รพ.ปากช่องนานา 3 ทางเลือกส่งยาถึงบ้าน ลดความแออัด

รพ.ปากช่องนานา 3 ทางเลือกส่งยาถึงบ้าน ลดความแออัด

โรงพยาบาลปากช่องนานา ดำเนินการ 3 ช่องทางเลือก ให้แก่ผู้ป่วย ได้แก่ ส่งยาทางไปรษณีย์ ส่งยาทาง รพ.สต. และ ส่งยาผ่านร้านยาเครือข่ายในพื้นที่ สำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และจิตเวช ลดความแออัดของโรงพยาบาล ลดความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19

การรับยาที่ร้านยาใกล้บ้าน ส่งยาทางไปรษณีย์ และรับยาผ่าน รพ.สต. หรือให้อสม. ส่งตรงถึงบ้านผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ถือเป็นกลไกสำคัญ ในการลดความแออัด ลดการรอคอย และลดความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 เ่ช่นเดียวกับ รพ.ปากช่องนานา ซึ่งนำทั้ง 3 แนวทางมาใช้ พร้อมจัดโครงการเภสัชกรอาสาฯ ให้คำปรึกษาด้านยา วัดความดัน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และทำงานร่วมกับ รพ.จิตเวชโคราช และ รพ.สต. ในการหาแนวทางดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่อาการคงที่ ให้ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องแม้จะไม่ได้มา รพ.

โรงพยาบาลปากช่องนานา จ.นครราชสีมา ถือเป็นอีกหนึ่งโรงพยาบาลที่นำกลไกลดความแออัดของโรงพยาบาลมาดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่ 1 มกราคม 2563 มีผู้ป่วยเข้าร่วมทั้งหมด 1,757 ราย โดยมี 3 ช่องทางเลือก ให้แก่ผู้ป่วย ได้แก่ 1. ส่งยาทางไปรษณีย์ให้ผู้ป่วยที่บ้าน 1,315 ราย 2. ส่งยาทางโรงพยาบาลส่งเสริมตำบล (รพ.สต.) หรือคลินิกหมอครอบครัว เพื่อให้เจ้าหน้าที่ รพ.สต. หรือเข้าหน้าที่หมอครอบครัว หรือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำตำบล (อสม.) นำยาไปให้ผู้ป่วยที่บ้าน โดยเน้นการเชื่อมโยงระหว่าง โรงพยาบาล ร้านยาเครือข่าย รพ.สต. คลินิกหมอครอบครัว 350 ราย

159405771597

และ 3. ส่งยาผ่านร้านยาเครือข่ายในพื้นที่ มีการติดตามและประเมินอาการผู้ป่วย โดยกรณีที่พบว่าผู้ป่วยมีภาวะอาการผิดปกติ จะมีการนัดแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษาโดยเร็ว เป็นการดูแลที่ทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการอย่างต่อเนื่อง จำนวน 92 ราย 

ผู้ป่วยสามารถเลือกวิธีการรับยาผ่าน QR Code โดยลงทะเบียนล่วงหน้า 7 วันก่อนถึงวันนัดพบแพทย์ จากนั้น เจ้าหน้าที่จะส่งข้อมูลผู้ป่วยไปยังคลินิกเพื่อให้แพทย์ประเมินอาการ และโทรศัพท์แจ้งให้ผู้ป่วยทราบ โดยกรณีผลประเมินอาการผู้ป่วยยังจำเป็นต้องพบแพทย์ ผู้ป่วยก็ต้องมารับการติดตามที่โรงพยาบาลตามใบนัดเดิม ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วย เบาวาน ความดัน และจิตเวช

นายแพทย์ธงชัย เขมรัตน์ตระกูล” รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ รพ.ปากช่องนานา อธิบายว่า เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 ในผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรังที่มีอาการคงที่ ทมีสิทธิบัตรทอง รับยาใกล้บ้าน รูปแบบที่ 1 คือ โรงพยาบาลจัดชุดยาให้กับร้านขายยา มีร้านยาเครือข่ายทั้งสิ้น 9 ร้าน มีผู้ป่วยที่สนใจ 24 รายปัจจุบันเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 92 ราย

สำหรับ บริการส่งยาทางไปรษณีย์ ผู้ป่วยขอรับสิทธิได้ทุกสิทธิการรักษา โดยสิทธิสวัสดิการข้าราชการ และประกันสังคม จะมีค่าจัดส่งเพิ่มอัตรา 90-140 บาท ส่วนสิทธิบัตรทอง ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เนื่องจาก สปสช. เหมาจ่ายให้ 50 บาทต่อครั้ง ปัจจุบันมีผู้ใช้บริการช่องทางนี้ 1,315 ราย แบ่งเป็น สิทธิข้าราชการ 325 ราย (25%) สิทธิประกันสังคม 198 ราย (15%) และ สิทธิบัตรทอง 792 ราย (60%) ข้อมูล ณ วันที่ 4 มิถุนายน 2563 โดยมีการนัดหมายผู้ป่วยเข้ามาติดตามอาการเป็นระยะหลังจากรับยาทางไปรษณีย์ไปแล้ว 2-3 ครั้ง 

159405771650

วีระชัย วงศ์คำภา” เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการส่งยาทางไปรษณีย์ บริษัทไปรษณีย์ จำกัด (มหาชน) ให้ความมั่นใจว่าการบริการส่งยาจะเน้นการประสานงาน ร่วมกับ รพ.ปากช่องนานา โทรศัพท์ล่วงหน้าแจ้งผู้ป่วยให้ทราบว่ายาจะถูกส่งมาถึงในวันนี้ เพื่อให้การรับยาส่งถึงมือผู้ป่วยจริงๆ กล่องยาที่ส่งต้องอยู่สภาพดีที่ผ่านมาพบปัญหาเพียง 1% เนื่องจากผู้ป่วยเปลี่ยนที่อยู่ แล้วลืมแจ้งโรงพยาบาล

ทั้งนี้ รพ.จัดให้มี “โครงการเภสัชกรอาสาสู้ภัยโควิด-19” ผู้ป่วยที่รับยาทางไปรษณีย์ ซึ่งจะมีเภสัชกรร้านยาที่มีจิตอาสาดูแลผู้ป่วย ทั้งเรื่องสุขภาพและการใช้ยา วัดความดัน เจาะน้ำตาล โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ทำให้ผู้ป่วยได้รับการติดตามที่ดี ไม่ต้องเดินทางมาที่โรงพยาบาล และเป็นการแบ่งเบาภาระของโรงพยาบาลในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ขณะนี้มีร้านยาเข้าร่วมโครงการ 8 ร้าน (เป็นร้านยาเครือข่าย 5 ร้าน) โดยมีผู้ป่วยเข้ารับบริการจำนวน 5 ราย (3 ร้าน)

สำหรับบริการส่งยาทางโรงพยาบาลส่งเสริมตำบล (รพ.สต.) ให้แก่ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) ผู้ป่วยสามารถเลือกรับยาเองที่ รพ.สต. หรือ ให้อสม. ส่งยาถึงบ้านพัก โดย สปสช. สนับสนุนบริการดังกล่าวผ่านงบประมาณกองทุนตำบลที่จัดสรรให้แก่ท้องถิ่น โดยให้ค่าตอบแทน อสม.ครั้งละ 45 บาท และท้องถิ่นสมทบงบประมาณ รวมทั้งสิ้นปีละ 3-4 แสนบาท รวมถึงผู้ป่วยกลุ่มจิตเวช ซึ่งต้องอาศัยกลไก รพ.สต. ดูแล โดย รพ.ปากช่องนานา ร่วมกับ รพ.จิตเวชโคราช มีโปรแกรมการดูแลทดสอบผู้ป่วยจิตเวชให้พยาบาลที่รพ.สต. ประเมินเบื้องต้น หากพบว่าผู้ป่วยอาการไม่คงที่ ต้องนัดผู้ป่วยมาที่รพ.อีกครั้ง

159405771863

ตัวอย่างการส่งยาโดย รพ.สต. ต.หนองน้ำแดง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ทั้งหมด 11 หมู่บ้าน มี อสม. จำนวน 112 คน โดย อสม. 1 คน ดูแลอย่างน้อย 15 ครัวเรือน มีผู้ป่วยที่มีความประสงค์ให้ อสม. นำยามาส่งที่บ้านจำนวน 15 ราย “ธนพร สุทธิมานนท์” ประธาน อสม. ต.หนองน้ำแดง อธิบายว่าการนำยามาส่งถือเป็นการช่วยลดภาระให้กับผู้ป่วย เพราะช่วงโควิด-19 ผู้ป่วยกลุ่มนี้เสี่ยงที่จะต้องไปแออัดที่โรงพยาบาล และอธิบายการใช้ยา วัดความดัน หากมีความเสี่ยงมาก แนะนำให้ผู้ป่วยไปที่ตรวจเพิ่มเติมที่ รพ.สต. ต่อไป

ด้าน ปรัชญา วรปัญญา อายุ 60 ปี ผู้ป่วยความดันที่เลือกวิธีให้อสม.ส่งยาถึงบ้าน เพราะไม่ค่อยมีเวลาและต้องทำงานประจำ กล่าวว่า เนื่องจากสะดวก ที่ผ่านมา มี อสม. เข้ามาเยี่ยมบ้านอยู่เป็นประจำอยู่แล้ว และง่ายกว่า  การไปรับยาที่โรงพยาบาลใช้เวลานานครึ่งค่อนวัน บางวันไปแต่เช้า ได้กลับบ้านบ่าย 4 โมงเย็น เสี่ยงกับการติดเชื้อโควิด-19

ทั้งนี้ รพ.ปากช่องนานา ได้ประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์ พบว่า ผู้ป่วย 1 คนต้องมาโรงพยาบาล มีต้นทุนทั้งค่ารถ ค่าอาหาร และค่าเสียเวลาของญาติผู้ป่วย เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 1,068.75 บาท ต่อครั้ง ดังนั้น ตั้งแต่ดำเนินการมา สามารถลดค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยในการเดินทางมาโรงพยาบาลทั้ง 3 รูปแบบ คือ รับยาร้านยาใกล้บ้าน ส่งยาทางไปรษณีย์ และรับยาที่ รพ.สต. อยู่ที่ประมาณ 1,345,261.25 บาท

159405771572

“นายแพทย์ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา”เลขาธิการสำนักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวเสริมว่า ที่ผ่านมา โครงการรับยาร้านยาใกล้บ้าน มีโรงพยาบาลเข้าร่วม 130 แห่ง ร้านยา 1,035 แห่ง จำนวนการรับยาที่ร้านยา 19,581 ครั้ง (1 ต.ค.62 – 1 มิ.ย.63) สำหรับ โครงการจัดส่งยาเวชภัณฑ์ผู้ป่วยทางไปรษณีย์ มีโรงพยาบาลเข้าร่วม 181 แห่ง จำนวนการจัดส่ง 87,083 ครั้ง (8 เม.ย. – 15 มิ.ย. 63)