สศช.ชงครม.แผนยุทธศาสตร์ชาติเฉพาะกิจ เตรียมใช้ 2 ปีรับมือโควิด
สศช.ชงแผนแม่บทยุทธศาสตร์ชาติเฉพาะกิจเข้า ครม.ประกาศใช้ 2 ปี 64 - 65 รับมือโควิด-19 เน้นรับมือ ปรับตัว สร้างโอกาส ดันแผน 4 ด้าน ก่อนปรับใหญ่ยุทธศาสตร์ชาติปี 65 เอกชนชี้จำเป็นต้องเร่งแผนดูแลคนมีรายได้น้อยระดับฐานรากหวั่นจำนวนคนจนเพิ่ม
นายดนุชา พิชยนันท์ รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติเปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ว่า จากสถานการณ์โควิด-19ที่เกิดขึ้นในปีนี้และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเป็นอย่างมากที่ประชุมจึงเห็นชอบให้มีการดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมแผนแม่บทยุทธศาสตร์ชาติให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงหรือความจำเป็นของประเทศโดยเป็นการจัดทำแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติในรูปแบบเฉพาะกิจเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์โควิด-19 เพื่อให้ใช้ในปี 2564-2565
ทั้งนี้ สศช.จะนำเรื่องนี้เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในสัปดาห์หน้า เพื่อให้พิจารณาจากนั้นจะนำไปรับฟังความคิดเห็นก่อนประกาศใช้ โดยขั้นตอนในขณะนี้ ทำงานคู่ขนานไประหว่างการจัดทำแผนเฉพาะกิจสำหรับ 2 ปี และส่วนที่มีการทำแผนออกมาแล้วก็มีการเวิร์คช็อปร่วมกับหน่วยงานให้ทำโครงการรอไว้สำหรับที่จะขอใช้งบประมาณในปี 2565 ส่วนงบประมาณในปี 2564 ก็จะมีบางส่วนที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณแล้วก็เดินหน้าไปได้เลย
“ในช่วงที่เกิดปัญหาเรื่องโควิด-19จึงมีการกำหนดให้มีแผนเฉพาะกิจที่จะใช้ในช่วง 2 ปี เอาเรื่องสำคัญขึ้นมาทำก่อนได้แก่ เรื่องการท่องเที่ยวคุณภาพ เรื่องการพัฒนาคน และเรื่องการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เป็นต้นเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจและบริบทที่เปลี่ยนไปในอนาคต”
โดยแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์เฉพาะกิจได้กำหนดเป้าหมายว่า"คนมีงานทำ สามารถยังชีพอยู่ได้ กลุ่มเปราะบางได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง สร้างอาชีพและกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น เศษฐกิประเทศฟื้นตัวเข้าสู่ภาวะปกติ และมีการวางรากฐานเพื่อรองรับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่(Economic Transformation)
ทั้งนี้ร่างแผนแม่บทเฉพาะกิจฯ จะประกอบด้วย 3 มิติของการพัฒนา ได้แก่ การพร้อมรับมือ (Cope) การปรับตัว (Adapt) และ การเปลี่ยนแปลงเพื่อพร้อมเติบโตอย่างยั่งยืน (Transfom) รวมทั้ง แบ่งป็น 4 ประเด็นหลักการพัฒนา ได้แก่ 1.การเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากภายในประเทศ (Local Economy) 2.การยกระดับขีดความสมารถของประเทศเพื่อรองรับการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว (Futue Growth) 3.การพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของคน (Human Capital) ให้เป็นกำลังหลักในการขับคลื่อนการพัฒนาประเทศ และ 4.การปรับปรุงและพัฒนาปัจจัยพื้นฐานเพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูและพัฒนาประเทศ (Enabling Factors)
นายดนุชา กล่าวว่า การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติเฉพาะกิจเพื่อนำมาใช้ในช่วง2ปีนี้เป็นการใช้เป็นการชั่วคราวก่อนที่จะมีการปรับปรุงยุทธศาสตร์ชาติตามกำหนดในปี 2565 โดยในปี 2565 จะมีการปรับแผนแม่บทยุทธศาตร์ชาติทั้งหมดตามรอบระยะเวลารวมทั้งต้องทบทวนด้วยว่าแผนแม่บทจากปัจจุบันที่มีอยู่ 23 แผนด้วย
สำหรับโครงการสำคัญประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 คณะกรรมการฯ ได้เห็นชอบโครงการเพื่อบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ซึ่งเป็นผลการดำเนินงานร่วมกันของสำนักงนฯ หน่วยงานเจ้าภาพตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามนัยของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2563 ในการมองเป้าหมายร่วมกันในการดำเนินงนามยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ การจัดทำโครงการสำคัญตามการวิเคราะห์ห่วงโซ่ความสัมพันธ์และช่องว่างการพัฒนาต่อการบรรลุเป้าหมาย และการจัดลำดับความเร่งด่วนของโครงการสำคัญ ซึ่งมีโครการที่สามารถส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายแผนแม่บทย่อยได้อย่างเป็นรูปธรรม
นอกจากนี้ยังมีการแต่งตั้ง คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตรชาติ เพิ่มเติมในทั้ง 6 ด้านเพื่อปฏิบัติหน้ที่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตชาติ พ.ศ. 2560 หรือตามที่คณะกรรมการฯ ได้มอบหมาย โดยมีสรุปรายชื่อประธานด้านต่างๆได้แก่ 1. ด้านความมั่นคง มีพลเอก สมศักดิ์ รุ่งสิตา เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เป็นประธาน 2.ด้านการสร้างความสามารถในกรแข่งขัน นางอรรชก สีบุญเรือง อดีต รมว.อุตสาหกรรม เป็นประธาน 3.ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ มีนายกฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายกองทุนสนับสนุนการวิจัย เป็นประธาน
4.ด้านการสร้างโอกาสและความสมอภาคทางสังคม มีนายเอ็นนู ซื่อสุวรรณ กรรมการสภาสถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน เป็นประธาน 5.ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีนายธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล นักวิชาการและผู้ทรงคุณวุฒิด้านธรณีวิทยา เป็นประธาน และ 6.ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐมี นายพงศ์โพยม วาศภูติ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธาน
นายศักดิ์ชัย พีชะพัฒน์ กรรมการสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่าที่ประชุมมีการหารือกันเรื่องการดูแลกลุ่มคนเปราะบางคือระดับความยากจนของประชาชน โดยเฉพาะในส่วนของคนที่อยู่ในระดับฐานรากของเศรษฐกิจจะได้รับผลกระทบมาก การปรับยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศทั้ง 13 คณะจะต้องมีการปรับเปลี่ยนเพื่อรองรับผลกระทบในส่วนนี้ด้วย