พม่าอนุญาตเพาะเลี้ยงเสือและลิ่นในฟาร์มได้
นักอนุรักษ์กังวลว่าจะไปกระตุ้นความต้องการบริโภคสัตว์ป่า และอาจเปิดช่องกระจายโรคจากสัตว์ป่าสู่คนเพิ่มได้เหมือนโควิด
กลุ่มนักอนุรักษ์ต่างประเทศออกมาเตือนว่า การแก้ระเบียบใหม่ของพม่าที่จะอนุญาตให้มีการเลี้ยงเสือ ตัวลิ่น และสัตว์ป่าอื่นๆเพื่อการค้าได้ อาจจะยิ่งทำให้มีความต้องการบริโภคสัตว์ป่ามากขึ้นในประเทศจีน
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นที่รู้จักกันดีอยู่แล้วว่าเป็นจุดลักลอบค้าสัตว์ป่าที่ใหญ่ของโลก โดยมีความต้องการหลักๆ มาจากจีนมีมูลค่าสูงนับ 20,000 ล้านเหรียญสหรัฐ
ในเดือนที่แล้ว กรมป่าไม้ของพม่าได้อนุมัติให้เจ้าของสวนสัตว์เอกชนเพาะพันธุ์สัตว์ป่าได้ถึงกว่า 90 ชนิดพันธุ์ และกว่า 20 ชนิดในจำนวนนั้นเป็นสัตว์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธู์
มันเป็นความคืบหน้าที่ไม่มีใครทันคาดคิด โดยกรมป่าไม้ได้อธิบายว่า มันเป็นแนวทางที่จะช่วยลดการล่าและเพาะพันธุ์สัตวปป่าผิดกฎหมายได้
ทั้งนี้ มีการคาดว่าเสือในพม่าเหลือเพียง 22 ตัวเท่านั้น ส่วนสัตว์อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นตัวลิ่น ช้าง โลมาอิรวะดี แลพจระเข้ต่างเป็นสัตว์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ในพม่า แต่จากนี้จะสามารถเพาะได้แล้ว
นักอนุรักษ์โต้ว่าการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าในระยะยาวจะทำให้การบริโภคสัตว์เหล่านี้เหมือนถูกกฎหมาย และยิ่งทำให้ความต้องการเพิ่มสูงขึ้น
"การค้าสัตว์ป่าได้แสดงให้เห็นมาแล้วว่ามันไปเพิ่มการค้าที่ผิดกฎหมายเพราะมันไปสร้างตลาดคู่ขนานขึ้นมาและทำให้ความต้องการบริโภคโดยรวมเพ่ิมสูงขึ้น” แถลงการณ์จาก WWF และองค์กรสัตว์ป่าและพันธุ์พืช (Fauna & Flora International (FFI)) ระบุ
ผู้เชี่ยวชาญยังกังวลว่า ความสามารถในการคบคุมการค้าของพม่าจะยิ่งทำให้เกิดการหลุดกระจายของโรคจากสัตว์มาสู่คน หรือแม้กระทั่ง “โรคโควิด-19 ลำดับถัดไป”
จอห์น ฏูดริช จากองค์กรอนุรักษ์เสือระดับโลก อย่าง แพนเธอร่า (Panthera) กล่าวเตือนว่า ฟาร์มเพาะเลี้ยงสามารถกลายเป็นแหล่งฟอกการค้าชิ้นส่วนสัตว์ป่าที่ผิดกฎหมายได้ และยิ่งทำให้ความพยายามในการแกปัญหาดังกล่าวยิ่งยากขึ้น
ในขณะที่กฎหมายการค้าสัตว์ป่าระดับโลกอย่าง CITES (the Convention on International Trade in Endangered Species) แม้จะอนุญาตให้มีการค้าสัตว์ป่าและพืชป่าได้ แต่มันมีกฎระเบียบควบคุมที่เข้มงวดมาก
ในขณะที่ความสามารถในการกำกับการค้าดังกล่าวของพม่ายังเป็นที่กังขา กลุ่มอนุรักษ์ระบุ โดยกังวลว่าพม่าจะซ้ำรอย ประเทศไทย ลาว หรือเสียดนามที่สูญเสียสัตวป่าไปเป็นจำนวนมากในอดีต
กรมป่าไม้ของพม่า กล่าวว่า การทำลิสต์อนุญาตดังกล่าวจัดทำขึ้นตามระเบียบกฎหมายอย่างเข้มงวด และ "หลังจากได้มีการปรึกษาหารือ กับกลุ่มอรุรักษ์ นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญในเรือ่งนี้แล้ว"
ภาพ/ WWF Thailand