สธ. เตรียมสรรพกำลัง รับมือโควิด-19
แม้การระบาดของโควิด-19 เมื่อต้นปี 2563 จะส่งผลให้ในช่วงแรกทรัพยากรด้านสาธารณสุขไม่เพียงพอ แต่ด้วยการร่วมมือกันในหลายภาคส่วนโดยเฉพาะ กระทรวงสาธารณสุข ผสานการทำงานกับ อสม. ทำให้ ประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤติมาได้ กระทั่ง ประเทศไทยจากการติดเชื้ออันดับ 2 ของโลก
อีกทั้ัง ปัจจุบัน ได้มีการเตรียมความพร้อมทั้งทรัพยากรด้านสาธารณสุข ไม่ว่าจะเป็นหน้ากากอนามัย หน้ากาก N95 ชุด PPE บุคลากร สถานที่ ยา สถานที่กักกันของรัฐ และมาตรการต่างๆ เพื่อรองรับหากเกิดการระบาดซ้ำ โดยขณะนี้สามารถรองรับผู้ป่วยได้ราว 1 - 2 หมื่นคน พร้อมกันนี้ ยังมีการเฝ้าระวังตามด่านชายแดนเพื่อป้องกันแรงงานต่างด้าวนำเชื้อเข้าประเทศ โดยผสานความร่วมมือกับ อสต. ในการมีส่วนร่วมดูแลในพื้นที่ รวมถึงเตรียมพร้อมเดินหน้าด้านเศรษฐกิจหากมีการเปิดประเทศในอนาคต
วานนี้ (14 กันยายน) ที่ กระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา แถลงข่าวประเด็นการบริหารจัดการสถานการณ์ COVID-19 ระบุว่า แม้ในช่วงแรกประเทศไทย จะพบปัญหาการผลิตหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ไม่เพียงพอในประเทศ ขณะเดียวกัน ชุดป้องกันต่างๆ ก็ไม่สามารถผลิตในประเทศได้ ขณะที่หน้ากาก N95 ทั้งหมดต้องสั่งนำเข้า ในเดือนมกราคมมีการขาดแคลนหลายประเทศ โดยเฉพาะจีน ที่ไม่สามารถกระจายสินค้าได้ แต่หลังจากที่มีการนำเข้า เปิดช่องทางพิเศษ ลดภาษี และสามารถผลิตหน้ากากอนามัยเพิ่มขึ้น จากเดิม 9 โรงงาน ปัจจุบัน 45 โรงงาน ชุด PPE มีโรงงานผลิตได้เกือบ 40 โรงงาน ถือว่าเพียงพอต่อความต้องการ
ข้อมูลทรัพยากร COVID-19 และศักยภาพการผลิต ณ วันที่ 10 กันยายน 2563 ได้แก่ หน้ากาก N95 ภาพรวม 2,430,189 ชิ้น อยู่ที่ส่วนกลาง 1,916,050 ชิ้น ชุด PEE (Coverall & Gown) ภาพรวม 1,471,131 ชุด ส่วนกลาง 607,494 ชุด หน้ากากอนามัย Surgical Mask ภาพรวม 43,414,478 ชิ้น ส่วนกลาง 300,000 ชิ้น จำนวน 45 โรงงาน กำลังการผลิต 3,418,400 ชิ้นต่อวัน ยาฟาวิพิราเวีย มีอยู่ส่วนกลาง 590,680 เม็ด และ ยาเรมเดซิเวีย อนุญาตแล้ว 2 ทะเบียน (50mg. 65 Vial / 100 mg.330 Vial) สำหรับ 33 เคส
ขณะเดียวกัน ทรัพยากร COVID-19 จังหวัดที่มีพรมแดนติดประเทศเมียนมา ได้แก่ ตาก แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และระนอง ข้อมูล ณ วันที่ 10 กันยายน มีหน้ากาก N95 ภาพรวม 29,872 ชิ้น หน้ากากอนามัย Surgical Mask ภาพรวม 3,831,938 ชิ้น ชุด PPE ภาพรวม 28,704 ชุด และ Surgical Gown (เสื้อกราวน์ผ่าตัด) จำนวน 15,645 ชุด
นายแพทย์วิทูรย์ อนันกุล ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขฉุกเฉิน กล่าวว่า สถานการณ์ที่ผ่านมา สธ. ทำหน้าที่ควบคุมโรคได้ดีในระดับที่น่าพอใจ เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลงประเทศจำเป็นต้องเดินหน้าต่อ สธ. พร้อมจะสนับสุนนในด้านการเดินหน้าเศรษฐกิจ คำถาม คือ การเปิดประเทศ ผลักดันให้เศรษฐกิจเดินหน้า ต้องทำหลายประเด็น โดยเฉพาะคนนำเข้าต่างประเทศ จากการท่องเที่ยว อยากให้ประชาชน มีความมั่นใจว่าถึงจุดหนึ่ง สธ ได้เตรียมการ ในขณะนี้ มีการบริหารจัดการโรคและผู้ป่วยแบบเรียลไทม์ วันต่อวัน พร้อมติดตามเรื่องของสต็อกทรัพยากรใน รพ. ต่างๆ ขอให้มั่นใจ
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการเดินหน้าของประเทศ ประเด็นหนึ่งที่ปรชาชนต้องยอมรับร่วมกัน คือ เราอาจจะจำเป็นมีผู้ป่วยส่วนหนี่งเกิดขึ้นในประเทศไทย แต่ต้องอยู่บนฐานที่สามารถควบคุมได้ ในหลักการตอนนี้เรามีศักยภาพที่ดูแล 1 – 2 หมื่นคน ภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่ ทั้งห้อง เตียง ทรัพยากร และบุคลากร
นอกจากนี้ สธ. ได้เดินหน้าพัฒนาสถานกักกันของรัฐแต่ละรูปแบบเพื่อตอบโจทย์ของประเทศ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ได้ร่วมมือกันในการกำหนดมาตรฐาน และควบคุมเพื่อให้มั่นใจว่ากลุ่มประชากรไทยจะไม่ติดโรค แต่ส่วนหนึ่งเราก็ไม่ชะล่าใจ ยังมีการติดตาม ค้นหา ในประเทศ เพราะเชื้อว่ามีกลุ่มที่มีเชื้อแต่ไม่แสดงอาการ ตอนนี้อาจจะอยู่ในวงจำกัดและไม่แพร่เชื้อ แต่เรายังค้นหาตลอดเวลา เพื่อให้ประชาชนมั่นใจว่าจะสามารถเดินหน้าได้
ด้าน นายแพทย์ธเนศ ดุสิตสุนทรกุล รักษาการผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน กล่าวเพิ่มเติมว่า สถานการณ์ที่ผ่านมาเป็น สธ. มีการดำเนินงานเป็นขั้นตอน มีการควบคุมเป็นอย่างดี จะเห็นว่าผู้ติดเชื้อในประเทศ มีจำนวนน้อยตามลำดับ ความสำเร็จเหล่านี้ มาจากการตรวจ จัดสรรทรัพยากร งบประมาณอย่างเพียงพอ และการส่งรถโมบายพระราชทาน ให้ถึงพื้นที่ รวมถึงติดตามสถานการณ์ในประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งนี้ ในส่วนกลาง มีการเบิกจ่ายค่าเสี่ยงภัยต่างๆ ในสถานการณ์เหล่านี้อีกด้วย
นอกจากนี้ ประเทศไทยยังคงเข้มมาตรการผุ้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ โดยทุกคนต้องเข้าสถานที่กักกันที่รัฐจัดให้จนครบ 14 วัน และทำการตรวจหาเชื้อโควิด-19 หากพบเชื้อจะได้รับการส่งต่อเข้าสู่ระบบการรักษาเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อเข้าสู่ประเทศ ขณะเดียวกัน ในพื้นที่ที่ประชาชนรู้สึกกังวล ในเรื่องการระบาดของประเทศเพื่นอบ้านในพื้นที่ตะเข็บชายแดน ขณะนี้ ด้านความมั่นคง หน่วยงานด้านการปกครอง และหน่วยงานด้านสาธารณสุข ได้บูรณาการทำงานร่วมกันอย่างเข้มงวดในผู้ที่เดินทางเข้ามา
โดยเฉพาะแรงงานต่างด้าวที่เดินทางเข้ามาอย่างผิดกฏหมาย ได้มอบหมายให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และ อาสาสมัครสาธารณสุขประชากรต่างด้าว อสต. มีส่วนร่วมในการดูแล โดยเฉพาะแรงงานที่เข้ามาอย่างผิดกฏหมายที่มีโอกาสนำเชื้อเข้ามาในประเทศไทย โดยส่งรถเก็บตัวอย่างนิรภัยพระราชทาน ลงพื้นที่ชายแดน อ.แม่สอด จ.ตาก ในวันที่ 8 กันยายน 2563 รวม 2,636 คน ได้แก่ โรงเรียนอิสลามศึกษา คนไทย 660 คน ต่างด้าว 381 คน โรงเรียนวังตะเคียน คนไทย 284 คน ต่างด้าว 429 คน อบต.แม่กะษา คนไทย 511 คน ต่างด้าว 47 คน เรือนจำ อ.แม่สอด จ.ตาก คนไทย 186 คน และ ต่างด้าว 138 คน ผลการคัดกรองทั้งหมด ไม่พบเชื้อ