำเม็ดเงินได้ จากเกณฑ์ที่ต้องอิงตามระยะเวลา จนได้มีการพิจาณากำหนดให้นับเอาระยะเวลาตั้งแต่วันที่ กสทช.มีมติให้คืนคลื่นความถี่จนถึงวันที่ 3 เม.ย. 2565 เป็นระยะเวลาประมาณ 3 ปี
รวมกับระยะเวลาการพิจารณาสิทธิในการใช้งานคลื่นความถี่ตั้งแต่วันที่แผนแม่บทบริหารคลื่นความถี่มีผลบังคับใช้ (20 เม.ย. 2555) ถึงวันที่ อสมท ได้รับทราบสิทธิการใช้งานคลื่นความถี่ดังกล่าว (23 ก.ย.2558) เป็นระยะเวลาประมาณ 3 ปี 5 เดือน รวมทั้งสอง ช่วงเวลาเป็นระยะเวลาประมาณ 6 ปี5 เดือนมูลค่าของการทดแทน ชดใช้ หรือจ่ายค่าตอบแทนจำนวน 3,235 ล้านบาท
เม็ดเงินดังกล่าวมีมูลค่ามากในยามที่องค์กรเผชิญภาวะขาดทุนต่อเนื่อง จากธุรกิจหลักรายได้จากบริการทางโทรทัศน์ ที่มีใบอนุญาตทีวีดิจิทัลที่เป็นต้นทุนใหญ่และทำให้เกิดตัวเลขขาดทุนต่อเนื่องมาตลอด
หลังจากประกาศไม่นานมีความเคลื่อนไหว กรรมการของบริษัท 2 ท่านได้ยื่นลาออกจากการเป็นกรรมการได้แก่ ‘นายพิเศษ จียาศักดิ์’ และ ‘ นางสาวปาริชาต สถาปิตานนท์ ‘ กลายเป็นจุดชนวนเสียงแตกในกลุ่มบอร์ดบริษัททันที
ด้วยข้อตกลงที่ อสมท ยื่นให้กสทช. ระบุว่าเงินเยียวยาดังกล่าว มีการแบ่งให้กับบริษัทคู่สัญญา คิดเป็น 50 % หรือ 1,671.91 ล้านบาท ให้กับ ’บริษัท เพลย์เวิร์ค จำกัด’ จนทำให้มีการออกมาต่อต้านถึงความไม่ชอบมาพากล เนื่องจากมีกระแสข่าวว่ามติบอร์ด อสมท ไม่มีการรองรับอำนาจ ‘นายเขมทัตต์ พลเดช’ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ขณะนั้นที่ทำหนังสือไปยัง กสทช.
เรื่องวุ่นๆ ดังกล่าว ยังไม่จบลงง่ายๆ เนื่องจาก กรรมการได้ยื่นหนังสือขอลาออกอีก 1 รายคือ ‘มนตรี แสงหิรัญ’ กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ มีผลตั้งแต่วันที่ 12 มิ.ย.2563 ที่ผ่านมา
โดยปล่อยหมัดเด็ดข้อมความในนังสือลาออกยื่นต่อ ประธานกรรมการ อสมท ได้ระบุถึงเรื่องการทักท้วงหนังสือแจ้งยืนยันรายละเอียดและสัดส่วนการชดใช้หรือจ่ายค่าตอบแทนในการเรียกคืนคลื่นความถี่ย่าน 2500-2690 เมกะเฮิรตซ์ อาจใช้อำนาจมิชอบและไม่เป็นไปตามข้อบังคับและระเบียบของ อสมท และกระทำการโดยไม่ปกป้องผลประโยชน์ อสมท และผู้ถือหุ้น จึงขอทักท้วงเป็นหนังสือเพื่อเป็นหลักฐานไว้ ณ ที่นี้
ดังนั้นจึงทำให้ข้อมูลข้างต้นเริ่มมีน้ำหนักมากขึ้น จนสำนักข่าวอิศรา เจาะลึกข้อมูลกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ว่า 'บริษัท เพลย์เวิร์ค จำกัด' ก่อตั้งตั้งแต่ปี 2548 ด้วยทุนจดทะเบียน50 ล้านบาท แจ้งประกอบธุรกิจให้บริการเพื่อดำเนินการผ่านทางระบบเครือข่ายโทรคมนาคมและให้บริการทางด้านข่าวสาร
ในฐานข้อมูลระบุว่า บริษัทนำส่งข้อมูลงบการเงินล่าสุด ณ 31 ธันวาคม 2561 แจ้งว่า มีรายได้รวม 235,635,650.68 บาท แบ่งเป็นรายได้จากการขายหรือการให้บริการ 232,401,570.86 บาทรายได้ดอกเบี้ย 2,610,478.70 บาทรายได้อื่น 623,601.12 บาท
จากข้อมูลดังกล่าวจึงเกิดถามที่ยังไร้คำตอบว่า บริษัทแห่งนี้เข้ามามีส่วนได้ส่วนเสียบริหารคลื่น 2600 เมกะเฮิรตซ์ และสมควรได้รับเงินเยียวยาระดับพันล้านบาทอีกด้วยหรือไม่ และเมื่อมีบอร์ดไม่เห็นชอบและไม่ได้เป็นมติเสียงข้างมาก แต่ยังดึงดันที่จะแบ่งเงินก้อนดังกล่าวถือว่าเป็นการกระทำที่ส่งผลเสียต่อ อสมท หรือไม่
ทั้งหมดเหล่านี้ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ได้ชี้แจงไล่เรียงข้อมูลถึง 5 ข้อ และ 3 ข้อย่อย โดยเฉพาะการต้องแบ่งส่วนแบ่งให้กับคู่สัญญาเท่ากัน ทำให้ได้รับข้อมูลที่น่าตกใจไปอีกเพราะในสัญญา อสมท มีส่วนแบ่งรายได้จากรายได้รวมแค่ 9 % ทั้งที่มีเป็นผู้ผูกผันสัญญาคลื่นดังกล่าว
ขณะที่เหลือเป็นของบริษัทเอกชน ซึ่งคือ ‘เพลย์เวิร์ค’ เป็นผู้ลงทุนและรับความเสี่ยงทั้งหมดในการดำเนินโครงการ ทางกลับกัน อสมท ไม่ต้องรับความเสี่ยงจากการขาดทุน แม้จะมีส่วนแบ่งที่น้อยกว่าแต่มีรายได้ที่แน่นอนและไม่มีความเสี่ยงจากการขาดทุน
จากกรณีดังกล่าวอาจจะต้องเพิ่มไปด้วยว่ามีรายได้ที่แน่นนอน ไม่เสี่ยง ไม่ขาดทุน แต่อาจจะเสียผลประโยชน์