'รุ้ง ปนัสยา' บุกสภาฯ ยื่น 10 ข้อเรียกร้อง ให้กมธ.ก้าวไกลพิจารณา

'รุ้ง ปนัสยา' บุกสภาฯ ยื่น 10 ข้อเรียกร้อง ให้กมธ.ก้าวไกลพิจารณา

"รุ้ง ปนัสยา" บุกสภาฯ ยื่น 10 ข้อให้กมธ.ก้าวไกลพิจารณา ย้ำหวังปฏิรูปสถาบันฯ

เมื่อวันที่ 26 ส.ค.63  น.ส.ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล หรือรุ้ง แกนนำกลุ่มธรรมศาสตร์และการชุมนุม เดินทางเข้ายื่นหนังสือข้อเรียกร้อง 10 ข้อต่อนายปดิพัทธ์  สันติภาดา ส.ส.พิษณุโลก เขต1 พรรคก้าวไกล ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน เเละการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงการรับฟังข้อเสนอของนักศึกษาที่เรียกร้องต่อรัฐบาลในสถานการณ์ปัจจุบันว่า ในส่วนนี้คณะกรรมาธิการเราอยากรับฟังความคิดของนักศึกษา ทางกรรมาธิการได้เชิญตัวแทนนักศึกษาไป 4 กลุ่ม คือกลุ่ม "ประชาชนปลดแอก" กลุ่มธรรมศาสตร์เเละการชุมนุม  กลุ่มภาคีเครือข่ายนักเรียนแห่งประเทศไทย เเละกลุ่มอาชีวะรักษ์สถาบัน โดยในวันนี้มีเพียง 2 กลุ่มที่ตอบรับร่วมหารือเเละเสนอข้อคิดเห็นต่อคณะกรรมาธิการ คือ กลุ่มธรรมศาสตร์และการชุมนุม และกลุ่ม uncommon  international group โดยประเด็นเเละข้อเสนอของกลุ่มนักศึกษานั้น เป็นสิทธิที่ระบุไว้ตามรัฐธรรมนูญ เราควรเปิดโอกาสให้พวกเขาเเละจัดหาพื้นที่ปลอดภัย ในการเเสดงความเห็นเกี่ยวกับข้อเรียกร้องในส่วนของกลุ่มธรรมศาสตร์เเละการชุมนุม ซึ่งเรายังคงไม่นำข้อเสนอดังกล่าวเข้าในที่ประชุมในวันนี้ เเต่ในวันนี้เราจะนำเสนอในขั้นตอนของการตั้งสสร. เพื่อร่วมหาฉันทามติในสังคม

ขณะที่ น.ส.ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล (รุ้ง) เเนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม กล่าวว่าในวันนี้ตนได้ยื่นหนังสือข้อเรียกร้อง 10 ข้อ ต่อคณะกรรมาธิการการเมือง ผ่าน นายปดิพัทธ์ สันติภาดา ประธานกรรมาธิการ เพื่อขอให้ช่วยผลักดันตามข้อเรียกร้องไปสู่การตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ สสร. และเพื่อให้เรื่องนี้เป็นสาธารณะในการพูดคุยทั้งในรัฐบาลและทุกภาคส่วน ซึ่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นับเป็นสถาบันแรกที่พูดถึงสถาบันกษัตริย์ ซึ่งเราต้องการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ พร้อมกับเรียกร้องให้รัฐบาลได้ทำตาม10ข้อเรียกร้องนี้

ขณะที่ นายปดิพัทธ์ กล่าวว่า เราต้องรับฟังข้อเสนออย่างไร้อคติ ซึ่งคณะกรรมาธิการต้องทำให้สิ่งที่พวกเขาเรียกร้องสามารถพูดคุยได้ในพื้นที่สาธารณะ ตามหลักการประชาธิปไตย เพื่อหาฉันทามติร่วมกัน เเละอยู่ร่วมกันในสังคมได้ แม้วันนี้ตัวแทนนักเรียน นัศึกษาจะไม่มีสิทธิ์เป็น สสร. แต่พวกเขามีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นต่อสังคมที่อยู่ต่อไปในอนาคตทั้งนี้ในสัปดาห์หน้า ทางคณะกรรมาธิการจะเชิญกลุ่ม คณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน (ครช. ) พร้อมเชิญตัวเเทนสื่อมวลชนเพื่อร่วมแก้ไขปัญหาสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อหาแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญ เเละหาฉันทามติในระบอบประชาธิปไตยต่อไป