จับตา 'Media Trend' อะไรบ้างที่เป็นกระแสหลังจบโควิด-19
โควิด-19 ถือเป็นวิกฤติครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดใน generation ของเรา ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านของการเสพสื่อ มาดูกันว่า Media Trend ใดบ้างที่จะเป็นกระแสหลังจบวิกฤติครั้งนี้
เราพบว่ามีเทรนด์ใหม่ๆ เกิดขึ้นมามากมาย บางเทรนด์ก็เกิดจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและความต้องการของคนไทย และน่าจะมีผลต่อเนื่องหลังจบโควิด-19 ไปแล้ว แต่บางเทรนด์นาจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ หากไม่มีการปรับตัว หรือพัฒนาก็อาจจะเป็นเหมือนพลุไฟที่ดังเร็วดับไว เรามาดูกันนะคะ
เทรนด์ 1 Online กลายมาเป็น mainstream ตีคู่ไปกับสื่อทีวี โควิด -19 เป็นตัวเร่งให้คนไทยปรับตัวรับกับ Digital lifestyle อย่างแพร่หลาย จนกลายเป็นรูปแบบการใช้ชีวิตรูปแบบใหม่ ผู้คนใช้สื่อ Online มากขึ้น เพราะมีความยืดหยุ่น Personalization ได้เยอะ ตอบโจทย์ที่ซับซ้อนขึ้นของผู้บริโภคได้ ไม่ว่าจะเป็นการข่าวสาร บันเทิง จนกระทั้งการซื้อของ สถานการณ์วิกฤติผลักดันทำให้เข้าถึงบริการ หรือ Platform ที่หลากหลายมากขึ้น
ขณะเดียวกัน Digital ecosystem ของไทยเอง ก็พัฒนาไปเรื่อยๆ มีการออกสินค้า /บริการ / Platform ใหม่ๆ ออกมา เมื่อ Demand เจอกับ Supply ที่สอดคล้องกันเช่นนี้ ก็ทำให้ Online มีผลมากต่อคนหนุ่มสาว Millennial และ Gen Z รวมถึงผู้บริโภคในเมืองใหญ่ แม้ว่ากลุ่มคนเช่น Gen X และ Baby boomer จะใช้ Online เพิ่มมากขึ้น แต่ยังใช้สื่อทีวีเป็นหลัก เราจึงไม่ควรทิ้งทีวี และสนใจ Online เพียงอย่างเดียว
เทรนด์ 2 Platform ที่ให้บริการ Podcast / Audio streaming น่าจะมีการเติบโตต่อไปหลังโควิด-19 โดยเฉพาะกับกลุ่มที่ต้องการพัฒนาตนเอง และเรียนรู้ เราพบว่าช่วงโควิด -19 มีการใช้บริการ Podcast / Audio streaming เพิ่มมากขึ้น เพราะคนไทยชอบฟังมากกว่าอ่าน เข้ากับ lifestyle ได้ดี
แถมเทคโนโลยีเสียงช่วยให้เกิด Emotional connection ซึ่งสำคัญมากขึ้นเวลาที่เราไม่สามารถใกล้ชิด หรือพูดคุยกันแบบตัวต่อตัว “เสียง” เป็นสื่อที่มีอิทธิพล เพราะมีความเป็นมนุษย์สูง เหมือนคนที่พูดอยู่ใกล้ชิดกับเรา สะท้อนถึงบุคคลิกภาพ และตัวตนของเขา ผ่านทางคำพูด น้ำเสียง รวมถึงการเล่าเรื่อง เทรนด์นี้น่าจะไปต่อ แต่จะปังแค่ไหน ขึ้นอยู่กับ content ว่าน่าสนใจและตรงความต้องการหรือไม่
เทรนด์ 3 คือ e-commerce จะเป็นส่วนหนึ่งของ Customer Journey แบบถาวร เส้นแบ่งระหว่าง Online / Offline shopping จะจางลงไป ผู้คนจะใช้ e-commerce ต่อไป เพราะความสะดวก ความยืดหยุ่นของเวลาจับจ่ายใช้สอย รวมถึงความหลากหลายของสินค้าและบริการ Social commerce ก็น่าจะเติบโตมากขึ้น เพราะเรายังคงใช้ Social Media สูงต่อไป
ในช่วงโควิด -19 มี Online Commercial Community เกิดขึ้น เช่น ธรรมศาสตร์ฝากร้าน ซึ่งมีจุดเด่น คือ ความไว้วางใจกัน และการมี Identity ร่วมกัน จากนี้ยังเป็น Market Place ที่สะท้อนให้เห็นการช่วยเหลือเกื้อกูลแบบไทยๆ
แต่รูปแบบนี้อาจจะเกิดและจบเร็ว หากไม่สามารถควบคุมคุณภาพสินค้าและบริหารจัดการ community ให้ตอบโจทย์เรื่องของ User Experience ได้ดี แต่หากยังคงมาตรฐานเอาไว้ได้ก็จะความนิยมต่อเนื่องและอาจมีรูปแบบหลากหลายขึ้น เช่น Market Place ในหมู่บ้านเดียวกันหรือชุมชนเดียวกัน
เทรนด์ 4 คือ Home Entertainment เมื่อหมดโควิด -19 เราคาดว่าคนไทยน่าจะยังให้ความสำคัญกับการมีความสุขที่บ้านและใช้เวลาอยู่บ้านมากขึ้นกว่าเมื่อก่อน นิยามของความสุขของคนไทยเปลี่ยนแปลงไป เราจะให้ความสำคัญกับสิ่งใกล้ๆ ตัว ความสุขเล็กๆ แต่ลึกซึ้ง เป็นการใช้เวลากับครอบครัวและเพื่อน
นอกจากนี้ความกังวลเรื่องโรคภัยไข้เจ็บ อาจจะมีผลให้คนไทยรู้สึกว่าการทำกิจกรรมที่บ้านปลอดภัยที่สุด ดังนั้นสินค้าและบริการที่ส่งเสริมกิจกรรมในบ้านจึงน่าจะเป็นเทรนด์ที่ใช้ต่อไป ไม่ว่าจะเป็น Online gaming, Streaming services, Virtual Parties หรือ Home delivery
เทรนด์ 5 Online VDO ที่มีความนิยมอย่างแพร่หลาย จากเดิมที่คนไทยชอบดู Short VDO ในช่วงแรกๆ ตอนนี้ความนิยมใน Long-form VDO มีมากขึ้น Online VDO ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ดี เพราะเนื้อหาเป็นแบบ On-demand เลือกได้ตามใจต้องการในเวลาไหนก็ได้ คนเรามี Personal Prime time ไม่ตรงกัน จึงต้องการ Personalized Content ในเวลาที่ต่างกัน ส่งผลให้ Online VDO ตอบโจทย์ได้ดี เราก็จะเห็น Content ของ TV เข้าไปอยู่ใน Online VDO มากขึ้นอีกด้วย
เทรนด์ของสื่อจะดังเร็ว อยู่นาน หรือ ดับไว ขึ้นอยู่กับ 2 ประเด็นใหญ่ๆ อย่างแรกคือ ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างลึกซึ้งจริงไหม และอย่างที่สอง คือ มีพัฒนาการในเรื่องของ Content และรูปแบบที่สดใหม่ Update อยู่เสมอหรือไม่ คนไทยเบื่อง่ายก็จริง แต่ถ้าอะไรที่ทำให้ชีวิตเขาดีขึ้น ง่ายขึ้น สนุกขึ้น ก็ยังเป็นเทรนด์ต่อเนื่องต่อไป