งาน HR กับ การ Reskill
ไขข้อข้องใจ ทำไม HR เป็นหนึ่งในหน่วยงานที่ควร Reskill มากที่สุด หรือน่าจะเป็นเป็นหน่วยงานแรกๆ ในองค์กรที่ต้องทำการ Reskill ด้วยซ้ำ และหากองค์กรต้อง Reskill หน่วยงาน HR จะต้องทำอย่างไร?
เมื่อกล่าวถึงคำว่า Reskill ในปัจจุบัน เรามักจะคิดถึงการที่องค์กรกำลังเปลี่ยนแปลง ก้าวไปสู่การใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งเหมือนจะเกี่ยวข้องกับส่วนงาน IT และ Digital ฟังดูยังห่างไกลจากพนักงาน โดยเฉพาะในส่วน HR หรืออาจมองเพียงว่า HR เป็นผู้สนับสนุนช่วยเหลือพนักงานหน่วยงานอื่นให้มีการ Reskill เท่านั้น
ในความเป็นจริง HR เป็นหนึ่งในหน่วยงานที่ควร Reskill มากที่สุด และน่าจะเป็นเป็นหน่วยงานแรกๆ ในองค์กรที่ต้องทำการ Reskill ด้วยซ้ำ เพราะหากเราต้องการจะเปลี่ยนแปลงใคร ก็ควรเริ่มจากตัวเราเองก่อน วันนี้อยากชวนผู้อ่านมองในมิติการ Reskill งาน HR กัน ซึ่งควรมีการ Reskill ในเรื่องต่อไปนี้
1.Marketing & Branding Skill ที่จริงงานด้าน Marketing และ Branding เป็นงานที่สำคัญด้านหนึ่งของ HR เลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นการสรรหาและว่าจ้าง การดูแลพนักงานในองค์กร และการพัฒนาบุคลากร เพื่อสร้างความสนใจและดึงดูด Talents จากทั้งภายในและภายนอกองค์กร รวมถึงการสร้างให้มีความผูกพันกับองค์กรมากขึ้น โดยสามารถเห็นได้จากการที่ HR ในหลายองค์กรได้ทำการ Marketing และ Branding ผ่าน Social Media ต่างๆ เช่น Facebook, Instagram, Line, Website ต่างๆ เป็นต้น ซึ่งได้รับการตอบรับ และได้ผลเป็นอย่างดี
2.Digital & Technology Skill เทคโนโลยีเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้การทำงานในปัจจุบัน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ซึ่งการนำ Digital และ Technology มาประยุกต์ใช้ในงาน HR นั้น จะทำให้เกิดความคล่องตัว ความยืดหยุ่น และความมีมาตรฐานมากขึ้น เช่น Online Interview, Online Learning, Performance Management System, Work from Home Technology เป็นต้น
3.Data Analytic Skill เรากำลังอยู่ในยุค Data Driven และ Big Data ซึ่ง HR ก็เป็นหนึ่งในหน่วยงานที่มีการจัดเก็บข้อมูลเยอะที่สุดในองค์กร การนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ในการทำงานด้าน HR จะทำให้เราสามารถบริหารจัดการบุคลากรได้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการนำข้อมูลมาใช้ในการดูแลพนักงานในปัจจุบัน เช่น การนำข้อมูลมาวิเคราะห์ถึง Lifestyle และพฤติกรรม ซึ่งจะช่วยให้ทาง HR สามารถออกแบบปรับปรุง Benefit ที่ตอบสนองความต้องการของพนักงานได้ถูกจุด และใช้จ่ายงบประมาณได้อย่างเหมาะสม เป็นต้น
ซึ่งการทำ Data Analytics ในด้าน HR นี้ ยังสามารถช่วยในด้าน Productivity ได้ด้วย เช่น การบริหารอัตรากำลังได้อย่างเหมาะสม การบริการงบประมาณในด้านบุคลากรได้อย่างสมเหตุสมผลต่อการดำเนินธุรกิจ เป็นต้น
4.Business Skill ในการทำงาน HR เราจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของ Business ด้วยซึ่งรวมถึงสถานการณ์เศรษฐกิจในภาพรวม และปัจจัยที่อาจจะส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจขององค์กรของเรา เพื่อให้เราสามารถตอบสนองความต้องการของธุรกิจให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่น และยังต่อยอดการทำธุรกิจได้อีกด้วย ส่งผลให้บทบาทของ HR เป็น Partner กับ Business มากขึ้น
5.Other Functional Skill ในฐานะคน HR เราควรมีความรู้ ทักษะในการทำงานด้านอื่นด้วย เพราะในปัจจุบัน การเจริญเติบโตทางสายอาชีพ ไม่จำเป็นต้องเติบโตไปในสายที่เราทำงานอยู่เท่านั้น จากการเข้าถึงแหล่งความรู้ที่มีเป็นจำนวนมากและหลากหลาย ทำให้เราสามารถเพิ่มพูนความรู้ และทักษะในสายงานอื่นได้โดยง่าย เพิ่มโอกาสทางสายอาชีพ และเส้นทางการเติบโตในหน่วยงานอื่นได้
โดยผ่านการ Rotation และ Internal Transfer ภายในองค์กร เช่น พนักงานสรรหาและว่าจ้าง สามารถโอนย้ายไปทำงานหน่วยงาน IT หรือแม้แต่การโอนย้ายภายในหน่วยงานต่างในหน่วยงาน HR เอง เป็นต้น นอกเหนือจากความรู้ทักษะภายในองค์กรแล้ว เราควรจะเรียนรู้ทักษะอื่นๆ เพื่อการประกอบอาชีพในด้านอื่นๆ ด้วย เช่น การทำอาหาร หรือขนม การ coding ภาษาต่างๆ เป็นต้น ซึ่งจะเป็นการเพิ่มทางเลือกเพื่อการประกอบอาชีพอื่นๆ ได้
ในโลกปัจจุบันนี้ มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและมากมาย ทั้งองค์กร และพนักงาน รวมถึง HR จำเป็นต้องตื่นตัวเรียนรู้และปรับตัวอยู่อย่างไม่สิ้นสุด (Lifelong Learning) เพื่อให้ก้าวทันต่อสถานการณ์ และสามารถแข่งขันในเชิงธุรกิจต่อไปได้ สิ่งนี้เองได้ก่อให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรใหม่ ๆขึ้น เช่น วัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ ซึ่งเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญที่ทำให้ผู้คนเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้ง่าย และสะดวกขึ้น
การ Reskill ถือเป็นสิ่งจำเป็นสำคัญที่ไม่อาจจะเลี่ยงได้ เพราะ HR ในวันนี้ ต้องเป็นมากกว่าแค่ HR